สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ เผย “2 ใน 3 เชื่อถ้าธนาคารตรวจบัตรประชาชนอย่างเข้มงวดลดปัญหาการเปิดบัญชีเพื่อใช้ฉ้อโกงได้”

จันทร์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๐:๔๖
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) แถลงผลการสำรวจ "พฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการใช้บัตรประชาชนกับการทำธุรกรรมทางการเงิน" สำรวจระหว่างวันที่ 5 ถึง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,215 คน

การขอเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินถือเป็นบริการทางการเงินที่ผู้คนในสังคมใช้กันโดยทั่วไปเพื่อใช้เป็นแหล่งออมเงิน รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะขอเพียงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากมาใช้เป็นหลักฐานประกอบเท่านั้น โดยไม่มีการขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม ได้มีข่าวปรากฏอยู่เป็นระยะเกี่ยวกับผู้ที่ออกมาร้องขอความเป็นธรรมเนื่องจากบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองถูกนำไปใช้ยื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินเพื่อใช้ทำการฉ้อโกงในเรื่องต่างๆ ทั้งในกรณีที่ตนเองทำบัตรประจำตัวประชาชนสูญหายหรือถูกขโมยไป จึงกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับมาตรการหรือขั้นตอนในการตรวจสอบหลักฐานโดยเฉพาะบัตรประจำตัวประชาชนของสถาบันการเงินว่ามีความถูกต้องและตรงกับผู้ที่มายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากหรือไม่

ทั้งนี้ ผู้คนในสังคมได้เรียกร้องให้สถาบันการเงินต่างๆ เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบความถูกต้องของบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการนำบัตรประจำตัวประชาชนผู้อื่นมายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อทำการฉ้อโกง และเรียกร้องให้สถาบันการเงินแสดงความรับผิดชอบในกรณีที่มีผู้เสียหายจากการถูกนำบัตรประจำตัวประชาชนไปยื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อใช้ทำการฉ้อโกง

จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บัตรประจำตัวประชาชนกับการทำธุรกรรมทางการเงิน จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.78 เพศชายร้อยละ 49.22 อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถสรุปผลได้ดังนี้

ในด้านความรับรู้และความคิดเห็นต่อการทำบัตรประจำตัวประชาชนหาย กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 83.54 ทราบว่าในปัจจุบันหากบัตรประจำตัวประชาชนหายสามารถเดินทางไปทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.46 ยอมรับว่าไม่ทราบ

อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 74.4 มีความคิดเห็นว่าปัจจุบันยังมีความจำเป็นจะต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในกรณีที่บัตรประจำตัวประชาชนหาย ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.79 มีความคิดเห็นว่าการที่มีประชาชนทำบัตรประจำตัวประชาชนหาย 3 ใบภายในระยะเวลา 5 ปีไม่ถือเป็นเรื่องน่าสงสัย/ผิดปกติ

ในด้านความคิดเห็นต่อความเข้มงวดในการตรวจสอบข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนผู้ที่มายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.04 รู้สึกว่าสถาบันการเงินไม่ให้ความเข้มงวดกับการตรวจสอบข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนว่าตรงกับผู้ที่มายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากมากเพียงพอ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 14.81 รู้สึกว่าให้ความเข้มงวดมากเพียงพอในการตรวจสอบ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.15 ไม่แน่ใจ

สำหรับการติดตามข่าวเกี่ยวกับผู้ที่ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมในกรณีที่ถูกขโมยบัตรประจำตัวประชาชนไปยื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 49.05 ระบุว่าตนเองให้ความสนใจติดตามข่าวเกี่ยวกับผู้ที่ออกมาเรียกร้องขอความเป็นทำในกรณีที่ถูกขโมยบัตรประจำตัวประชาชนไปสวมรอยเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินเพื่อทำการฉ้อโกงบ้าง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33.09 ระบุว่าตนเองให้ความสนใจติดตามโดยละเอียด โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.86 ระบุว่าตนเองไม่ได้ให้ความสนใจติดตามเลย โดยกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.12 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับการถูกขโมยบัตรประจำตัวประชาชนไปสวมรอยเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินเพื่อทำการฉ้อโกงถือเป็นเรื่องใกล้ตัว นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.44 มีความคิดเห็นว่าข่าวเกี่ยวกับการถูกขโมยบัตรประจำตัวประชาชนไปสวมรอยเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินเพื่อทำการฉ้อโกงส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความปลอดภัยของสถาบันการเงินลดลงไป

ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการลดปัญหาการใช้บัตรประจำตัวประชาชนผู้อื่นมายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อทำการฉ้อโกงนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.88 และร้อยละ 68.81 มีความคิดเห็นว่าหากสถาบันการเงินดำเนินมาตรการตรวจสอบข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่มายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากอย่างเข้มงวดจริงจังจะมีส่วนทำให้ปัญหาการใช้บัตรประจำตัวประชาชนผู้อื่นมายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากหมดไปได้และมีส่วนช่วยลดปัญหาการยื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อใช้ฉ้อโกงได้ตามลำดับ

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.37 มีความคิดเห็นว่าหากมีการเพิ่มบทลงโทษกับผู้ที่นำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่นมายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินให้หนักขึ้นจะมีส่วนทำให้ปัญหาการใช้บัตรประจำตัวประชาชนผู้อื่นมายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากหมดไปได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.61 มีความคิดเห็นว่าสถาบันการเงินไม่สามารถหลีกเลี่ยง/ปัดความรับผิดชอบในกรณีที่มีผู้นำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่นมายื่นขอเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อทำการฉ้อโกงได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๕ TRP คว้ารางวัลเกียรติยศ Siamrath Awards 2024 ตอกย้ำ ผู้นำศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะบนใบหน้าของประเทศไทย
๑๑:๔๖ ผถห.PIMO-ไพโม่ อนุมัติปันผลงวดครึ่งหลังปี 66 หุ้นละ 0.03 บาทต่อหุ้น
๑๑:๑๘ การประชุมเตรียมงาน10 รอบ นักษัตรพระราชสมภพ
๑๑:๐๓ ผู้บริหารบางจากฯ แบ่งปันประสบการณ์เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เชิญชวนช่วยกัน ลด ละ เริ่ม เพื่อโลกยั่งยืน ในงานสัมมนา Go Green 2024 : The Ambition of
๑๐:๑๔ 1 พ.ค. นี้ เตรียมพบกับฟิตเนสแห่งใหม่ ใจกลางศรีนครินทร์ กับบริการครบครัน ใกล้บ้านคุณ BB FITNESS@พาราไดซ์
๑๐:๑๐ HUAWEI Band 9 จับมือ 3 แพลตฟอร์ม Amado Shopping ช่องทางออนไลน์ Lazada และ Shopee ให้คุณเข้าถึงฟีเจอร์สมาร์ทวอทช์ด้วยราคาสมาร์ทแบนด์
๑๐:๔๙ ห้องอาหาร นิมมาน บาร์ แอนด์ กริล พร้อมเสิร์ฟความอร่อยแบบจัดเต็มกับ เทศกาลบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น สุดพิเศษ และ บุฟเฟ่ต์ Carvery Night
๑๐:๓๔ TSPCA จัดประชุมสามัญประจำปี 2567 เตรียมความพร้อมสู่สามทศวรรษสวัสดิภาพสัตว์เพื่อก่อเกิด สวัสดิภาพคน
๑๐:๓๒ พด. มุ่งพัฒนาศักยภาพดินในพื้นที่ปลูกพืช GI เสริมศักยภาพเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
๑๐:๐๔ ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ มอบของบริจาค พร้อมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ