คณะอนุกรรมการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสภากทม. ติดตามแผนงาน ร.ร. ฝึกวิชาชีพ บ่อนไก่

พุธ ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๐๗ ๑๗:๒๖
กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--กทม.
นายเอก จึงเลิศศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประธานคณะอนุกรรมการ การพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม พร้อมคณะอนุกรรมการ เดินทางไปรับฟังแนวทางการดำเนินงานพร้อมปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียน ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (บ่อนไก่) พื้นที่เขตปทุมวัน โดยมีนายอนันต์ ราชาเดช ผู้อำนวยการโรงเรียน และเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาสังคม เข้าร่วมประชุมชี้แจง
โรงเรียนฝึกวิชาชีพกรุงเทพมหานคร (บ่อนไก่) ได้กำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาโรงเรียนฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 ด้าน อาทิ การพัฒนาด้านอาคารสถานที่ การพัฒนาด้านหลักสูตร การพัฒนาด้านการเรียนการสอน และพัฒนาด้านบุคลากรและองค์กร และได้เพิ่มการพัฒนาขึ้นอีก 2 ด้าน คือ การพัฒนาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและมวลชนในเชิงบูรณาการ และพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์โรงเรียน
สำหรับปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนฝึกวิชาชีพ (บ่อนไก่) ที่อนุกรรมการฯ ได้รับทราบคือ จากการที่กรุงเทพมหานครมีนโยบายในการจัดทัศนียภาพบริเวณสวนลุมพินีให้เป็นระเบียบ จึงจำเป็นต้องย้ายศูนย์ฝึกวิชาชีพ (ลุมพินี) มารวมที่เดียวกับโรงเรียนฝึกวิชาชีพ (บ่อนไก่) ด้วยสถานที่มีพื้นที่จำกัดคับแคบ อีกเกิดปัญหาทั้งทางด้านกายภาพ ทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อม ขยะที่มากขึ้น การจราจร สถานที่จอดรถไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้รับความสะดวก เกิดปัญหาเสียงดังจากเครื่องขยายเสียงที่เปิดใช้ในการประชาสัมพันธ์ไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดปัญหาการร้องเรียนบ่อยๆ และเกิดความเข้าใจผิด ในการร้องทุกข์ พื้นอาคารชั้นเรียนและห้องน้ำ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลความสะอาด เนื่องจากมีปริมาณนักศึกษาหรือนักเรียนจำนวนมากเกิดกำหนด ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯจะประสานทางผู้เกี่ยวข้องและผลักดันเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาสภากรุงเทพมหานครต่อไป
ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า โรงเรียนฝึกวิชาชีพ (บ่อนไก่) มีปัญหาหลายด้านที่เห็นสมควรรับการแก้ไข โดยปัญหาส่วนใหญ่ ที่พบคือ อาคารสถานที่คับแคบแออัด พร้อมกับปัญหาซ้ำซ้อนในด้านหลักสูตรการเรียนวิชาชีพ เพราะมีศูนย์ฝึกอบรมร่วมกัน อีกทั้งมีการทับซ้อน 3 รูปแบบ คือ วิทยาลัยชุมชน โรงเรียนฝึกวิชาชีพ และศูนย์ฝึกอาชีพ ทำให้เกิดปัญหาเป็นอย่างมากในการจัดระเบียบ ทำให้ประชาชนผู้เข้าสับสน ทั้งนี้ในที่ประชุมทางอนุกรรมการฯ ได้เสนอให้รวบรวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน รวมถึงการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการปรับขยายพื้นที่และจัดระเบียบบริเวณโรงเรียนให้เพียงพอต่อหลักสูตรวิชาชีพและรองรับความต้องการของประชาชน อีกทั้งเพิ่มหลักสูตรการศึกษาเทียบเท่า ปวช . หรือถ้าเป็นไปได้ถึงขั้นอนุปริญญา ปริญญาตรี เข้าอยู่ในหลักสูตร ซึ่งจะทำให้ประชาชนสนใจมาฝึกวิชาชีพมากขึ้น ไม่เกิดปัญหาการว่างงาน และสามารถที่จะเพิ่มบุคลากรให้รองรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๗ บมจ. ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จัดงาน 28th SAHACOGEN Moving Towards RATCH PATHANA ในโอกาส Rebranding
๑๑:๒๙ COCOCO จัด Opportunity Day ประจำไตรมาส 1/2567 พร้อมส่งซิกเติบโตต่อเนื่อง
๑๑:๔๑ กรุงศรี ออโต้ พร้อมให้ความรู้และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทางการเงิน ในรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันกับโครงการ 'Krungsri Auto $mart
๑๑:๐๒ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ขอเชิญร่วมกิจกรรม ธรรมะในสวน เพื่อร่วมหาคำตอบ นิพพาน ไกลเกินเอื้อม? ณ สวนเบญจกิติ 1 มิถุนายน 2567
๑๑:๔๙ PIMO-ไพโม่ อ้างแขนรับออเดอร์ใหม่จากลูกค้า ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
๑๑:๕๒ มกอช. เดินหน้าเสริมความรู้ QR Trace on Cloud และ DGTFarm
๑๑:๐๗ เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดตัว Dell AI Factory เพื่อการสร้างนวัตกรรม ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้อย่างเร่งด่วน
๑๑:๑๒ พาราไดซ์ พาร์ค ผนึก ยังแฮปปี้ และ สสส. ชวนวัยอิสระมาปลุกพลังพิเศษในตัวคุณ ในงาน Eldergy Festival บูสพลังเก๋า
๑๑:๓๓ พิธีปิดโครงการ International x-change camp 2024
๑๑:๐๘ ศูนย์หนังสือจุฬา ฯ ชวนน้อง. เสริมความรู้ด้านการเงินผ่านเกม