ศวก.นครราชสีมา ใช้ HPLC ตรวจหาระดับยาในเลือด

จันทร์ ๑๙ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๒:๐๔
กรุงเทพ--19 ม.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ นครราชสีมา พัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์หาระดับยาในเลือด โดยใช้เทคนิค HPLC (High Preformance Liquid Chromatograph) ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานสากล เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยได้ถูกต้องและแม่นยำขึ้น
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่าในการใช้ยารักษาโรค การควบคุมปริมาณการใช้ยาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เช่นไม่น้อยเกินไปจนไม่มีผลต่อการรักษาหรือมากเกินไปจนเกิดอาการเป็นพิษต่อผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตรวจวิเคราะห์หาระดับยารักษาโครในเลือดผู้ป่วยอย่างถูกต้องแม่นยำ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ นคราชสีมา จึงได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์หาระดับยาในเลือด โดยใช้เทคนิค HPLC (High Performance Liquid Chromatograph)ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าเครื่อง HPLC จัดเป็นเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล และให้ผลวิเคราะห์ที่มีความรวดเร็วและแม่นยำสูง ฉะนั้น การพัฒนาและนำเทคนิค HPLC มมใช้ในการตรวจหาระดับยาในเลือดทำให้สามารถตรวจหาระดับยาที่มีความเข้มข้นต่ำๆ ในตัวอย่างเลือดที่มีปริมาณน้อยๆ ได้ และตรวจวิเคราะห์ได้แล้วเสร็จภายในเวลา 2 วันเท่านั้น
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อไปว่า ในปีงบประมาณ 2540 ที่ผ่านมา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ นครราชสีมา ได้ให้บริการตรวจวิเคราะห์หาระดับยารักษาโรคในซีรั่มที่ได้จากเลือดตัวอย่างแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และมหาสารคาม จำนวนทั้งสิ้น 253 ตัวอย่าง 292 รายการ โดยได้ตรวจหาระดับยาต่างๆ ดังนี้
- Phenobarbital เป็นกลุ่มยานอนหลับ ระงับประสาท มักใช้เป็นยาป้องกันชักในผู้ป่วยที่โรคลมชัก และยาระงับประสาทในผู้ป่วยโรคจิต ระดับยาที่ใช้รักษาประมาณ 15-30 ไมโคกรัม/มิลลิลิตร ของซีรั่ม
- Diphenylhydantoin เป็นยาที่ใช้รักษาโรคลมชักเกือบทุกชนิด ระดับที่ใช้รักษาประมาณ 10-20 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ของซีรั่ม
- Paracetamol เป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดและลดไข้ ระดับที่ใช้รักษาประมาณ 10-20 ไมโครกรัม/มิลลิตร ของซีรั่ม
- Theophyline เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการและป้องกันโรคหืดหอบและหลอดลมหดตัวในผู้ป่วย ระดับที่ใช้รักษาประมาณ 10-15 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ของซีรั่ม
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ยาทั้ง 4 ชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการพิษเมื่อได้รับยาเกินขนาด อาจเป็นอันตรายกแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะ Paracetamol ซึ่งเป็นพิษต่อตับการตรวจวิเคราะห์หาระดับยาในซีรั่มจะสามารถประเมินความเสี่ยงของผู้ที่ได้รับยาที่อยู่ในระดับความเป็นพิษได้ พบว่า Paracetamol มีอัตราการเสี่ยงสูงที่สุดจากการได้รับยาที่อยู่ในระดับความเป็นพิษคิดเป็นร้อยละ 36.84 รองลงมาได้แก่ Phenobarbital ร้อยละ 31.68 Theophylline ร้อยละ 16.67 และ Diphenylhydantoin ร้อยละ 11.69 ตามลำดับ ซึ่งยารักษาโรคทั้ง 4 ชนิดนี้ มีช่วงของระดับยาที่ให้ผลในการรักษาแคบ และหากใช้ไม่ถูกต้องจะเกิดอันตรายได้ ฉะนั้นการตรวจหาระดับยาในเลือดจึงจำเป็นสำหรับแพทย์ในการให้ยารักษาผู้ป่วยเพื่อให้มีปริมาณยาที่เหมาะสม ไม่น้อยจนไม่เกิดผล หรือมากจนเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 5910203-14 ต่อ 9017 , 9081 โทรสาร 5911707 มือถือ 01-9047721--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน