เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ฟ้องกรมวิชาการเกษตรเพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร

พุธ ๐๖ มิถุนายน ๒๐๐๗ ๑๐:๕๖
กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
นายสิทธิโชค เดชภิบาล ทนายความผู้รับผิดชอบคดีกล้ายาง เปิดเผยว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด จะดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อขอให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้บริษัทฯ ส่งมอบต้นยางชำถุงจำนวน 16.14 ล้านต้นแก่เกษตรกร เพื่อรักษาประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกยางและรอกล้ายางชำถุงอยู่ ขณะที่กล้ายางชำถุงของบริษัทก็มีความพร้อมและรอการส่งมอบแล้ว แต่กรมวิชาการเกษตรกลับทำการยกเลิกโครงการฯ ก่อนครบกำหนดขยายระยะเวลาส่งมอบ ทำให้ความเสียหายตกอยู่กับเกษตรกร ซึ่งไม่เป็นการยุติธรรม
“การยื่นฟ้องกรมวิชาการเกษตรในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อรักษาสิทธิในการส่งมอบยางพาราชำถุงจำนวน 16.14 ล้านต้นให้ทันตามกำหนดที่กรมฯได้ขยายเวลาไว้ให้ ตามหนังสือเลขที่ 0911/5330 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2549 เพื่อไม่ให้เกษตรกรกว่า 20,000 รายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งผมถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบต่อองค์กร จึงต้องตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทฯ ก็มียางชำถุงครบตามจำนวน 16.14 ล้านต้น พร้อมส่งมอบภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ตามที่กรมฯ ยืดระยะเวลาให้ ซึ่งถือเป็นช่วงที่ฝนตกชุกเหมาะสมกับการปลูกยางพารา โดยหากช้าไปกว่านี้เกษตรกรอาจได้รับกล้ายางชำถุงในปลายฤดูฝน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ ” นายสิทธิโชค กล่าว
อนึ่ง รัฐบาลได้จัดให้มี โครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่ระยะที่ 1 โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นคู่สัญญาและได้เลือกให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (ซีพีเอส.) เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตต้นยางชำถุงจำนวน 90 ล้านต้นเพื่อใช้ในโครงการฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 จากนั้นคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายก็ร่วมมือกันด้วยดีมาตลอดระยะเวลาการส่งมอบในปี 2547-2548-2549
หากแต่ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดความแปรปรวนทางธรรมชาติ ได้แก่ ภัยแล้ง พายุ และน้ำท่วม โดยเฉพาะในปี 2549 มีพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายให้กับโรงเรือนเพาะชำ ส่งผลกระทบต่อการผลิตต้นยางชำถุงของบริษัทฯ รวมทั้งเกษตรกรเองก็เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย จึงไม่สามารถมารับต้นยางชำถุงได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุสุดวิสัย จึงทำให้บริษัทฯไม่สามารถส่งมอบต้นยางชำถุงได้ครบ 90 ล้านต้นตามจำนวนที่ระบุในสัญญา
ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ส่งหนังสือลงวันที่ 29 สิงหาคม 2549 เลขที่ CPS 053/2549 ถึงกรมวิชาการเกษตร เพื่อขออนุญาตขยายเวลาส่งมอบในส่วนที่เหลืออันเนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งทางกรมวิชาการเกษตรได้มีหนังสือถึงบริษัทฯ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ให้บริษัทฯส่งมอบส่วนที่เหลือจำนวน 16.14 ล้านต้น ได้ในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2550 เป็นระยะเวลา 2 เดือน
จากหนังสือดังกล่าว บริษัทฯจึงได้ดำเนินการผลิตต้นยางชำถุงมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 เพื่อให้ได้จำนวนครบ 16.14 ล้านต้น และสามารถส่งมอบถึงมือเกษตรกรได้ทันในเวลาที่กำหนด โดยได้มีหนังสือประสานงานกับกรมวิชาการเกษตรมาโดยตลอด แต่ก่อนถึงกำหนดส่งมอบเพียง 10 วัน กรมวิชาการเกษตรก็มีหนังสือลงวันที่ 20 เมษายน 2550 บอกยกเลิกโครงการฯดังกล่าว ทั้งที่ยังไม่หมดเวลาตามที่ได้ขยายไว้ให้กับ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน