หน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ (TCL) แถลงผลดำเนินงานครบรอบ 1 ปี

ศุกร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๐๔ ๑๔:๑๕
กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--เพาเวอร์ พลัส มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิส
หน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ (TCL) แถลงผลดำเนินงานครบรอบ 1 ปี สร้างไทยเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาระหว่างประเทศเน้นการวิจัยและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาคเอเซีย
หน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ (Thai Computational Linguistics Laboratory หรือ TCL) ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (National Institute of Information and Communications Technology หรือ NICT) ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดงานแถลงผลดำเนินงานครบรอบ 1 ปี โดยเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาของตนเองในภูมิภาค ผลงานวิจัยจะครอบคลุมทั้งผลงานวิจัยพื้นฐานและผลงานวิจัยประยุกต์ ในการแถลงผลงานครั้งนี้ นอกจากจะได้เผยแพร่ข้อมูลบทความวิชาการที่ได้ตีพิมพ์แล้ว ทางหน่วยวิจัยฯ ยังได้นำผลงานมาสาธิตรวม 4 ระบบ ไ้ด้แก่ ระบบฐานความรู้ของคำศัพท์เชิงคำนวณ (TCL's Computational Lexicon), ระบบจัดเก็บนามบัตรอัจฉริยะ (Intelligent Name Card Management System) ระบบให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยมาตรฐาน XML (E-Form) และ ระบบดิจิตัลไลบรารีสำหรับเอเชีย (Asian Digital Library)
TCL ตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นหน่วยวิจัยพี่น้องกับกลุ่มภาษาศาสตร์คำนวณ (Computational Linguistics Group) ภายใต้การกำกับของ Keihanna Human Info-Communication Research Center (KICR), NICT หน่วยวิจัยทั้งสองวางแผนและดำเนินการวิจัยร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมีเป้าหมายที่จะให้หน่วยวิจัยในประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผลงานวิจัยระดับสากล พร้อมทั้งเป็นสะพานเชื่อมเพื่อวิจัยร่วมและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้กลุ่มภาษาศาสตร์คำนวณ (Computational Linguistics Group) นั้น ปัจจุบันเป็นหน่วยงานวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์คำนวณชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น มีผลงานระดับสากลมากมาย
ดร. วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ผู้อำนวยการ หน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ หรือ TCLได้เปิดเผยในโอกาสจัดงานแถลงผลดำเนินงานครบรอบ 1 ปี ว่ามีความคืบหน้าในระดับที่น่าพอใจมาก ปีที่ผ่านมาได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารประชุมวิชาการสำคัญๆ มากมาย ทำให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการวิชาการระดับสากล มีงานวิจัยที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานเพื่องานวิชาการและประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในเชิงธุรกิจได้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการสร้างผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ
"การจัดตั้งหน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณนี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นการสร้างความเชี่ยวชาญในสาขาการประมวลผลภาษาธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยพื้นฐานและการประยุกต์ใช้กับภาษาอื่น ๆ เป็นการวางพื้นฐานเพื่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต หัวข้อการวิจัยต่าง ๆ กำหนดขึ้นโดยยึดหลักความร่วมมือเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการวิจัยและความสามารถในการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีของภูมิภาค"
สำหรับผลงานวิจัยที่ TCL ได้นำมาประยุกต์อย่างเป็นรูปธรรมแล้วได้แก่ ระบบฐานความรู้ของคำศัพท์เชิงคำนวณ (TCL's Computational Lexicon), ระบบจัดเก็บนามบัตรอัจฉริยะ (Intelligent Name Card Management System), ระบบดิจิตัลไลบรารีสำหรับเอเชีย (Asian Digital Library) และ ระบบให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยมาตรฐาน XML (E-Form) ซึ่งคาดว่าระบบนี้จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นคลังเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศซึ่งจะเสริมกับระบบ E-government ของประเทศ ได้ด้วย
นอกจากนโยบายการวิจัยเพื่อสาธารณประโยชน์แล้ว นโยบายอีกด้านหนึ่งของ TCL ก็คือการมุ่งหวังที่จะนำผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นไปสู่การพัฒนาร่วมกับองค์กรเอกชนผู้สนใจ เพื่อก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ อาทิ โครงการจัดเก็บนามบัตรอัจฉริยะ TCL กำลังดำเนินการร่วมมือกับบริษัทเอกชนในการนำไปพัฒนาต่อยอดเชิงธุรกิจ
สำหรับความร่วมมืออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการและสาธารณชน ได้แก่ การร่วมมือกับสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย, เนคเทค, CICC เพื่อการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาและการใช้โอเพ่นซอร์สในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะใน 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และพม่า ซึ่งได้นำเข้าหารือในการประชุมเอเชียโอเพ่นซอร์ส (AOSS) มาแล้วอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือ Language Observatory ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทั่วโลก ในการดูแลภาษาบนอินเตอร์เน็ต โดยจะมีการอนุรักษ์ภาษาที่มีการใช้น้อย และการเชื่อมโยงความรู้ในภูมิภาคเข้าด้วยกัน
"การจัดงานแถลงผลดำเนินการครบรอบ 1 ปีนี้ ก็เพื่อจะนำเสนอให้สังคมทราบว่าหน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ (TCL) ได้ทำอะไรไปแล้วบ้างใน 1 ปีที่ผ่านไป โดยมุ่งหวังที่จะกระจายข่าวสารของหน่วยวิจัยฯ ไปยังองค์กรที่สนใจ รวมถึงนักวิจัยไทยที่มีผลงานหรือกำลังทำการวิจัยพัฒนาในแนวทางเดียวกัน ให้สามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำหรือสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยวิจัยของเราได้ต่อไป" ผู้อำนวยการ TCL กล่าวสรุป--จบ--
-นท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง