มก. มม. มธ. ประสานความร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาอุดมศึกษาไทยให้มีฐานแน่นยิ่งขึ้น

ศุกร์ ๑๑ สิงหาคม ๒๐๐๐ ๑๕:๑๐
กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--ม.เกษตรศาสตร์
มก. มม. มธ. บันทึกประวิติศาสตร์วงการอุดมศึกษาไทย ผนึกกำลังประสานความร่วมมือทางวิชาการพัฒนาอุดมศึกษาไทยให้มีฐานแน่นยิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2543 ได้มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สูตะบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การประสานร่วมมือกันเพื่อสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมนั้น มีหลักอยู่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1.การมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน ในสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้กำลังต้องการการพัฒนากำลังคนในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์มีฐานที่ต่ำมาก ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจริง ๆ แล้วควรจะมีประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ของบัณฑิตที่จบการศึกษาทั้งหมด แต่การขยายฐานการศึกษาไม่มีทางที่จะทำได้อย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงจะต้องผนึกกำลังกัน แบ่งสายงาน แบ่งหน้าที่ ถึงจะโยงใยระบบการศึกษาได้อย่างทั่วถึง ทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรทางวิชาการมารับใช้สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีขุมกำลังที่จะเป็นที่พึ่งพาของมวลมนุษยชาติ เป็นประโยชน์ทั้งแก่คนไทยและชาวโลกด้วย 2. มีความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน สถาบันแต่ละแห่งจะมีความสามารถพิเศษ มีจุดแข็งเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป ดังนั้น จึงต้องมีความเคารพเลื่อมใสในแง่วิชาการซึ่งกันและกันทั้งในระดับบุคคลและในระดับสถาบัน และ 3. ความเสริมซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญมาก ด้วยความที่แต่ละแห่งมีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน เมื่อมาประสานความร่วมมือกัน จะทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถเอื้อประโยชน์ เสริมความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เรามีความเข้มแข็งมากขึ้น ถือเป็นการเสริมกันอย่างแท้จริง ในการร่วมกันทำประโยชน์แก่สังคม
ด้านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทั้ง 3 สถาบัน ต่างก็มีการพัฒนา และปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่เหมือน ๆ กัน โดยได้มีการขยายฐานการศึกษาออกไปอย่างมากมาย เพื่อรับใช้สังคม ขยายความรู้สู่ชุมชน กระจายไปตามวิทยาเขตต่าง ๆ มากขึ้น กล่าวคือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเชี่ยวชาญในด้านการเกษตร และเทคโนโลยีทางการเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดลเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ สาธารณสุข ส่วนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็จะเชี่ยวชาญในเรื่องของการเมือง การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 3 สถาบันก็ได้มีการร่วมกันทำงานในโครงการต่าง ๆ มาบ้างแล้ว การร่วมมือกันอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ จะนำไปสู่การร่วมมือกันทางวิชาการ และในทุก ๆ ด้านอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทยอย่างแท้จริง
ส่วนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเสริมว่า ในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีส่วนช่วยผลักดันในเรื่องกฎหมายเกษตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จะสามารถช่วยให้การเกษตรเข้มแข็งขึ้น เกษตรกรได้เปรียบมากขึ้น เสียเปรียบน้อยลง ส่วนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาแล้ว 2 ปี ในเรื่องการแพทย์ที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยเน้นในเรื่องของปัญหาสุขภาพที่เกิดกับเกษตรกร เรื่องการป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งจะใช้กีฬาและโภชนาการมาเป็นแกนหลัก จากการลงนามความร่วมมือกันในครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับบุคลากรของทั้ง 3 สถาบัน และประเทศชาติต่อไป--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

เม.ย. ๒๐๒๔ SAK จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.15 บาทต่อหุ้น
๑๕:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๕:๐๖ เคยไหม มีเสมหะ น้ำมูก เสลดเหนียวในคอแม้ไม่ได้เป็นหวัด? วันนี้แพทย์จีนหัวเฉียวมีคำตอบมาฝากทุกท่าน
๑๕:๒๗ สัมผัสเรื่องราวความอร่อยรอบจานจากเมนูดังประจำจังหวัดฟุกุอิ ณ ห้องอาหารญี่ปุ่น สึ
๑๕:๕๑ KTAM ร่วมส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปล่อย 3 กองทุน Thai ESGX IPO 2 - 8 พ.ค.นี้
๑๕:๕๘ DHOUSE แต่งตั้ง 4 บล. ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นกู้มีประกัน ครั้งที่ 2/68 ชูดอกเบี้ย 7.25% พร้อมขาย 6-8 พ.ค. นี้
๑๕:๕๐ ธ.ทิสโก้ จับมือ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย เสริมแกร่ง 'Holistic Advisory' ยกระดับคุณภาพคำแนะนำให้ได้มาตรฐานสากล
๑๕:๒๑ กลุ่มสมอทอง ยื่นไฟลิ่ง ขาย IPO 231.60 ล้านหุ้น เข้า SET ระดมทุน ยกระดับผู้นำอุตสาหกรรมผลิต น้ำมันปาล์มดิบ
๑๕:๓๖ คุรุสภาขับเคลื่อน Thailand Teacher Academy พัฒนาครูด้วยองค์ความรู้เฉพาะด้านอย่างมืออาชีพ
๑๕:๒๑ กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล