เร่งพัฒนาเทคโนโลยีอุตฯไทย ขยายเครือข่ายสู่พื้นที่อีสาน เชี่อมโยงเศรษฐกิจชุมชน

อังคาร ๒๗ มีนาคม ๒๐๐๗ ๑๖:๑๓
กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--iTAP
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช.จับมือม.อุบล และ ม.มหาสารคาม สานเครือข่ายพันธมิตรภาคอีสาน เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมไทย หนุนให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เชื่อมโยงวิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ลงนามบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มเครือข่ายบริการของโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (Industrial Technology Assistance Program: ITAP) สนับสนุนการจัดตั้งโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม
ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงความร่วมมมือในครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายจะได้ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการลงนามในครั้งนี้จะเป็นโอกาสของการได้ทำงานร่วมกันและสร้างพันธมิตร อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะได้ร่วมกันแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ พร้อมทั้งหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับคนในท้องถิ่น ที่จะได้มีโครงการเป็นของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการจัดตั้งเครือข่ายโครงการ iTAP เพิ่มเติม สำหรับให้บริการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนให้ SME มีความสามารถในการทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น โดยหากมีความต้องการด้านวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชนเกิดมากขึ้นอย่างเหมาะสมก็จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในระยะต่อไป อีกทั้งเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีศักยภาพที่ดีพอในการทำงาน และมุ่งเน้นที่อุตสาหสกรรมขนาดย่อมเนื่องจากเกี่ยวโยงกับผู้คนในท้องถิ่นและคำนึงถึงความต้องการของผู้ประกอบการเป็นหลัก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นภายใต้เศรษฐกิจฐานความรู้
ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามถือเป็นเครือข่ายโครงการ iTAP ลำดับที่ 8 เพื่อให้บริการแก่ SME ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเครือข่ายโครงการ iTAPลำดับที่ 9 รับผิดชอบพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยจะเป็นการทำงานบริการเสริมกับเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนอื่นอยู่แล้ว ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา รวมกันเป็นเครือข่าย iTAP ให้บริการพัฒนา SME ในพื้นที่อีสานทั้งหมดให้มีศักยภาพทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างทั่วถึง
โดยเน้นการให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนของภูมิภาคนี้ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตร อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ
ปัจจุบันโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทยมีเครือข่ายบริการอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินการสนับสนุนการใช้ผู้เชี่ยวชายทางเทคนิคเข้าไปสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้น รวมทั้งเข้าไปจัดทำโครงการปรึกษาเชิงลึก เพื่อแก้ไขปัญหาทางเทคนิคและปรับปรุงการผลิต โดยมีกระบวนการทำงานที่ยืดหยุ่นสูงและมีบุคคลากรที่เป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน โดยขณะนี้ได้ให้บริการแก่ SME ทั่วประเทศไปแล้วกว่า 5,000 ราย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP)
โทร.0-2270-1350-4 ต่อ 115
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๔๙ จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2024
๐๙:๒๒ กทม. กำชับเจ้าหน้าที่เทศกิจป้องกันผลกระทบสุขภาพระหว่างปฏิบัติงานกลางแดดร้อนจัด
๐๙:๕๑ ดีพร้อมเปย์ ปล่อยกู้ระยะสั้น ช่วยผู้ประกอบการแก้หนี้
๐๙:๒๗ กทม. ตั้งเป้าปรับปรุงทางเท้าตามมาตรฐานใหม่ 76 เส้นทางภายในปี 68
๐๙:๒๗ รายการ สถานีประชาชน รับโล่ประกาศเกียรติคุณเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย 2567
๐๙:๐๒ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รับสมัครนักศึกษาใหม่ ปริญญาโท หลักสูตรวิศวกรรมเว็บ และการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา ปี
๐๙:๐๖ ต่อกล้าอาชีวะ ปี 67 ปั้นนวัตกรสายอาชีวะ สู่ Young Smart IoT Technician ด้วย IIoT เสริมแกร่งแรงงานในหลากอุตสาหกรรม S-Curve มุ่งสู่ Industry
๐๘:๐๙ WICE รับมอบรถบรรทุกไฟฟ้าจาก NEX พร้อมเดินหน้า มุ่งสู่ Green Logistics
๐๘:๔๓ EVT เร่งเพิ่มพันธมิตร รองรับนโยบายภาครัฐในการเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ
๐๙:๒๔ บิทคับ มูนช็อต ร่วม อัลติเมท เดสตินี่ เปิดตัว U Destiny เอาใจสายมู แพลตฟอร์มแรกของไทยที่ใช้ AI ทำนายดวง