กทม.กำหนดรูปแบบการลงทุนโครงการรถรางเลียบคลอง เตรียมประกาศเชิญชวนผู้สนใจลงทุน

พุธ ๑๗ กันยายน ๑๙๙๗ ๑๐:๕๑
กรุงเทพ--17 ก.ย.--สำนักงานเขตกรุงเทพ
เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 40 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายบำเพ็ญ จตุรพฤกษ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถรางเลียบคลองว่า กรุงเทพมหานครได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินงานโครงการรถรางเลียบคลองสายพระราม 3 ให้ที่ประชุม คจร.พิจารณา เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอให้กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานดำเนินงานโครงการซึ่งทางคจร. ได้มีมติให้กทม. เปิดหน่วยงานดำเนินงานโครงการแล้ว กทม. จึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนงาน ทั้งนี้ในส่วนของเส้นทางเดิมที่ได้มีการศึกษาไว้โดยใช้ข้อมูลของ สจร. ซึ่งมีระยะทาง ประมาณ 17.5 ก.ม. คณะที่ปรึกษาโครงการฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อไม่ให้โครงการเกิดความล่าช้า เส้นทางช่วงถนนเจริญกรุง ซึ่งมีปัญหาเขตทางแคบ ระยะทางประมาณ 5 ก.ม. จะดำเนินการเป็นส่วนต่อขยายในภายหลัง ดังนั้นเส้นทางในเบื้องต้นของโครงการจึงเริ่มตั้งแต่ สถานีคลองช่องนนทรีส่วนที่ต่อจากโครงการรถไฟฟ้าธนายง ไปทางพระราม 3 และสุดสายที่เชิงสะพานกรุงเทพ ระยะทางประมาณ 12.5 ก.ม. ทั้งนี้จากการศึกษาคาดว่าเส้นทางดังกล่าวเมื่อสร้างแล้วเสร็จจะมีผู้โดยสารประมาณ 150,000 คนต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอจะสนับสนุนให้การลงทุนมีความเป็นไปได้สูงขึ้น
รองปลัดกทม. กล่าวต่อไปว่า ในวันอังคารที่ 23 ก.ย. นี้ คณะที่ปรึกษาโครงการฯ จะนำเสนอรูปแบบ และรายละเอียด รวมทั้งทางเลือกในการลงทุนให้ คณะผู้บริหารพิจารณา อย่างไรก็ดีเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เอกชนที่จะมาลงทุนไม่ค่อยมีความมั่นใจเนื่องจากมีอัตราเสี่ยงมาก ดังนั้นทางเลือกในการลงทุนที่จะเสนอให้คณะผู้บริหารพิจารณาจึงได้กำหนดไว้หลายแนวทาง เช่น ให้เอกชนลงทุนเองทั้งหมด โดยให้สิทธิในการจัดเก็บค่าโดยสาร ในระยะเวลา 25-30 ปี จนกว่าจะคืนทุนได้ หรือให้เอกชนลงทุนสร้างไปก่อน และ กทม. จะเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารเพื่อนำมาชดใช้ค่าก่อสร้างของเอกชนโดยผ่อนส่งในระยะยาว ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้เอกชนมีอัตราการเสี่ยงน้อยลง รวมทั้งเป็นการจูงใจให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น
รองปลัดกทม. กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่ กทม. ได้กำหนดรูปแบบการลงทุนชัดเจนแล้ว จะออกประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น โดย กทม. จะใช้เวลาช่วงเดือน ต.ค. 40 พิจารณาคัดเลือกและจะประกาศผลการคัดเลือกในกลางเดือน พ.ย. 40 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวคาดว่า TOR จะแล้วเสร็จ และพร้อมที่จะเปิดขายแบบ จากนั้นในปลายเดือน ก.พ. 41 จะให้กลุ่มเอกชนยื่นข้อเสนอในด้านเทคนิค และราคา เพื่อให้ กทม. พิจารณาว่าเอกชนรายใด ตอบสนองเงื่อนไขได้อย่างครบถ้วน และให้ประโยชน์กับ กทม. มากที่สุดในด้านที่ผู้โดยสารจะรับภาระน้อยลง--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน