สมาคมสปาไทย เผยเทรนด์ท่องเที่ยวสุขภาพโตกว่า 120% ขึ้นอันดับ 1 สินค้าและบริการส่งเสริมสุขภาพไทย

พุธ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๑:๒๕
สมาคมสปาไทย เผยเทรนด์ท่องเที่ยวสุขภาพโตกว่า 120% ขึ้นอันดับ 1 สินค้าและบริการส่งเสริมสุขภาพไทย ล่าสุดร่วมจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2025 ครั้งแรก พร้อมเปิดเวที ASEAN Wellness Tourism Congress 2025 และงานประกาศรางวัล Thailand Spa & Well-being Awards 2025 ครั้งที่ 8
สมาคมสปาไทย เผยเทรนด์ท่องเที่ยวสุขภาพโตกว่า 120% ขึ้นอันดับ 1 สินค้าและบริการส่งเสริมสุขภาพไทย

เทรนด์ท่องเที่ยวสุขภาพโตกว่า 120% มูลค่ารวมกว่า 431 พันล้านบาท ด้านสมาคมสปาไทย มองตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีโอกาสเติบโตและขยายตัวอีกมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่ใช้จ่ายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 23% แนะนำผู้ประกอบการเตรียมความพร้อม เน้นความคิดสร้างสรรค์ ชูกลยุทธ์ดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ล่าสุดร่วมมือจัดงาน Food & Hospitality Thailand (FHT) 2025 ครั้งแรก หวังร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ พร้อมเปิด 2 กิจกรรมสำคัญ ASEAN Wellness Tourism Congress 2025 และการมอบรางวัล Thailand Spa & Well-being Awards 2025

นายสุนัย วชิรวราการ นายกสมาคมสปาไทย กล่าวถึง การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกว่า เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถือเป็นผลบวกต่อธุรกิจสปา รวมถึงธุรกิจบริการด้านสุขภาพและธุรกิจบริการด้านการแพทย์ของไทยอย่างมาก เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีคำจำกัดความที่กว้างและเกี่ยวข้องกับการดูสุขภาพในทุกมิติ ตั้งแต่การป้องกัน ส่งเสริม ดูแล รักษา รวมถึงสร้างความผ่อนคลายให้กับนักท่องเที่ยวและผู้มาใช้บริการ ข้อมูลล่าสุดจากสถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute หรือ GWI) ฉบับรายงานเฉพาะประเทศไทย เผยว่า มูลค่ารวมสินค้าและบริการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพมีมูลค่าอยู่ที่ 40.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 1.42 ล้านล้านบาท อยู่ในอันดับ 24 ของโลก จาก 218 ประเทศ เป็นอันดับที่ 9 ของเอเชียแปซิฟิก โดยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมาเป็นอันดับหนึ่งมูลค่ารวม 12.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 431.41 พันล้านบาท เป็นอันดับที่ 15 ของโลก ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติมีการใช้จ่ายในกิจกรรมและบริการด้านสุขภาพ เฉลี่ยในไทยประมาณ 1,735 ดอลลาร์ หรือ ประมาณ 60,650.60 บาทต่อทริป ส่วนของธุรกิจสปามีการเติบโตอยู่ที่ 9.4% มูลค่ารวม 1.598 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 55.93 พันล้านบาท โดยสปาทางการแพทย์ (Medical Spa) เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 22%

หากมองจากข้อมูลดังกล่าว ผนวกกับศักยภาพและความสามารถของผู้ประกอบการไทย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถือว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ดังนั้นผู้ประกอบการต้องยกระดับการให้บริการ พัฒนาการบริการใหม่ๆ ให้ครอบคลุมและหลากหลายขึ้น ซึ่งบริการด้านสุขภาพที่มีแนวโน้มดี อาทิ สปาทางการแพทย์ (Medical Spa) ที่ให้บริการบำบัดและดูแลสุขภาพแบบผสมผสานด้านการแพทย์ โดยบุคลากรทางการแพทย์ การบริการด้านสุขภาวะทางจิต (Mental Wellness) การช่วยบำบัดด้านการนอนหลับ การดูแลสุขภาพด้วยอาหาร อสังหาริมทรัพย์เพื่อสุขภาพ บริการด้านการแช่น้ำพุร้อน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เกิดความสนใจ มีการใช้จ่าย และอยู่ในประเทศไทยนานขึ้น ส่งผลดีต่อภาพรวมธุรกิจและยั่งยืนมากกว่าการแข่งขันด้านราคา

สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุด คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวอายุ 25-34 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้นอกจากจะสนใจในเรื่องสุขภาพแล้ว ยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้วย ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความใส่ใจนี้ โดยปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งจะเป็นแต้มต่อให้กับธุรกิจในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ส่วนการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจสุขภาพนั้น ล่าสุดทางสมาคมฯ ได้มีการจับมือเป็นพันธมิตรกับ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในการร่วมและสนับสนุนการจัดงาน Food & Hospitality Thailand (FHT) 2025 ซึ่งทางผู้จัดงานฯ มีการเปิดกว้างอย่างมากในการนำเสนอการจัดแสดง และกิจกรรมของสมาคมฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการและผู้เข้าเยี่ยมชมงาน ดังนั้นสมาคมฯ จึงได้จัดเตรียมพื้นที่จัดแสดง ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานของสมาคมฯ การจัดแสดงของผู้ประกอบการชั้นนำ และมีความน่าสนใจในธุรกิจบริการด้านสุขภาพและสปา

นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมใหญ่ที่พลาดไม่ได้ สำหรับผู้ประกอบการและผู้สนใจในธุรกิจบริการด้านสุขภาพ คือ ASEAN Wellness Tourism Congress 2025 เวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ และประสบการณ์ เพื่อรับทราบแนวโน้มทิศทางธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลายชาติอาเซียน ที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจสุขภาพและสปา การนำเทคโนโลยีมาเสริมการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน การพัฒนาธุรกิจบริการด้านสุขภาพสู่ความยั่งยืนและหัวข้อที่น่าสนใจอีกมากมาย พร้อมการมอบรางวัลใหญ่แห่งปี Thailand Spa & Well-being Awards 2025 ครั้งที่ 8 ที่มีมากถึง 16 สาขา จากคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมตัวจริง รวมทั้งตัวแทนสื่อมวลชนในอุตสาหกรรมเวลเนสจากนานาชาติ โดยการมอบรางวัลนอกจากจะเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นและประสบความสำเร็จแล้ว ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพและยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการไทย ในการเป็นผู้นำในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลกอย่างแท้จริง

สำหรับงาน Food & Hospitality Thailand (FHT) 2025 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 สิงหาคม 2025
ชั้น G ฮอลล์ 1-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจข้อมูลการจัดงานฯ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.fhtevent.com Facebook : Food & Hospitality Thailand

ที่มา: เดอะ เรด คอมมูนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน