การจัดสรรเงินออมอย่างไรให้เหมาะกับตนเอง

ศุกร์ ๑๗ กันยายน ๒๐๐๔ ๑๑:๑๗
กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--กบข.
เมื่อวันก่อนได้ฟังการบรรยายซึ่งจัดโดยสถาบันการเงินต่างประเทศ เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกนโยบายการลงทุนของตนเองได้ กล่าวโดยย่อ ๆ ว่า กองทุนต่าง ๆ มีหน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือ หน้าที่ในการสื่อสารและทำความเข้าใจกับเจ้าของเงินว่า เงินลงทุนที่เก็บออมไว้เป็นเงินลงทุนในระยะยาว long Term Investment ซึ่งถ้าพูดให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ก็คือวันนี้ทำงานมีเงินเดือน แบ่งเงินส่วนหนึ่งไปออมและลงทุนเพื่อให้มีเงินไว้ใช้เลี้ยงดูตนเองในยามเกษียณ ถ้าตอนนี้เราอายุ 30 ปี ก็เท่ากับว่าเงินที่จะเก็บออมและบริหารให้งอกเงยนั้นเป็นเงิน ลงทุนในระยะยาวอีก 30 ปีถึงจะใช้เงินนั้นได้ โดยระหว่างทางเราต้องทำความเข้าใจกับนโยบายการลงทุนของกองทุนของเรา และเมื่อถึงวันหนึ่งที่เราเข้าใจหลักการของการลงทุนแล้วเราก็อาจก้าวต่อไปเป็นการ “การเลือกนโยบายการลงทุนด้วยตนเอง” หรือ Investment Choices เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองได้มากขึ้น
ปัจจัยอย่างแรกที่วันนี้จะกล่าวถึง ก่อนจะตัดสินใจว่าจะไปลงทุนในตราสารประเภทใดบ้าง ก็คือ " การรู้จักจัดสรรเงินออม " เพื่อให้การตัดสินใจลงทุนเป็นไปตามที่วางแผนไว้
ประการแรก สำรวจความต้องการใช้เงินของตนเอง หรือการวางแผนการใช้จ่ายส่วนบุคคล ทั้งระยะยาว และระยะสั้น เพื่อให้ทราบว่าเงินออมส่วนใดกั้นเป็นเงินค่าใช้จ่ายในอนาคต และเงินออมส่วนใดเป็นเงินสำหรับการลงทุน
ประการที่สอง สำรวจตนเองว่ายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะ ถึงแม้จะมีอายุในช่วงเริ่มต้นทำงาน หรือช่วงสร้างฐานะครอบครัว สามารถจัดสรรเงินลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงได้มาก แต่เมื่อนำเงินไปลงทุนแล้ว เกิดความไม่สบายใจ ความเครียด และยอมรับความเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับเงินลงทุนไม่ได้ อาทิ การสูญเสียเงินต้นที่ลงทุนทั้งจำนวนหรือบางส่วน บุคคลผู้นั้นก็ควรพิจารณาการยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง
ประการที่สาม วางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับระยะเวลาการใช้เงิน เพื่อให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเป็นไปตามที่ต้องการ อาทิ หากท่านมีอายุ 56 ปี และมีเงินออมอยู่ก้อนหนึ่ง ท่านก็ควรบริหารเงินออมก้อนนี้ในการลงทุนระยะสั้น เช่น การซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น เนื่องจากท่านมีระยะเวลาการลงทุนอีกเพียง 4 ปี ก่อนที่จะเกษียณอายุการทำงาน ( 60 ปี ) เท่านั้น
ประการที่สี่ วางแผนการเงินยามเกษียณ สมาชิกจำเป็นต้องคำนึงถึงสถานการณ์ด้านการเงินทั้งหมดในช่วงเกษียณว่า มีเป้าหมายอย่างไร เงินสำรองยามเจ็บไข้ ภาระหนี้สินต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ท่านวางแผนการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเพียงพอ สำหรับยามเกษียณ
ถึงตอนนี้ ก็ลองสำรวจและวางแผนการเงินส่วนบุคคล เพื่อจะได้มั่นใจว่าเงินออมที่มีอยู่ จะนำไปลงทุนในลักษณะใดจึงจะเหมาะสมกับตัวท่านเองมากที่สุด
สำคัญที่สุดคือ " อายุสูงขึ้น ความเสี่ยงที่จะนำเงินไปลงทุนต้องลดลงเสมอ "
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2547
คอลัมน์ Financial Planing โดย คุณอมฤดา สุวรรณจินดา.--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง