สถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้ 7 สาเหตุที่ประสิทธิภาพแรงงานไทยต่ำ เสนอทางออกด้วยการพัฒนาคลัสเตอร์ในภูมิภาค

พุธ ๒๔ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๐:๓๒
สถาบันอนาคตไทยศึกษาได้เปิดเผยผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับประสิทธิภาพแรงงาน และความสามารถในการแข่งขันซึ่งพบว่า ความสามารถในการแข่งขันของไทยต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนเล็กน้อย แต่ยังตามหลังอีกหลายประเทศ เมื่อเทียบกันในภูมิภาค เนื่องจากต้นทุนแรงงานต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นเร็ว และแซงประเทศเพื่อนบ้านในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ถ้าเราดูที่ต้นทุนค่าจ้างต่อหน่วย (Unit Labor Cost) ของไทย จะพบว่าต้นทุนสูงขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วราว 3% ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคมีต้นทุนถูกลง (อินโดนีเซียลดลง 12%, ฟิลิปปินส์ลดลง 26%) เพราะประสิทธิภาพแรงงานของไทยที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก (2% ต่อปี) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย (3%) เวียดนาม( 4%) และจีน (10%)

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการลงทุนในประเทศที่ต่ำ ไม่มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่จะเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ (Move up value chain) แรงงานมีระดับการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ไม่ตอบโจทย์ของภาคธุรกิจ อีกหลายสาเหตุเป็นเรื่องของโครงสร้างตลาดแรงงาน เพราะแรงงานส่วนใหญ่นั้นยังคงอยู่ในภาคเกษตรที่เป็นภาคที่มีประสิทธิภาพแรงงานต่ำสุด ส่วนแรงงานที่ย้ายออกจากภาคเกษตรนั้น เข้าสู่ภาคบริการที่มีประสิทธิภาพแรงงานเพียงครึ่งหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม มิหนำซ้ำพอย้ายออกมาก็อยู่ในสถานประกอบการขนาดเล็กกว่า 10 คน มาเป็นลูกจ้างรายวัน หรือรายชิ้น มีมนุษย์เงินเดือนในภาคเอกชนเพียง 1 ใน 6 ของกำลังแรงงาน

ซึ่งถ้าจะแก้ปัญหาตามสาเหตุที่ว่ามา ก็ทำได้โดยการเพิ่มงบลงทุนภาครัฐ ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า ซึ่งการแก้ปัญหาแบบนี้เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงกันมานานแล้วแต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อแก้ปัญหาในระดับประเทศคือการขาดการบูรณาการ ขาดความร่วมมือ การมองปัญหาเป็นไซโล จึงควรเปลี่ยนแนวทางแก้ปัญหาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน และการบูรณาการได้ง่ายขึ้น เนื่องจากความรู้จักคุ้นเคยของแต่ละฝ่ายซึ่งต่างก็อยู่ในพื้นที่เดียวกัน และทุกฝ่ายน่าจะเห็นประโยชน์ร่วมกันที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจนกว่า วิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือการสร้างและพัฒนาคลัสเตอร์ใหม่ในภูมิภาค”

การพัฒนาคลัสเตอร์ในภูมิภาคนั้นมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ อย่าง rubber valley ในเมืองซิงเตา ประเทศจีนก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง โคงการนี้ช่วยกระตุ้นการลงทุนจากรัฐและเอกชนเป็นมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ยังเกิดความร่วมมือระหว่างเอกชน กับสถาบันการศึกษาในการผลิต/ฝึกอบรมบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ยางพารามากกว่า 3,000 คนต่อปี รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์วิจัย และแล็บเพื่อรองรับการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตยางในท้องถิ่นได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา
๑๗:๐๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาทร่วมออกหน่วยให้บริการโครงการ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน
๑๗:๐๒ วว. /สปอว. /APCTT จัด Workshop การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
๑๗:๐๐ บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATAV จัดการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567
๑๗:๕๓ คณะนิติศาสตร์ ม.ศรีปทุม เปิดอบรม Generative AI เสริมทักษะนักกฎหมายยุคดิจิทัล