“กลุ่มไทยยูเนี่ยน” โชว์ศักยภาพอีกครั้ง ฝ่าวิกฤตเงินบาท ตั้ง 5 บริษัทใหม่ ซื้อเรือประมงทูน่า

จันทร์ ๒๐ สิงหาคม ๒๐๐๗ ๑๔:๒๘
กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์
บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด หรือ ทียูเอ็ม ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง และอาหารแมวบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของไทย ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทียูเอฟ ได้จัดตั้ง 5 บริษัทใหม่ โดยมีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 440 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อเรือประมงทูน่าจากกองเรือปานาม่า เป็นการสร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดโลกให้กับกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ กล่าวว่า “จากการลงทุนของบริษัทไทยรวมสินฯ ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ทำให้ทียูเอฟได้มาซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าว การจัดตั้งบริษัทใหม่ 5 บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 440 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการซื้อเรือประมงน้ำลึกสำหรับใช้จับปลาทูน่าในแถบมหาสมุทรอินเดีย สำหรับเรือที่เข้าซื้อนี้มีทั้งหมด 5 ลำ เป็นเรือจับปลา 4 ลำ และเรือหาปลาอีก 1 ลำ โดยที่เรือจับปลาทั้ง 4 ลำมีปริมาณความจุห้องเย็นอยู่ระหว่าง 700 — 1,100 ตันต่อลำ ซึ่งจะสามารถซัพพลายวัตถุดิบให้กับบริษัทได้ถึง 25,000 ตันต่อปี หรือประมาณ 8% จากปริมาณความต้องการวัตถุดิบของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งปี ซึ่งเรือทั้งหมดนี้จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในสิ้นเดือนนี้”
นอกจากนี้ นายธีรพงศ์ ยังกล่าวต่อถึง เหตุผลของการเข้าไปลงทุนซื้อเรือในครั้งนี้ว่า “เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าแช่แข็งและบรรจุกระป๋องเป็นสินค้าสำคัญที่มียอดขายสูงเป็นอับดับหนึ่งของกลุ่มบริษัทฯ และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ ต้องหาแหล่งวัตถุดิบมารองรับการขยายตัวในอนาคต ปัจจุบันกลุ่มของเราใช้วัตถุดิบปลาทูน่ากว่า 300,000 ตัน/ปี โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,200 ตัน/วัน ดังนั้นการที่เราเป็นเจ้าของกองเรือเองจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวสำหรับกลุ่มบริษัท เนื่องจากจะทำให้มีวัตถุดิบมารองรับการผลิตของทั้งกลุ่มได้อย่างเพียงพอ และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันได้เป็นอย่างดี”
อย่างไรก็ดี นอกจากประโยชน์ในเรื่องของวัตถุดิบที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการสำหรับฐานการผลิตของบริษัทในประเทศไทยให้มีวัตถุดิบได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังช่วยรองรับกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) สำหรับการลดภาษีในประเทศสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นได้อีกด้วย เนื่องจากสินค้าปลาทูน่าที่ส่งออก
ไปยังสหภาพยุโรปต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงถึง 24% ในปัจจุบัน แต่การที่เรามีกองเรือเองจะช่วยลดความเสียเปรียบทางด้านภาษีลงเหลือ 20.5% เพราะวัตถุดิบที่มาจากประเทศไทยจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี GSP ขณะเดียวกันสำหรับข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA) ก็มีข้อกำหนดว่า ปลาทูน่ากระป๋องที่นำเข้าญี่ปุ่นจะต้องเป็นวัตถุดิบที่มีแหล่งมาจากกองเรือสัญชาติอาเซียน หรือกองเรือที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการทูน่ามหาสมุทรอินเดีย หรือ ไอโอทีซี (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) ถึงจะได้รับการลดภาษีภายใต้ข้อตกลงทางการค้า และประโยชน์อีกประการหนึ่งของการลงทุนคือ การมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มีกองเรือจับปลาน้ำลึกสัญชาติไทยสามารถจับปลาในน่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันการจับปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก และมหาสมุทรอินเดียส่วนใหญ่จะเป็นเรือของไต้หวัน ญี่ปุ่น และ สเปน
ทั้งนี้นายธีรพงศ์ ยังได้กล่าวเสริมถึง “สถานการณ์ราคาปลาทูน่าในขณะนี้ว่า ราคาปลามีการปรับขึ้นมามากเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี การที่ราคาปลาปรับตัวสูงขึ้นนั้น ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น ส่งผลให้ปลาทูน่ามีการกระจายตัวไม่อยู่กันเป็นฝูง และดำน้ำลงไปลึกขึ้น ซึ่งทำให้ยากต่อการจับ แต่สำหรับไทยยูเนี่ยนนั้น เรายังมีความสามารถในการหาวัตถุดิบมารองรับกำลังการผลิตในขณะนี้ได้ โดยยังดำเนินการผลิตอย่างเต็มกำลัง เนื่องจากบริษัทยังสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ปัจจุบันปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังเป็นปัญหาสำหรับผู้ส่งออกอย่างมาก แต่สำหรับบริษัทเองก็ได้มีการติดตามสถานการณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับตัวและวางมาตรการรองรับให้ทันกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีการจัดการและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถกระจายความเสี่ยงด้วยความหลากหลายของกลุ่มธุรกิจ เพราะบริษัทมีธุรกิจส่งออกจากในประเทศไทย และธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่านโยบายหลักเหล่านี้จะสามารถทำให้กลุ่มของเราเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต”
จากผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของทียูเอฟ บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 27% จาก 756.1 ล้านบาทในปี 2549 เป็น 957.9 ล้านบาทในปีนี้ ทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเห็นควรให้จัดสรรกำไรสุทธิเป็นเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกของปี 2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2550 ในอัตรา 0.55 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราร้อยละ 50.46 ของกำไรสุทธิ ซึ่งมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 18 กันยายน 2550 แต่อย่างไรก็ดีเงินปันผลจำนวนนี้ ผู้ถือหุ้นจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลจำนวน 0.35 บาทต่อหุ้น ซึ่งคิดเป็นเงิน 0.035 บาทต่อหุ้น เนื่องจากเป็นกำไรส่วนที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ขณะที่เงินปันผลอีก 0.20 บาทต่อหุ้นได้รับการยกเว้นภาษี เพราะมาจากกำไรส่วนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ได้กำหนดปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผล ในวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2550
“สำหรับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลนี้เป็นไปตามนโยบายหลักของบริษัทในเรื่องของการจ่ายเงินปันผลที่ต้องจ่ายปันผลปีละ 2 ครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ทั้งนี้บริษัทต้องการจะคืนกำไรจากการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่” นายธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
ฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์
โทร: 02-2980027 ต่อ 675-678
โทรสาร: 02-2980024 ต่อ 679
อีเมล์: [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๒ เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๑๔:๐๗ HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส