ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร" ห่วงผู้สูงวัยไร้แผนบั้นปลาย ชี้สังคมไทยต้องเรียนรู้ "การตายอย่างมีระบบ"

พุธ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๕:๐๗
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD เปิดเผยมุมมองล่าสุดเกี่ยวกับการเรียนรู้สำหรับ 'ผู้ใหญ่ใกล้เกษียณ' โดยระบุว่า ขณะนี้ประเด็นที่ตนให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือการให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงวัยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายในช่วงบั้นปลายชีวิตอย่างจริงจัง ด้วยเหตุว่า สิ่งเดียวที่เหลืออยู่ในบั้นปลายชีวิตของคนแก่ อาจเป็นเพียงบ้านหลังหนึ่ง การมีชีวิตอย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น แต่ถ้าไม่มีแผนจัดการ ก็อาจกลายเป็นภาระทั้งต่อตัวเองและลูกหลาน
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ห่วงผู้สูงวัยไร้แผนบั้นปลาย ชี้สังคมไทยต้องเรียนรู้ การตายอย่างมีระบบ

ดร.ทวารัฐ ยกตัวอย่างจากประเทศตะวันตก ที่มีการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Reverse Mortgage หรือ 'สินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบย้อนกลับ' ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยจำนองบ้านกับธนาคาร แลกกับรายได้ประจำ โดยยังคงสิทธิในการอยู่อาศัยได้จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือรอเงินเดือนจากคนในครอบครัว

ดร.ทวารัฐ ยังกล่าวถึงอีกหนึ่งแนวคิดสำคัญคือ 'การเรียนรู้เรื่องมรดก' โดยเน้นว่าการแบ่งสมบัติ ควรเริ่มแบ่งตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ และควรแบ่งอย่างมีสติ ไม่ใช่มอบให้ลูกหลานทั้งหมด แต่เผื่อไว้เพื่อการดูแลตนเองในยามชรา พร้อมย้ำว่า 'การให้โดยไม่มีแผน' อาจกลายเป็นการเพิ่มภาระให้ลูกหลานแทนที่จะเป็นการส่งเสริม นอกจากนี้ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะ สังคมผู้สูงอายุเดี่ยว อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ค่านิยมแบบครอบครัวแน่นแฟ้นอาจเปลี่ยนไป คนรุ่นหลังอาจไม่มีศักยภาพเพียงพอในการดูแลผู้สูงวัย หากไม่มีระบบสนับสนุนหรือความเข้าใจที่ดี

"ความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องงดงาม แต่ในโลกยุคใหม่ หากพ่อแม่ไม่เตรียมตัวไว้ก่อน ลูกหลานก็อาจไม่มีแรงพอจะดูแลได้เต็มที่ ทั้งด้านสุขภาพ โภชนาการ จิตใจ ความปลอดภัย การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การเงิน และอื่นๆ จนสุดท้ายผู้สูงวัยเองก็อาจไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างที่ควร" ดร.ทวารัฐย้ำ

นอกจากนี้ ดร.ทวารัฐ ยังเชื่อว่า สังคมไทยต้องเริ่มส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการวางแผนในช่วงปลายของชีวิตอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำได้หลายอย่าง โดยเริ่มจาก 'การวางแผนทางการเงิน' จัดการทรัพย์สินและเงินออมเพื่อให้สามารถดูแลตัวเองในช่วงปลายของชีวิต เช่น วางแผนการเกษียณ จัดการหนี้สิน ประกันสุขภาพ หรือวางแผนการสืบทอดทรัพย์สินให้แก่ทายาท หรือ 'การเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพ' เช่น ประกันสุขภาพ ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เหมาะสม รวมถึง 'การเตรียมพร้อมทางอารมณ์และจิตใจ' เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การสูญเสีย การเกษียณ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม และที่สำคัญคือ "การพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในวัยหลังเกษียณ" เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในช่วงวัยนี้ อย่าง เช่น พัฒนางานอดิเรก มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เพื่อเสริมสร้างความสุข และสุดท้ายคือ 'การวางแผนการสิ้นสุดชีวิต' เช่น จัดทำพินัยกรรม หรือ วางแผนจัดการสิ่งต่างๆ หลังจากที่ผู้สูงวัยเสียชีวิต เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถ "อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี" และ "จากไปอย่างเป็นธรรมชาติ" โดยไม่ทิ้งภาระหรือความเครียดให้กับคนรุ่นหลัง

ที่มา: ตามรอยพ่อ 2559

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ห่วงผู้สูงวัยไร้แผนบั้นปลาย ชี้สังคมไทยต้องเรียนรู้ การตายอย่างมีระบบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๔๙ ไอแบงก์ ลงนาม MOU สินเชื่อสวัสดิการแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สำนักงานศาลยุติธรรม กว่า 16,000 คน ทั่วประเทศ
๑๐:๕๔ รวม 4 วิธีที่ช่วยปรับให้รถที่ขับอยู่นุ่มนวลขึ้นเหมือนได้คันใหม่
๑๐:๔๘ ซีพีแรม เปิดตัว FTEC (Food Technology Exchange Center) ศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอาหาร
๑๐:๑๔ iQIYI (อ้ายฉีอี้) เดินหน้ารุกตลาดยกระดับวงการ จัดงาน iQIYI 2025 World Conference เปิดตัวพรีเมียมไลน์อัพกว่า 400
๑๐:๑๓ บล.เกียรตินาคินภัทร แนะ 5 หุ้นนอกคุณภาพ นำโดย Netflix และ Mastercard คว้าโอกาสท่ามกลางตลาดผันผวน
๑๐:๓๖ อบอุ่นมาก! จิม ทอมป์สัน x ซี-นุนิว เสิร์ฟความฟินขั้นสุดกับ Exclusive Lucky Fan Dinner ค่ำคืนสุดพิเศษที่เหล่า ซนซน
๑๐:๕๓ เวียตเจ็ทเสริมฝูงบิน เดินหน้ารุกตลาดญี่ปุ่น ขยายเส้นทางระหว่างประเทศ หนุนแผนเติบโตปี 2568
๑๐:๕๖ เบทาโกร ได้รับการยกระดับ CAC ในระดับสูงสุด ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ และโปร่งใส
๐๙:๓๖ เฮ้าส์ สามย่าน จัดสองเทศกาลภาพยนตร์คุณภาพ กับ MOVIEMOV Italian Film Festival 2025 และ European Union Film Festival
๐๙:๑๑ จากไอดอลสู่หมอผี! ซอฮยอนฟาดหนัก เสิร์ฟความเดือด Holy Night: Demon Hunters คนต่อยผี 8 พ.ค.นี้