กระดาษจากตะไคร้ รางวัลจากงานแสดงสิ่งประดิษฐ์นักเรียนนานาชาติ ประเทศเกาหลี

พฤหัส ๑๔ มิถุนายน ๒๐๐๗ ๑๖:๒๙
กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--สสวท.
ปัจจุบันมีการแปรรูปกระดาษเพื่อเศรษฐกิจอีกมาก ทำให้ป่าไม้ลดลงและเกิดผลกระทบต่อการนำวัตถุดิบจากป่าไม้มาทำเยื่อกระดาษก็ยังมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและในอนาคต
จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ น.ส.แก้วกาญจน์ ไทยประยูร ด.ญ. สุวพร พงศ์ธีระวรรณ น.ส.จีรนันท์ เพชรแก้ว นายนรเทพ พิกุลทอง และ น.ส. พัชรา ชูทอง นักเรียนจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนแกนนำของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พยายามมองหาวัตถุดิบอื่นๆ ในธรรมชาติที่จะพบเห็นได้โดยทั่วไปมาทดแทนเยื่อกระดาษที่ขาดแคลน
นักเรียนกลุ่มนี้ พบว่า ลักษณะเส้นใยจากใบตะไคร้ มีลักษณะเป็นเส้นใยที่แข็งแรงและเหนียว ทนต่อแรงดึงได้ เยื่อกระดาษมีความละเอียดและเรียบ มีช่องว่างระหว่างเส้นใยน้อย มีความสามารถในการดูดซึมน้ำได้ดี มีคุณสมบัติเป็นกลางไม่มีใครนำมาใชัประโยชน์ใด ๆ น่าจะนำมาผลิตเป็นกระดาษทดแทนไม้ที่กำลังลดลงเรื่อย ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการอนุรักษ์ และ สงวนป่าไม้เอาไว้ได้อีกทางหนึ่ง และนอกจากนั้นยังเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาพัฒนาให้เกิดคุณค่าในสังคม
การทำเยื่อกระดาษจากตะไคร้อาศัยพลังงานความร้อนและพลังงานเคมีเพื่อให้ได้เส้นใยที่เหมาะสมต่อการนำมาทำกระดาษที่สวยงาม โดยขั้นตอนประกอบด้วย ศึกษาวิธีการในการผลิตกระดาษ ศึกษาอัตราส่วนของสารเคมีที่เหมาะสมในการทำเยื่อกระดาษจากตะไคร้ ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำเยื่อกะดาษ
ศึกษาส่วนของใบตะไคร้ที่เหมาะสมต่อการนำมาทำเยื่อกระดาษ ศึกษาคุณสมบัติของเยื่อกระดาษที่ผลิตได้ และศึกษาการประยุกต์ใช้กระดาษเป็นผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติที่ตรวจสอบได้
ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ บีกเกอร์ขนาด 100 และ 600 มิลลิลิตร แท่งแก้วคน ชุดตะเกียงแอลกกอฮอล์ เครื่องชั่ง คีมคีบเยื่อ กล่องพลาสติก ไม้บด แผ่นกระดาน กาละมัง ใบตะไคร้ และตะแกรงร่อนเยื่อกระดาษ
ในการผลิตกระดาษนั้น เริ่มจากนำใบตะไคร้มาหั่นให้มีขนาด 3 เซนติเมตร แล้วต้มด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง นำเยื่อตะไคร้ที่ได้ไปล้างด้วยน้ำให้สะอาดและทำการฟอกสีด้วยสารฟอกขาว
หลังจากนั้นนำไปร่อนด้วยตะแกรงร่อน ผึ่งลมให้แห้ง จะได้กระดาษที่มีเนื้อแน่นเรียบ สวยงาม เส้นใยเล็กละเอียดเกาะตัวกันแน่นจึงทนทานต่อแรงดึง ลักษณะของกระดาษที่ได้เหมาะที่จะนำมาทำงานประดิษฐ์เช่นเดียวกับกระดาษสา ไม่เหมาะที่จะนำมาทำกระดาษสำหรับเขียนหรือกระดาษเพื่อใช้วาดภาพระบายสี เนื่องจากกระดาษมีการดูดซับน้ำได้ดี และเนื้อกระดาษมีลวดลายของเส้นใยตะไคร้
กระดาษจากตะไคร้ที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถแก้ปัญหาในการใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิตกระดาษ และเป็นการตอบสนองความต้องการของสังคมที่มีความต้องการกระดาษเพื่องานประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้น จากขั้นตอนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน และใช้วัตถุดิบที่เหลือทิ้งจากการเกษตรซึ่งมีอยู่มากมายทุกภาคของไทย เนื่องจากตะไคร้เป็นพืชที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย และตัดใบทิ้ง
นับว่าโครงงานนี้เป็นการฝึกทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยได้ทั้งในแง่เศรษฐกิจ และคว้ารางวัลระดับนานาชาติกลับมาให้ได้ชื่นชม
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง