โค้งสุดท้าย นักวิทยาศาสตร์น้อยเทเลคอมเอเซีย

พฤหัส ๓๑ กรกฎาคม ๑๙๙๗ ๑๕:๓๗
กรุงเทพ--31 ก.ค.--เทเลคอมเอเซีย
ดร.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย เปิดเผยว่า จากการที่สมาคมฯ ได้ร่วมกับ บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ "โครงการนักวิทยาศาสตร์น้อยเทเลคอมเอเซีย" ประจำปี 2540 ซึ่งเพิ่งหมดเขตรับสมัครโครงงานไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมนั้น ได้มีนักเรียนที่สนใจส่งโครงงานจากทั่วประเทศ ทั้งกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเข้าร่วมทั้งสิ้น 140 โครงงานแบ่งเป็นโครงงานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร้อยละ 40 และประเภทโครงงานด้านสิ่งแวดล้อมร้อยละ 60 โดยในปีนี้มีโครงงานที่ผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 24 โครงงาน
สำหรับโรงเรียนที่ผ่านมาการคัดเลือกรอบแรกทั้ง 24 โครงงาน จะต้องเข้ามาแข่งขันความสามารถโดยการเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด โดยคณะกรรมการมีเกณฑ์การพิจารณา ตั้งแต่การนำเสนอด้วยวาจา ความคิดสร้างสรรค์ของโครงงาน รายงานที่นำเสนอ แผงโครงงานที่จัดแสดง และการตอบปัญหาของคณะกรรมการ ซึ่งทุกโครงงานที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะทำการแข่งขันการคัดเลือกในรอบสุดท้าย ภายในวันที่ 2-3 สิงหาคม 2540 ที่ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา เอกมัย ถนนสุขุมวิท พระโขนง
ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ทำการคัดเลือกโครงงานทั้งสองประเภทในรอบแรกจาก 140 โครงงาน ซึ่งผ่านการคัดเลือกให้เข้ารอบมาแสดงความสามารถให้คณะกรรมการตัดสินอีกครั้งหนึ่งรวมทั้งสิ้น 24 โครงงานดังนี้ โครงงานประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 12 โครงงาน ได้แก่ โรงเรียนแย้มสะอาด โครงงานห้องเย็นมหัศจรรย์ และโครงงานสวยแบบเย็นๆ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงงานเฟรนฟรายด์มันแกว โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ โครงงานวุ้นปราบเซียน โรงเรียนวัดแสมดำ โครงงานปูแสมหลงกลเพิ่มผลเศรษฐกิจเป็นนักเรียนโรงเรียนจากกรุงเทพมหานคร ส่วนในต่างจังหวัดที่เข้ารอบคือ โรงเรียนวัดหนองโสน สุพรรณบุรี โครงงานการเสียบยอดโป๊ยเซียนบนต้นส้มเช้า (ภาษาท้องถิ่น) โรงเรียนท่าม่วงกาญจนบุรี โครงงานการบ่มกล้วยน้ำว้าด้วยใบจามจุรี โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกประถม เชียงใหม่ โครงงานไข่เค็มรสชาดใหม่ โรงเรียนประภัสสรวิทยา ชลบุรี โครงงานศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กวัยประถมศึกษา โรงเรียนบ้านเกาะหมี จังหวัดสงขลา โครงงานการใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันเตาในการให้ความร้อนในโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และโครงงานโลชั่นกันยุงจากฟ้าทลายโจร และโรงเรียนพิชญศึกษา นนทบุรี โครงงานดินน้ำมันจากโฟม
ส่วนโครงงานประเภทสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 โครงงานเช่นกันที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกได้แก่ โรงเรียนอุดมศึกษา โครงงานสมุนไพรดูดกลิ่น โรงเรียนฉัตรแก้วจงกลณี โครงงานเก็บตกคาร์โบไฮเดรต โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) โครงงานบ๊าย บาย ยุงน้อย โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร โครงงานพลาสติกรีไซเคิล โรงเรียนวัดบางประทุนนอก โครงงานกางเขนเลือกรังทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนจากกรุงเทพมหานคร ส่วนนักเรียนจากต่างจังหวัดที่เข้ารอบ ได้แก่ โรงเรียนบ้านเกาะหมี สงขลา โครงงานการป้องกันการเป็นหนอนของปลาเค็ม โดยใช้สารสกัดจากฟ้าทลายโจรและบอระเพ็ด โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่ โครงงานการป้องกันมด โดยใช้กระดาษกาวย่นและสารบางชนิด โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่ โครงงานไตแม่ปิง โรงเรียนบ้านแหลม เพชรบุรี โครงงานตุ๊กตาปราบลิงเซียน และโครงงานปีกสัตว์ขจัดน้ำมัน โรงเรียนสนมศึกษาคาร สุรินทร์ โครงงานยาฆ่าแมลงไร้สาร และโรงเรียนเจริญ จังหวัดแพร่ โครงงานเครื่องหยดน้ำต้นพืชแบบประหยัด
ทางด้านนายเกษม ตั้งทรงศักดิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายชุมนุมสัมพันธ์ บริษัทเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงโครงงาน ทั้ง 140 โครงงานว่า "โครงงานที่ส่งเข้ามาประกวดปีนี้ เป็นสัญญาณหรือสิ่งบ่งบอกบางอย่างว่าเยาวชนของชาติเริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น ซึ่งการประกวดโครงงานนักวิทย์น้อยเทเลคอมเอเซีย มีจุดมุ่งหวังที่จะกระตุ้นเยาวชนให้หันมาสนใจงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ซึ่งบริษัทฯ มองว่าการทำโครงงานจะเป็นส่วนหนึ่งของการปลูกฝังให้เยาวชนสนใจวิทยาศาสตร์ รวมถึงประเทศของเรายังต้องการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์อยู่อีกมาก และคิดว่าเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ จะเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยต่อไป"
ดร.บุปผชาติ เปิดเผยอีกว่า การตัดสินใจรอบสุดท้ายของคณะกรรมการ ได้มีเกณฑ์การพิจารณาโดยพิจารณาจากจุดเด่นของแต่ละโครงงาน อาทิ ความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ และเป็นเรื่องที่นักเรียนเป็นผู้ลงมือทำเอง
สำหรับโครงงานที่ส่งเข้ามาประกวดปีนี้ได้มีการกระจายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะนักเรียนในโรงเรียนต่างจังหวัด อาทิ เพชรบูรณ์ อุดรดิตถ์ แพร่ สุพรรณบุรี สงขลา พัทลุง เชียงใหม่ เพชรบุรี ปทุมธานี กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานครเป็นต้น ในส่วนของนักเรียนต่างจังหวัด นักเรียนให้ความสนใจในโครงการประเภทสิ่งแวดล้อม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถมองเห็นปัญหา สภาพแวดล้อมเรื่องของสิ่งใกล้ตัวอย่างชัดเจน คือเป็นนักแก้ปัญหา อยากให้สิ่งที่เป็นปัญหานั้นดีขึ้น และมีอีกหลายโครงงานที่เป็นเชิงประดิษฐ์ และเป็นด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร ซึ่งนักเรียนอาจจะมีโอกาสคลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้ เช่น โครงงานการเสียบยอดพืช การทำขี้ผึ้งจากรังผึ้งร้างเป็นต้น สำหรับนักเรียนในส่วนกรุงเทพมหานครก็จะมีการทำโครงงานลักษณะการหาสารเปรียบเทียบ หรือประเภทสารใดมีผลต่อการลดมลภาวะ
ทั้งนี้ จำนวนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนส่งเข้ามาประกวดในปีนี้มีทั้งคุณภาพและมีการพัฒนามากขึ้น จากการประกวด 3-4 ปีที่ผ่านมา เด็กได้มีการแสดงออกถึงความสามารถสมศักดิ์ศรี ของการเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย และโรงเรียนที่ไม่ได้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกไม่ได้หมายความว่าไม่มีความสามารถ แต่เป็นสื่อให้เห็นถึงนักเรียนและโรงเรียนได้เห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมของการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน