ฟิทช์ เรทติ้งส์: แนวโน้มการดำเนินงานของภาคธนาคารและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจะอ่อนแอลงจากเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลงอย่างมาก

พุธ ๑๘ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๑๑
คุณภาพสินทรัพย์และรายได้ของธนาคารไทยน่าจะปรับตัวลดลงอย่างมากในปี2563และสถานะทางเครดิตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยน่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสตามความเห็นของนักวิเคราะห์จากฟิทช์ เรทติ้งส์ในการสัมมนาออนไลน์ที่จัดโดย ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ในวันนี้

เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวและภาคการส่งออกในระดับสูง” กล่าวโดย คุณเจอรามีซูกค์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดอันดับเครดิตประเทศของฟิทช์ เรทติ้งส์ ทั้งนี้ฟิทช์เพิ่งได้มีการปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น 'มีเสถียรภาพ’ จาก 'แนวโน้มเป็นบวก’ เนื่องจากคาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการแพร่ระบาดของไวรัสมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและความไม่แน่นอนในด้านการเมืองของไทยที่ยังคงมีต่อเนื่องฟิทช์ประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 2563 ที่ 1%โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของภาคการท่องเที่ยวรวมทั้งภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ภัยแล้ง ทั้งนี้มีความเป็นไปได้พอสมควรที่การประมาณการดังกล่าวจะถูกปรับลดลงอีกเนื่องจากมาตรการการกักตัวนักท่องเที่ยวที่อาจมีความเข้มงวดมากขึ้นและการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อCOVID-19ในประเทศจะส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศปรับตัวแย่ลง แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจะยังคงเผชิญกับความท้าทายในระยะสั้นแต่ในมุมมองของฟิทช์เชื่อว่าประเทศไทยยังคงมีความแข็งแกร่งทางการเงินภาคต่างประเทศ (External Finance)และภาคการคลังสาธารณะ(PublicFinance) ซึ่งน่าจะช่วยรองรับความเสี่ยงจากภาวะการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจและการเงินซึ่งสอดคล้องกันอันดับเครดิตของประเทศไทยที่ 'BBB+’ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากประกาศหัวข้อ“FitchRevises Outlook on Thailand to Stable; Affirms at 'BBB+'” ลงวันที่ 17 มีนาคม 2563

คุณโอบบุญ ถิรจิตผู้อำนวยการฝ่ายจัดอันดับเครดิตภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของ ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)เตือนบริษัทที่ออกหุ้นกู้และนักลงทุนว่าสถานะทางเครดิตของบริษัทในธุรกิจภาคอุตสาหกรรมของไทย น่าจะเผชิญความท้าทายในปี 2563จากปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวมและปัจจัยเฉพาะที่กระทบต่ออุตสาหกรรมนั้นๆ ก่อนหน้าสถานะการโคโรน่าไวรัสบริษัทในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรฐกิจและกำไรที่มีการเติบโตในระดับต่ำ การหดตัวของเศรษฐกิจที่มากกว่าที่คาดจากการแพร่ระบาดโคโรนาไวรัสและการเติบโตของรายได้ที่ช้ากว่าที่คาดน่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อสถานะทางเครดิตของบริษัทที่มีอัตราส่วนหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงฟิทช์คาดว่าการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตในเชิงลบน่าจะยังคงเพิ่มขึ้นในปี 2563เนื่องจากสัดส่วนของบริษัทที่มีแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นและมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามบริษัทส่วนใหญ่ที่ฟิทช์จัดอันดับจะยังคงมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพเนื่องจากบริษัทเหล่านั้นมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงดังกล่าว และมีระดับหนี้สินไม่สูงมาก

สำหรับในปี 2563 อุตสาหกรรม น้ำมันก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี น่าจะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากอุปสงค์ที่ลดลงจากสถานะการโคโรนาไวรัสและราคาน้ำมันที่ลดลงจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามบางบริษัทอาจสามารถลดผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวจากกลยุทธ์และทรัพยากรของบริษัทหรือบริษัทมีระดับหนี้สินที่อยู่ในระดับต่ำซึ่งสามารถป้องกันผลกระทบต่ออันดับเครดิตได้ในระยะสั้นสำหรับธุรกิจวัสดุก่อสร้างผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่ของประเทศมีอัตราส่วนหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับระดับที่เหมาะสมกับอันดับเครดิตปัจจุบันเนื่องจากการเข้าซื้อกิจการและการลงทุนที่สูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการเติบโตของความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ที่ช้ากว่าที่คาดและกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับสูงกว่าความต้องการใช้งานน่าจะทำให้การปรับตัวลดลงของอัตราส่วนหนี้สินช้ากว่าที่คาดสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมผู้ประกอบการมีการลงทุนที่อยู่ในระดับสูงและน่าจะสูงขึ้นในช่วง1-2 ปีข้างหน้าจากการลงทุนก่อสร้างระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G นอกจากนี้การแข่งขันด้านราคาน่าจะยังคงกดดันรายได้และการเติบโตของรายได้ของผู้ประกอบการ

คุณพาสันติ์ สิงหะผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดอันดับเครดิตสถาบันการเงินของฟิทช์ เรทติ้งส์(ประเทศไทย) กล่าวว่าธนาคารไทยกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทั้งนี้ระดับของผลกระทบต่อธนาคารจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและระยะเวลาของการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์และรายได้ของธนาคารไทยน่าจะปรับตัวลดลงอย่างมากในปี2563 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยกลุ่มลูกหนี้ SME ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3ของสินเชื่อรวมของภาคธนาคารและเป็นกลุ่มที่มีความมีความเปราะบางค่อนข้างมากโดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรง นอกจากนี้แม้ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสรายได้ของธนาคารโดยรวมได้เผชิญกับแรงกดดันจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำและการเติบโตที่ต่ำของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมาแล้ว ในขณะที่ภาวะธุรกิจของภาคธนาคารมีแนวโน้มที่ไม่ดีนักแต่อย่างไรก็ตามภาคธนาคารไทยยังคงมีความสามารถที่จะรับมือกับความเสี่ยงได้ในระดับที่ใช้ได้และน่าจะช่วยป้องกันผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้บ้าง เช่น ณ สิ้นปี 2562 ธนาคารไทยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Core Equity Tier 1) ของอยู่ในที่ 16.0%และมีอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 145% อีกทั้งภาวะสภาพคล่องภายในประเทศยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง