อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการชี้สุดท้ายการศึกษาต้องไปอยู่ที่ท้องถิ่น

จันทร์ ๐๔ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๑:๓๔
รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ การจัดการศึกษาโดยท้องถิ่นในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นยาก เพราะศธ.คิดว่าทำได้ดีกว่า เชื่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้มแข็งมีศักยภาพให้ประโยชน์กับคนท้องถิ่นได้ชัดเจน

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ หัวหน้าคณะทำงานปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาพภาวะคนไทย (ปศท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษเรื่อง “การปฏิรูปการศึกษาเพื่อสุขภาวะของเยาวชนไทย: ท้องถิ่นจัดการศึกษาประชาชนได้อะไร” ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยชี้ให้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งของการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในประเทศไทยที่เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก พร้อมมองว่า ในอนาคตการจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กล่าวว่า การจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น สำหรับในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นด้วยความยากลำบาก เพราะกระทรวงศึกษาธิการคิดว่าตนเองทำได้ดีกว่า มีเครือข่ายและระบบการบริหารงานที่ใหญ่ มี 185 เขตการศึกษา มีงบประมาณ 3 แสนล้านบาท มากที่สุด

สำหรับ จุดแข็งของการจัดการศึกษาของอปท. นั้นเกิดขึ้นได้เพราะโรงเรียนมีขนาดเล็ก จำนวนโรงเรียนต่างๆ ที่ต้องดูแลมีจำนวนน้อยกว่าเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริการมีประสิทธิภาพสามารถจัดการหลักสูตรสะท้อนความต้องการของท้องถิ่นได้ดีกว่า และมีทรัพยากรท้องถิ่นสนับสนุน ทั้งเงินอุดหนุนจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ หรือคนที่อยู่ในท้องถิ่นที่ร่วมสนับสนุน ที่สำคัญเห็นผลกลับมาจากการดำเนินงานได้ชัด เร็วกว่า

ส่วนจุดอ่อนของอปท. แต่ละแห่งมีทรัพยากรไม่ทัดเทียมกัน มีระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน บางแห่งมีทรัพยากรมากก็ได้รับเงินอุดหนุนมาก ส่งผลให้คุณภาพและมาตรฐานโรงเรียนแตกต่างกัน ในอนาคตหากทำให้เป็นโรงเรียนของอปท.ได้แล้ว ปัญหาที่ต้องแก้ไขคือทำอย่างไรให้มาตรฐานโรงเรียนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะความต่อเนื่องการสนับสนุนการศึกษาท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงกับการเมือง นายกองการบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ต้องเห็นความสำคัญของการศึกษา มิเช่นนั้นเมื่อเปลี่ยนทีม มองเห็นเรื่องการศึกษาแตกต่างกันไป ที่ทำไว้อาจจะสูญเปล่า

นอกจากนี้ รศ. ดร.วรากรณ์ ยังกล่าวว่า ระบบการศึกษาของไทย มีจุดอ่อน 4 จุด คือ 1.สังคม 2.การปกครอง 3.คุณภาพครู และ 4.คุณภาพคนไทย

“เพราะเนื่องจากความไม่เด็ดเดี่ยวและไม่มีคุณภาพของรัฐบาล เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย และรัฐมนตรีอยู่ตลอดเวลา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว 12 คน เฉพาะปีพ.ศ. 2551 ในปีเดียวเปลี่ยนมาแล้ว 4 คน และรัฐบาลไม่สามารถย้ายโอนครู หรือจัดสรรได้เหมือนกระทรวงมหาดไทย ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนครูในบางพื้นที่ และเกินจำนวนในบางพื้นที่ เกิดภาวะเส้นสายในระบบครูอย่างรุนแรง ทั้งในเรื่องการเลือกคน แต่งตั้งคน ในขณะที่คุรุสภาไม่ได้ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของครูหรือมาตรฐานวิชาชีพครูเลย” รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง