TPQI จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับนานาชาติ ยกสมรรถนะอาชีพแมคคาทรอนิกส์เทียบชั้นมาตรฐานอาชีพสากล

อังคาร ๐๖ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๑๐
TPQI จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับนานาชาติ ยกสมรรถนะอาชีพแมคคาทรอนิกส์เทียบชั้นมาตรฐานอาชีพสากล เพิ่มขีดความสามารถบุคลากรไทยรับ AEC

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (TPQI) เดินหน้าส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานอาชีพตามมาตรฐานสากลเพิ่มเติมอีก 4 สาขาอาชีพและอุตสาหกรรมดาวรุ่งของไทย ประกอบด้วย สาขาแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) สาขาบริการยานยนต์ (Auto Service) และสาขาธุรกิจการบิน (Aviation) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีนานาชาติรองรับการเปิดเสรีตลาดแรงงานภายใต้กรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “กระบวนการประเมินและการพัฒนาเครื่องมือเพื่อการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ” หวังระดมสมองพร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกับ 5 ประเทศชั้นนำ คือ เยอรมนี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดทำมาตรฐานอาชีพในระดับสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ โดยมี พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมการบริหารสถาบันฯ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด

โดย นายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เปิดเผยว่า ภารกิจสำคัญของสถาบันฯ ที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2556 คือ การดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มสาขาวิชาชีพมีการจัดทำมาตรฐานอาชีพเพื่อรับรองสมรรถนะบุคคลซึ่งล้วนมีศักยภาพและเป็นบุคลากรที่ต้องมีความเชี่ยวชาญในสายงานเฉพาะของตนเองเป็นไปตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยในช่วงปีที่ผ่านมา TPQI ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพในกลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 14 กลุ่ม อาทิ ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ก่อสร้าง โลจิสติกส์ ธุรกิจการพิมพ์ ธุรกิจการจัดดอกไม้ ผู้ประกอบอาหารไทย และการท่องเที่ยว เป็นต้น

สำหรับการจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 200 คนจากไทยและต่างประเทศ อาทิ ตัวแทนจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะบุคคล หน่วยงานผู้จัดทำมาตรฐานอาชีพและออกแบบเครื่องมือการประเมินอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเครื่องมือการประเมิน สถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยวัตถุประสงค์สำคัญของงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการมุ่งเน้นไปที่การจัดทำมาตรฐานอาชีพใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมวิชาชีพ ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) สาขาบริการยานยนต์ (Auto Service) สาขาแมคาทรอนิกส์ (Mechatronics) และสาขาธุรกิจการบิน (Aviation) ภายใต้การประสานงานและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานในต่างประเทศ ประกอบด้วย Information- Technology Promotion Agency (IPA) จากประเทศญี่ปุ่น National IT Industry Promotion Agency (NIPA) และ Human Resources Development

Service (HRDS) จากประเทศเกาหลี Auto Skill Australia จากประเทศออสเตรเลีย AHK จากประเทศเยอรมนี รวมถึง หน่วยงาน Education New Zealand, NZQA และ ServicelQ จากประเทศนิวซีแลนด์ โดยให้ TPQI คาดหวังผลจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในครั้งนี้ให้สามารถนำไปพัฒนาเครื่องมือการประเมินและกระบวนการประเมินสมรรถนะบุคลากรใน 4 สาขาอาชีพดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การยอมรับมาตรฐานบุคลากรจากประเทศไทยในระดับสากลได้

สำหรับประเทศไทยนับจากนี้ มาตรฐานอาชีพในสาขาแมคาทรอนิกส์เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะถือเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่คนไทยให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทุกประเภท อาทิเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า อาหาร ที่พัฒนามาใช้ระบบเครื่องกลที่ควบคุมโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ชาญฉลาดแบบอัตโนมัติและต่างมีเข็มทิศมุ่งไปที่การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิต โดยบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และแม้ว่าไทยจะมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและมีบุคลากรในสาขานี้เข้าสู่ตลาดแรงงานแล้วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาแต่แมคาทรอนิกส์ก็ยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยและยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางนัก ในขณะที่ความต้องการแรงงานฝีมือในระดับปฏิบัติการสาขาแมคาทรอนิกส์มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตทุกประเภทในตลาดระดับสากล ทำให้ตลาดแรงงานมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในสาขานี้เพิ่มขึ้นสูงด้วย แรงงานฝีมือในสาขาแมคาทรอนิกส์ของไทยจึงมีความจำเป็นต้องได้รับการมาตรฐานอาชีพตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการเปิดเสรีแรงงานใต้กรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ขณะนี้ สถาบันฯ ได้เริ่มโครงการพัฒนาครูผู้สอนในสาขาแมคคาทรอนิคส์ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้โครงการนี้ลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ

“เชื่อมั่นว่าผลที่ได้รับจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะทำให้มีระบบการประเมินและกระบวนการประเมินและทดสอบที่สามารถนำร่องทดลองใช้ให้สอดคล้องกับการดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพซึ่งจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2557” นายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กล่าวในตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา