กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

พุธ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๗:๑๐
นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลิชมาเนียว่า สนพ. และสำนักอนามัย (สนอ.) ได้ประสานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกรมปศุสัตว์ติดตามสถานการณ์และข้อมูลการเฝ้าระวังโรคลิชมาเนียทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งร่วมกับสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังโรคลิชมาเนียในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน ยังได้เตรียมมาตรการเฝ้าระวังและจัดทำแนวทางการดำเนินงานป้องกันโรคลิชมาเนียอย่างใกล้ชิด โดยสั่งการให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัดเฝ้าระวังและป้องกันสังเกตอาการของผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการ ดำเนินการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้องตามแนวทาง การรักษาของโรค โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลุ่มผู้ที่ทำงานในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นแหล่งระบาดของโรค หรือกลุ่มคนไทยที่มีประวัติไปทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลางและคนไทยมุสลิมที่ไปร่วมพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ทั้งนี้ ในปี 68 พบรายงานผู้ป่วย 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยโรคลิชมาเนียเกิดจากตัวริ้นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ริ้นฝอยทราย ด้วยการกัดและนำเชื้อโปรโตซัวลิชมาเนียเข้าสู่ร่างกายทำให้ผิวหนังติดเชื้อ เป็นแผลเปื่อยและเกิดโรคแทรกซ้อนในอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ม้าม และกระดูกไขสันหลัง อาการโรคเบื้องต้นคือ มีผื่นนูนเล็ก ๆ ที่ผิวหนัง และกลายเป็นแผล หายช้า มีไข้เรื้อรัง ซีด ท้องอืด ตับและม้ามโต และน้ำหนักลด การรักษาโรคลิชมาเนียในปัจจุบันจะใช้ยาฉีด 2 ชนิดคือ ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเวลา 14 วัน และชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน การรักษาได้ผลดีและหายขาด

นอกจากนี้ สนพ. ได้รณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคโรคลิชมาเนีย โดยโรคนี้สามารถป้องกันแบบเดียวกับโรคไข้เลือดออก ระวังไม่ให้ยุง หรือแมลงริ้นฝอยทรายกัด สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ทายากันยุง สวมเสื้อผ้าปกปิดทั่วร่างกาย เมื่อเข้าป่า ไปถ้ำ ทำสวน ทำไร่ นอนในมุ้งชุบเคมี ไม่อยู่นอกบ้านช่วงพลบค่ำที่เป็นช่วงเวลาที่แมลงริ้นฝอยทรายออกหากินมาก รักษาสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน ฉีดพ่นสเปรย์กำจัดยุงและแมลงภายในบ้าน และทำให้ปลอดจากสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต ซึ่งเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่พักอาศัยและให้สารกำจัดแมลงบนตัวสัตว์ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ หากมีอาการเจ็บป่วยสามารถพบแพทย์ผ่าน Telemedicine แอปพลิเคชัน "หมอ กทม." เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอาการได้อย่างรวดเร็ว และสามารถปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่สายด่วนสุขภาพ สนพ. โทร. 1646 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา: กรุงเทพมหานคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน