กมธ. พลังงาน-ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สนช. เยี่ยมชม กฟผ. แม่เมาะ

ศุกร์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๗ ๑๖:๒๖
กรุงเทพฯ--16 ก.พ.--สนช.
คณะกรรมาธิการ สนช. 2 คณะ เยี่ยมชมการดำเนินงาน กฟผ. แม่เมาะพร้อมรับฟังข้อเท็จจริง ด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน
วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2550) คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำโดยพลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานคณะกรรมาธิการฯ และคณะกรรมาธิการพลังงาน สนช. นำโดยนายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน และพลโทจิรเดช คชรัตน์ แม่ทัพภาค 3 ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการฯ เพื่อเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ โดยมีนายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการ กฟผ. และผู้บริหารระดับสูงให้การต้อนรับ
นายไกรสีห์ กรรณสูต กล่าวว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความสนใจ ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งด้านการทำเหมือง การผลิตไฟฟ้า ตลอดจนด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ของ กฟผ. แม่เมาะ เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีต้นทุนต่ำ ช่วยให้รักษาระดับราคาค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่ง กฟผ. พร้อมนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมชมครั้งนี้มาปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป
พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง กล่าวว่า เป็นการมารับทราบข้อมูลและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ เพื่อประกอบการนำเสนอรัฐบาล รวมทั้งในการพิจารณากฎหมายและประเด็นปัญหาต่างๆ ของ สนช. ซึ่งจากข้อมูลเห็นว่า ในภาพรวม กฟผ. มีการบริหารจัดการและสภาพแวดล้อมที่ดี โรงไฟฟ้าและเหมืองสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้
“ในด้านชุมชน กฟผ. ให้ความสำคัญและแบกรับภาระหน้าที่ไว้มาก ทำให้ประชาชนอำเภอแม่เมาะมีสวัสดิการที่ดี แต่ปัญหาเรื่องการอพยพราษฎรมีความซับซ้อน ต้องดูผลกระทบรอบด้าน ซึ่งจะต้องรับฟังจากทุกฝ่าย และมีการชี้แจงอย่างเปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไป”
ด้านนายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์ กล่าวว่า การมาเยี่ยมชมครั้งนี้ คณะกรรมาธิการได้ข้อมูลที่ชัดเจน และเห็นว่าโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น และสามารถอยู่ด้วยกันได้กับชุมชน ซึ่งในต่างประเทศที่เจริญแล้ว ชุมชนกับโรงไฟฟ้าสามารถอยู่ร่วมกันได้ ทำให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม ประชาชนก็จะมีรายได้ตามมา พร้อมทั้งเชื่อมั่นในขีดความสามารถของ กฟผ. ต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนให้ดีตลอดไปได้
กฟผ. แม่เมาะ มีกำลังผลิต 2,400 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 12 ของกำลังการผลิตของประเทศ มีต้นทุนเชื้อเพลิงต่ำ หรือ 1 ใน 3 ของการผลิตด้วยก๊าซธรรมชาติ และ 1 ใน 8 ของการผลิตด้วยน้ำมันเตา ทำให้ประเทศสามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ปีละกว่า 58,650 ล้านบาท
ในด้านการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม ได้มีการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งด้านฝุ่น ก๊าซ เสียง และน้ำจากโรงไฟฟ้าและเหมือง ตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ โดยติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และระบบเผาไหม้ควบคุมไนโตรเจนออกไซด์ โดยค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่วัดได้เฉลี่ยรายปีต่ำกว่า 2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่ในกรุงเทพฯ วัดได้ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยที่มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษไม่เกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ พ.ค. เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๒๑ พ.ค. HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส