จุฬา จัดปาฐกถาชุดปรีชาญาณสยาม ครั้งที่ 4 เน้นการศึกษาและวิวัฒนาการนาฎยศิลป์ไทย ฉลองการสถาปนาปีที่ 82

อังคาร ๒๓ มีนาคม ๑๙๙๙ ๑๔:๕๐
กรุงเทพ--23 มี.ค.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะครบรอบการสถาปนาปีที่ 82 ในวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2542 ในโอกาสนี้มหาวิทยาลัยจะจัดปาฐกถาชุดปรีชาญาณสยามครั้งที่ 4 เรื่อง "บทวิเคราะห์ด้านการศึกษา" โดย ศ.สุมน อมรวิวัฒน์ อ.สวัสดิ์ จงกล และรศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และ เรื่อง "วิวัฒนาการนาฎยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2477" โดย รศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ปาฐกถาชุดปรีชาญาณสยามนี้เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยเงินทุนจุฬาฯ เฉลิมฉลองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมฉลองการได้รับพระราชทานพระอิสริยยศและอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ พระราชปนัดดาแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชนัดดาแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดแก่มหาวิทยาลัยและทรงสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่งพระองค์แรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกองทุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยวิทยาการอันเนื่องด้วยอารยธรรมของชนชาติไทย ส่งเสริมให้คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักในศิลปวัฒนธรรมไทย
ปาฐกถาชุดปรีชาญาณสยาม ครั้งที่ 4 นี้จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 24 มีนาคม 2542 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาฯ โดยในเวลา 09.00-12.00 น. ปาฐกถาเรื่องแรก "ปรีชาญาณสยาม : บทวิเคราะห์ด้านการศึกษา" เป็นการวิเคราะห์แนวคิด ปรัชญาทางด้านการศึกษา ซึ่งปัจจุบันได้มีการรับเอาปรัชญาและแนวคิดที่เป็นสากลมาใช้ในการจัดการศึกษาไทยอยู่มาก จึงควรที่จะมีการ วิเคราะห์ รวบรวมองค์ความรู้ที่นักปราชญ์ทางการศึกษาไทยได้แสดงสั่งสมไว้แก่บรรพกาลแล้วนำมาผสมผสานกับหลักการแนวคิดทางการศึกษาที่เป็นสากลให้ได้ สัดส่วนสมดุลกันสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการศึกษาเป็นหลักการและรากฐานสำคัญของการพัฒนามนุษย์ ทั้งทางด้านกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม บุคลิกภาพ คุณธรรม และวัฒนธรรม ส่วนในภาคบ่ายเวลา 13.00-16.00 น. เป็นปาฐกถาชุดปรีชาญาณสยาม เรื่อง "วิวัฒนาการนาฎยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2477" โดย รศ.ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิวัฒนาการนาฎยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. 2325-2477 เพื่อแสดงให้เห็นการเกิด การเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของนาฎยศิลป์ไทยชนิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเอกภาพ โดยเน้นนาฎยศิลป์ที่ใช้มนุษย์เป็นผู้แสดง
ุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดปาฐกถาชุดปรีชาญาณสยามครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 โดยครั้งแรกจัดเรื่อง "มหาธาตุ" โดย ศ.นพ.วิชัย โปษยจินดา เมื่อ 7 สิงหาคม 2534 ครั้งที่ 2 เรื่อง "สถาปัตยกรรมไทย" โดย ศ.ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2538 และครั้งที่ 3 เรื่อง "กาลเทศะสถาปัตยกรรมไทย" โดย รศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี เมื่อ 3 สิงหาคม 2538 ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการบุกเบิก สร้างสรรค์ ค้นคว้าวิจัยวิทยาการทั้งปวงอันเนื่องด้วยอารยธรรมของชนชาวไทย ช่วยให้คนไทยเกิดความซาบซึ้ง ภาคภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งจะส่งผลสู่การพัฒนาชาติไทยเป็นการถาวรสืบไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง