ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ร่วมกับ ส.คุณวุฒิวิชาชีพ จัดนำเสนอผลการมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจช่างถ่ายภาพ

อังคาร ๐๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๕:๔๔
ธุรกิจถ่ายภาพ เป็นธุรกิจที่มีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก จากการสำรวจของเครือข่ายช่างภาพอิสระ ร้อยละ 55 ของช่างภาพไม่ได้มีคุณวุฒิการศึกษาด้านการถ่ายภาพ การจ้างงานเป็นลักษณะพิจารณาแฟ้มสะสมงานและความพอใจ ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานคุณภาพผลงานและมาตรฐานอัตราจ้างที่เหมาะสม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้จัดทำโครงการความร่วมมือกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) แถลงผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ พร้อมกับการมอบเกียรติบัตรให้กับคนในแวดวงธุรกิจถ่ายภาพ ที่ผ่านการทดสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพ ช่างถ่ายภาพทั่วไป และช่างถ่ายภาพบุคคล

การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มคนในแวดวงวิชาชีพด้านการถ่ายภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย ภาคการศึกษานำโดย สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และภาคธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวิชาชีพด้านการถ่ายภาพ อาทิ สมาพันธ์สมาคมการถ่ายภาพแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจการถ่ายภาพ ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสารที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการถ่ายภาพ ตลอดจนนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียง เป็นการดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 และดำเนินงานโดยวิธีการที่ได้ศึกษาจากรูปแบบมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพของหลายๆ ประเทศที่เคยมีการจัดทำโครงการนี้ ตลอดจนการระดมความคิดจากคนในวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารูปแบบมาตรฐานและคุณวุฒิที่เหมาะสมกับบริบทของวิชาชีพนี้ในประเทศไทย ก่อนนำไปออกแบบมาตรฐานอาชีพ จัดระดับคุณวุฒิ ประชาพิเคราะห์ และกระบวนการทดสอบ แล้วทำการทดลองโดยเปิดรับสมัครให้คนในวิชาชีพและผู้ที่สนใจมาทดสอบสมรรถนะของตนเองตามแบบมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพที่จัดทำขึ้นมา ซึ่งมีช่างภาพอาสาสมัครเข้ามาทดสอบจำนวน 31 คน ในคุณวุฒิช่างภาพทั่วไปและช่างภาพบุคคล

โครงการที่จัดทำขึ้นมานี้ จะเข้ามาช่วยกำหนดและยืนยันคุณสมบัติ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ อย่างเป็นรูปธรรมที่จับต้องและเชื่อถือได้ ให้กับผู้ประกอบอาชีพนี้ทั้งระบบตั้งแต่ อาชีพช่างภาพ พนักงานในธุรกิจให้บริการตกแต่งภาพ รับอัดขยายภาพถ่าย และยังช่วยกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามความสามารถ ตรงตามคุณภาพงานระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับงาน โดยเฉพาะกลุ่มช่างภาพอิสระที่มีความสามารถสูงแต่ไม่มีคุณวุฒิการศึกษาด้านการถ่ายภาพ หรือใบรับรองความสามารถในการทำงาน

ในขณะเดียวกันก็ยังจะมีประโยชน์ต่อสถานประกอบการธุรกิจถ่ายภาพ ที่จะรับบุคลากรเข้าทำงาน ก็จะได้รับความเป็นธรรมในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน เพราะผู้ประกอบอาชีพที่ผ่านการรับรองจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพแล้ว ก็จะทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในการรับเข้าทำงานตามสายงาน และระดับที่ผ่านการรับรองโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการฝึกสอนใหม่ ซึ่งมักเป็นปัญหาของสถานประกอบการที่ได้ฝึกสอนบุคลากรจนมีความสามารถดีแล้ว ก็มักจะออกไปทำงานที่ใหม่ที่จ้างงานด้วยอัตราที่สูงกว่า

ผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวัติ เลิศจันทรางกูร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ ได้เปิดเผยถึงผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพธุรกิจถ่ายภาพว่า หลังจากที่คณะทำงานซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจถ่ายภาพทั้งสิ้นได้ร่วมกันทำการศึกษามาร่วม 10 เดือนว่า

คณะทำงาน ได้มีมติร่วมในการกำหนดบทบาทของงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ กลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพ จะประกอบไปด้วย 4 สายงานดังนี้

1. สายงานถ่ายภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 3 หน้าที่ คือ 1. ถ่ายภาพทั่วไป 2. ถ่ายภาพบุคคล 3. ถ่ายภาพสื่อสารมวลชน

2. สายงานผลิตภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 4 หน้าที่ คือ 1. ผลิตภาพ 2. ปรับแต่งภาพ 3. ออกแบบกราฟิก 4. ควบคุมคุณภาพ

3. สายงานจำหน่ายอุปกรณ์ร้านถ่ายภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 4 หน้าที่ คือ 1. ขายอุปกรณ์ 2. บริหารจัดการ 3. บริหารงานบุคลากร 4. ส่งเสริมการตลาด

4. สายงานพัฒนาธุรกิจถ่ายภาพ ประกอบด้วยรูปแบบงาน 2 หน้าที่ คือ 1.จัดฝึกอบรม 2. เผยแพร่องค์ความรู้

เมื่อกำหนดลักษณะบทบาทและหน้าที่ของสายงาน ในกลุ่มอาชีพธุรกิจถ่ายภาพแล้ว คณะกรรมการจึงได้ทำการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานอาชีพของสายงานโดยจัดทำเพียง 2 สายงานก่อน คือ สายงานถ่ายภาพและสายงานผลิตภาพ เป็นโครงการนำร่องในปีนี้

ผลจากการจัดทำมาตรฐานอาชีพ ในสายงานถ่ายภาพและผลิตภาพ เมื่อนำไปจัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพ ก็ได้คุณวุฒิวิชาชีพธุรกิจถ่ายภาพจำนวน 11 คุณวุฒิ ในแต่ละคุณวุฒิก็จะจัดระดับชั้นตามคุณลักษณะการปฏิบัติงาน ที่กำหนดโดยกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติซึ่งมี 7 ระดับ คุณวุฒิวิชาชีพธุรกิจถ่ายภาพ ทั้งสองสายงานในแต่ละคุณวุฒิ ก็มีระดับชั้นที่แตกต่างกัน เริ่มต้นที่ระดับชั้นที่ 2 สูงสุดที่ระดับชั้นที่ 5 เพื่อเป็นเกณฑ์สำหรับนำไปใช้ในการทดสอบสมรรถนะของบุคคลในคุณวุฒิต่างๆ ตามระดับความสามารถ

ผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของโครงการ สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.thaivqphotobusiness.org หรือติดต่อสอบถามได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โทร. 02-287-9634 ,084-6488552

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3