TCELS ดึงนักลงทุนไทย-เทศผลิตยาลดนำเข้า

พุธ ๒๑ มีนาคม ๒๐๐๗ ๑๔:๐๐
กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--TCELS
TCELS ชี้ไทยพร้อมดึงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศลงทุนด้านอุตสาหกรรมผลิตยา มั่นใจมีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนายาใหม่ไม่แพ้ต่างชาติ ผุดสารพัดโครงการหนุนวิจัยและพัฒนายาให้ได้ประสิทธิภาพทัดเทียมสากล
นายแพทย์ธงชัย ทวิชาชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) กล่าวในช่วงหนึ่งของการบรรยายให้กับ นักลงทุนด้านอุตสาหกรรมยาทั้งในและต่างประเทศ ผู้บริหารโรงงานยา ผู้แทนบริษัทยา ผู้แทนองค์กรภาครัฐและเอกชนเกือบ 100 คน ในการประชุม Pharmaceutical industry in Thailand 2007 ถึงความพร้อมของประเทศไทยในการดึงนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เข้ามาลงทุนด้านอุตสาหกรรมผลิตยา ว่า ขณะนี้ประเทศไทยพร้อมแล้วที่จะเป็นศูนย์กลางในการวิจัยและพัฒนายาใหม่ ให้ได้มาตรฐานสากล โดยรัฐบาล องค์กรเอกชน รวมถึง TCELS ได้สนับสนุนงบประมาณให้เกิดโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับหลายโครงการ ทั้งในส่วนของการวิจัยก่อนคลินิก (Pre clinic) โดยสำนักสัตว์ทดลองผลิตสัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐานสากล และกำลังสนับสนุนให้เกิดศูนย์ทดสอบความเป็นพิษ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับกรมวิทยาศาตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำหรับในขั้นตอนของการวิจัยทางคลินิก (Clinical Research ) นั้น นายแพทย์ธงชัย กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ทั่วประเทศ 13 แห่ง และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการร่วมพิจารณาจริยธรรมการทำวิจัยในคนของประเทศไทย (Joint Research Ethics Committees : JREC) ซึ่งจะเป็นการพิจารณางานวิจัยในคนที่ต้องทำในหลายพื้นที่ ที่ผ่านมาจะเป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องจากต้องผ่านการพิจารณาจากหลายสถาบัน แต่จากนี้ไปผู้ที่ทำการวิจัยสามารถส่งงานวิจัยมาพิจารณาได้ที่สำนักงานฯ ดังกล่าวเพียงแห่งเดียวได้ โดยขณะนี้ได้ทำการเปิดสำนักงานฯ อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งสอดรับกับโครงการความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดตั้งศูนย์กลางจัดการองค์ความรู้ด้านการวิจัยทางคลินิกนานาชาติ (ICRCC : International Clinical Research Collaboration Center) เพื่อสนับสนุนการจัดการองค์ความรู้จากการวิจัยทางคลินิกแก่นักวิจัยในประเทศไทยและนักวิจัยที่อยู่ในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตัวยาใหม่ เพื่อคนไทย และประชากรในภูมิภาคใกล้เคียงเป็นการเฉพาะ
นอกจากนี้ ยังมีโครงการความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายการวิจัยทางคลินิกสหสถาบัน พัฒนาต้นแบบองค์กรบริหารจัดการวิจัยทางคลินิก เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ได้มาตรฐานสากลในเวลาอันรวดเร็ว และเป็นที่น่ายินดีว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เร่งพัฒนามาตรฐานของอุตสาหกรรมยาให้อยู่ในระดับเดียวกัน เนื่องจากที่ผ่านมา มาตรฐานการผลิตยามีหลายระดับ ทั้งในส่วนของ US GMP, EU GMP, WHO GMP ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการพิจารณา ซึ่งจะส่งผลให้การขึ้นทะเบียนยาเร็วขึ้น ดังนั้นหากผลักดันเป็นผลสำเร็จจะทำให้อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะเป็นการดึงดูดนักลงทุนอีกทางหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TCELS กล่าวว่า ตามมาตรฐานการผลิตยาในประเทศและตามกฎหมายยาจะต้องมีห้องทดลองที่ได้มาตรฐานเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ ขณะนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี Central Lab อยู่แล้ว ซึ่ง TCELS พร้อมที่จะประสานให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนา Central Lab ที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๒ วิศวะมหิดล สร้างสรรค์ จดจำ อุปกรณ์จดบันทึกเพื่อน้องในโลกมืดและผู้พิการทางสายตา
๑๗:๒๑ เทศกาลกินเจที่ห้องอาหารเดอะ กลาส เฮ้าส์
๑๗:๑๔ ZOJIRUSHI เปิดช็อปใหม่พิกัด เซ็นทรัลเวิลด์ ชูสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวทันสมัยสไตล์โมเดิร์น
๑๗:๔๘ คณะบัญชี SPU ร่วมแสดงความยินดีกับ นายกสภาวิชาชีพบัญชีและคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี วาระปี พ.ศ. 2566 - 2569
๑๗:๒๖ ELECTRIC NEON LAMP ขนเพลงฮิตสุดเดือดใส่ไม่มียั้ง!! คอนเสิร์ต TURN THE LIGHT ON มันจ้าซะเหลือเกิน แฟน ๆ
๑๗:๐๗ ไพน์-แปซิฟิก โชว์ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมหล่อโลหะ ในงานมหกรรม wire Tube - GIFA METEC Southeast Asia 2023
๑๗:๔๒ Lenovo นำเสนอเทคโนโลยีและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อก้าวไปสู่ยุคใหม่ของการศึกษา
๑๗:๔๒ ศศินทร์ มอบรางวัลอาจารย์ผู้สอนดีเลิศ ประจำปี 2566
๑๗:๕๗ TikTok จุดประกายแนวคิดใช้ชีวิตแบบรักษ์สิ่งแวดล้อมในกลุ่มเยาวชนไทย ร่วมมือพันธมิตรเปิดโครงการ REact For Change
๑๗:๑๔ SRS หุ้นน้องใหม่ที่นักลงทุนเชื่อมั่น จองซื้อหุ้น IPO หมดเกลี้ยง เดินหน้าเทรด mai 10 ต.ค.นี้ ด้านผู้ถือหุ้นเดิมพร้อมใจ Lock up หุ้น