สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ดึง สมาคมอบจ.แห่งประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อนไทยเป็น Medical Travel Hub สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่าสูง หนุนเป็นผู้นำ Soft Power โลก

พฤหัส ๑๙ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๑๔:๐๔
นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นประธานการลงนามความร่วมมือระหว่าง สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย โดยมีนางสาวจุลลดา มีจุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบัน และนายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกสมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนามความร่วมมือ เพื่อขยายผลความร่วมมือในการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับการประกอบอาชีพของประชาชนไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งพิธีลงนามความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้นภายในงาน "GHA x TPQI International Seminar : สานพลังสร้าง Medical Travel Hub สู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูง" ซึ่งจัดโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมกับ Global Healthcare Accreditation (GHA) และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

นายนคร ระบุถึงความร่วมมือกับสมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย ว่าเป็นการร่วมกันยกระดับการประกอบอาชีพให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยขับเคลื่อนผ่าน อบจ.ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งเป็นผู้มีจิตสาธารณะในการดูแลประชาชน ควรมีโอกาสได้รับการพัฒนายกระดับความรู้เชิงการแพทย์ในการให้บริการด้วย เพื่อเป็นการรองรับการพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ หรือ Medical Travel Hub ซึ่งเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนการเป็นผู้นำด้าน Soft Power ของโลกตามแนวนโยบายรัฐบาล

ด้านนางสาวจุลลดา ระบุว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ (Wellness and Medical Tourism) จะเป็นช่องทางสำคัญที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงได้ และท้องถิ่น ชุมชน เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวไปถึงจุดหมายนั้น โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญที่ดูแลประชาชนในพื้นที่ครบทุกมิติทั้งด้านความเป็นอยู่ การศึกษา และสุขภาพ ความร่วมมือครั้งนี้จึงจะต่อยอดพัฒนาประชาชนในทุกมิติได้เช่นกัน หลังจากนี้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีแผนขับเคลื่อนร่วมกับ อบจ. ทุกแห่งส่งเสริมให้เกิดการนำมาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้อง ไปพัฒนาผู้ประกอบอาชีพในท้องถิ่น ให้สอดคล้องความต้องการตามบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป เนื่องจากการให้การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพแก่คนในท้องถิ่น เป็นเสมือนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพกำลังคนในการทำงาน ไม่เพียงเท่านั้นสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ การมีช่องทางในการพัฒนาหรือส่งเสริมการประกอบอาชีพใหม่ให้คนเหล่านี้ จะช่วยแก้ปัญหาภาระในครัวเรือน ลดภาระการใช้จ่ายงบประมาณ แต่สามารถเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้สูงวัยเหล่านั้นด้วย

นายบุญชู กล่าวย้ำในนามของผู้ดูแลสุขภาพประชาชนที่มีเจตนารมณ์ขับเคลื่อนให้รัฐบาลมีนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จนกระทั่งถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้อยู่ในความดูแลของ อบจ. โดยมีจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่นำร่องนั้น เชื่อว่าความร่วมมือกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ มีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะกลุ่ม อสม. ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้อื่น ก็ควรอยู่ในฐานะผู้ที่ได้รับการดูแลด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะส่งเสริมอาชีพ หรือพัฒนาให้เขาเหล่านั้นสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีมาตรฐาน จนนำไปสู่การยกระดับค่าตอบแทนให้สูงขึ้น เมื่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ดีขึ้น ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้การขับเคลื่อนตามแนวนโยบายรัฐบาลแข็งแรงในทุกด้านเช่นกัน

ทั้งนี้ในงานยังได้มีการสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ ภายใต้แนวทางการมุ่งการท่องเที่ยวมูลค่าสูง ด้วยการขับเคลื่อนสถานประกอบการในธุรกิจสถานพยาบาล โรงแรม และธุรกิจบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ประโยชน์ในการฝึกอบรมและพัฒนากำลังแรงงานในสถานประกอบการ ซึ่งมีโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นต้นแบบในการนำมาตรฐานอาชีพไปใช้พัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการ ทั้งนี้การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร สาขาการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ อาชีพนักบริหารการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness Travel Facilitator) เป็นการประยุกต์นำมาตรฐานของ GHA ที่ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการบริการสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อการรักษาพยาบาล (Medical Travel) ที่ได้รับการยอมรับจาก World Medical Association ว่าเป็นมาตรฐานที่จำเพาะเจาะจงต่อผู้ป่วยที่เดินทางเพื่อการรักษาพยาบาล และไม่ได้มีเพียงการดูแลผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของการต้อนรับ การบริการผู้ป่วย รวมไปถึงช่วยพัฒนาธุรกิจการให้บริการผู้ป่วยอย่างยั่งยืน จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนมูลค่าสูงให้กับประเทศต่อไปได้

ที่มา: สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ วว. ผนึกกำลัง มรภ.เพชรบุรี พัฒนา วทน. ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร-สร้างระบบนิเวศงานวิจัย
๑๗:๒๙ กทม. แจงจ้างเหมาเอกชนซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองช่องนนทรี หลังสิ้นสุดระยะเวลาค้ำประกัน
๑๗:๔๖ ออปโป้ชวนด้อมไทยส่งข้อความสู่ Boost Your Dreams Box เตรียมต้อนรับ 3 หนุ่ม BSS สู่งาน Boost Your Dreams Together 2
๑๗:๔๒ นนท์ ธนนท์ - อิ้งค์ วรันธร นำทัพศิลปินขี้เหงา มาฮีลใจ ชวนคนเหงาปล่อยจอย ใน LONELY LOUD FEST เปิดจองบัตร Early Bird 30 ก.ค.
๑๗:๕๙ มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรระวัง
๑๗:๒๘ โก โฮลเซลล์ ปักหมุดภาคใต้สาขาแรก ราไวย์ จ.ภูเก็ต แล้ว! ลุยอาณาจักรค้าส่งวัตถุดิบอาหาร สร้างฟู้ด พาราไดซ์
๑๗:๓๗ How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง
๑๗:๒๐ โรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ฉลองเทศกาลวันแม่ ส่งแคมเปญ ชวน ฮักแม่ ด้วยภาษารัก
๑๗:๔๔ เลือกฟิล์มติดกระจกออฟฟิศยังไงให้คุ้มค่าในระยะยาว ?
๑๗:๒๒ 5 เคล็ดลับเลือก Clinic เสริมความงาม ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน