เอกรัฐวิศวกรรมเตรียมแต่งตัวเข้าตลาด หลังผ่านฉลุยกระบวนการฟื้นฟูกิจการ พร้อมขยายกิจการใหม่ หันจับ ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์

จันทร์ ๑๓ กันยายน ๒๐๐๔ ๑๑:๐๒
กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--คิง พาวเวอร์
นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ ประธานกรรมการ บมจ. เอกรัฐวิศวกรรม เปิดเผยภายหลังการลงนามในสัญญากู้ยืมเงินระยะยาว จำนวน 330 ล้านบาทและวงเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจอีกกว่า 287.5 ล้านบาท จาก บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย เพื่อเสริมสภาพคล่องและเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของกิจการว่า หลังจากที่บริษัทฯ ได้ประสบกับภาวะวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 ก็ได้เริ่มปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (CDRAC) ของธนาคารแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2542 และเมื่อปลายปี 2546 ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยการจัดหานักลงทุนมาซื้อหนี้จากเจ้าหนี้สถาบันการเงิน เพื่อให้ภาระหนี้ของบริษัทฯ อยู่ในระดับที่สามารถชำระคืนได้ ส่งผลให้ในปัจจุบัน บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นนักลงทุนรายดังกล่าว ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และในเร็ว ๆ นี้ บริษัทฯ มีแผนจะนำเสนอขายหุ้นแก่หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เฉพาะราย (STRATEGIC PARTNER) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและจากนั้นจึงจะนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงปลายปี 2547
แม้ว่าบริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่การบริหารและจัดการนั้น จะยังคงเป็นทีมผู้บริหารชุดเดิมที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมาอย่างยาวนาน คือ นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และดร. วิวัฒน์ แสงเทียน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ทั้งนี้ผู้แทนจากผู้ถือหุ้นใหญ่ จะเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริษัท 4 คนด้วยกันคือ นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ, นายมานัส กำเหนิดงาม, นายโอภาส รางชัยกุล และนายสมพงศ์ เอื้ออัชฌาสัย โดยมีนายจุลจิตต์ บุณยเกตุ เป็นประธานกรรมการบริษัท ทั้งนี้คาดว่า ผลประกอบการเป็นกำไรก่อนหักภาษีสำหรับปี 2547 นี้ จะอยู่ที่ประมาณ 120 ล้านบาท
ปัจจุบัน บมจ. เอกรัฐวิศวกรรม มีธุรกิจ 3 ประเภทด้วยกัน คือ การผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าทั้งหม้อแปลงน้ำมันและหม้อแปลงแห้ง มีกำลังการผลิตประมาณ 3,000 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) ต่อปี เป็นธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้บริษัท คือมากถึง 90% ของรายได้รวม, งานบริการซ่อมและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์บริการ 10 แห่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคและสามารถให้บริการได้ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ สายงานนี้ สามารถทำรายได้ให้กับบริษัท 10% ของรายได้รวม และธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งเป็นสายงานธุรกิจใหม่ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 โดยเป็นที่ปรึกษาการอนุรักษ์พลังงานและออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลส์แสงอาทิตย์ ซึ่งบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจดังกล่าวด้วยการผลิตเซลส์เอง ล่าสุด บมจ. เอกรัฐวิศวกรรมได้สัญญาโครงการจ้างเหมาก่อสร้างพร้อมติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลส์แสงอาทิตย์จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่าโครงการประมาณ 125 ล้านบาท
บมจ. เอกรัฐวิศวกรรม ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2524 ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าในระบบจำหน่าย (DISTRIBUTION TRANSFORMER) โดยจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย และตะวันออกกลาง โดยมีลูกค้ารายใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง สำหรับลูกค้าในประเทศนั้น มีทั้งภาครัฐและเอกชน--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ ผื่นแพ้แดด : ภัยผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าร้อน
๑๒:๒๙ ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว โรงแรมในเครือเอ็ม บี เค 7 แห่ง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว มั่นใจตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว
๑๒:๕๗ แอสเซทไวส์ จับมือ ทาคาระ เลเบ็น พันธมิตรยักษ์อสังหาฯ ญี่ปุ่น ร่วมลงทุนต่อโปรเจ็กต์ที่ 4 โมดิซ วอลท์ เกษตร - ศรีปทุม มูลค่ากว่า 2,200
๑๒:๑๒ ส่องลุค 5 สาวคนดัง กับทรงผมสุดปังจากผลิตภัณฑ์ คริสทาไลซิ่ง สูตรใหม่สุดพรีเมียม ในงาน CRYSTALLIZING RADIANCE FOR
๑๑:๕๔ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ ดำเนินการฝึกอบรมตามโครงการเพิ่มทักษะแรงงานนอกระบบและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ รุ่นที่
๑๑:๓๓ FM จัดงาน Analyst Meeting เตรียมเสนอขาย IPO จำนวน 376 ล้านหุ้น
๑๑:๒๘ ซีพีเอฟ ไว้วางใจ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมมือเดินหน้าเพิ่มศักยภาพการผลิต เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
๑๑:๔๓ Automotive Summit 2024 มุ่งสู่นวัตกรรมการขับเคลื่อนแห่งอนาคตเพื่อความยั่งยืน
๑๑:๐๔ รายงานความยั่งยืนประจำปีของ SolarEdge ชี้ปริมาณ CO2e ที่ลดลง 40 ล้านตันต่อปี ผ่านการใช้โซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์
๑๑:๒๒ วิศวะมหิดล ประกาศความสำเร็จ Mahidol Engineering Maker Expo 2024