โจนส์ แลง ลาซาลล์ระบุการปรับปรุงอาคารให้รับแรงแผ่นดินไหวได้มากขึ้นสามารถทำได้

อังคาร ๒๙ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๕:๑๔
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่ญี่ปุ่นและพม่า ทำให้มีคำถามตามมาว่า อาคารต่างๆ ในประเทศไทยมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด นายไมเคิล ถัง ผู้อำนวยการฝ่ายบริการบริหารโครงการก่อสร้าง ออกแบบและตกแต่งจากบริษัทโจนส์ แลง ลาซาลล์ ในประเทศไทย กล่าวว่า โดยส่วนใหญ่ อาคารสูงสมัยใหม่ในไทยได้รับการออกแบบให้สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวที่มีความแรงได้มากถึง 5 ริคเตอร์ โดยบางอาคารอาจได้รับการก่อสร้างให้มีความแข็งแรงเกินเผื่อไว้อีก ซึ่งหมายถึงความสามารถในการรับแรงแผ่นดินไหวที่สูงมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นอาคารสูง อาคารขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก บางอาคารยังคงอาจมีความเสี่ยง ทั้งนี้ ทางเดียวที่จะทำให้อาคารเหล่านี้มีความปลอดภัยมากขึ้นจากผลกระทบของเหตุแผ่นดินไหว คือการปรับปรุงอาคารดาวน์โหลดภาพใหญ่

“โดยหลักๆ การปรับปรุงอาคารที่มีอยู่เดิมให้สามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้มากขึ้น คือการปรับปรุงโครงสร้างของอาคารให้มีความแข็งแรงมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความไม่ปลอดภัยและความสูญเสียที่เกิดจากการพังตัวลงขององค์ประกอบอื่นๆ ของตัวอาคารในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก” นายไมเคิลกล่าว

“อย่างไรก็ดี ต้องเข้าใจว่า ปัจจุบัน ยังไม่มีเทคโนโลยีการปรับปรุงอาคารที่สามารถป้องกันอาคารจากผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหวได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การที่เจ้าของอาคารจะต้องการลงทุนมากน้อยเพียงใดในการปรับปรุงอาคาร อาจขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่อาคารตั้งอยู่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวในระดับที่แตกต่างกันไป”

มาตรฐานวิศวกรรมรองรับแรงแผ่นดินที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา (Performance Based Earthquake Engineering: PBEE) แบ่งการปรับปรุงอาคารออกเป็น 4 ระดับ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงอาคาร ได้แก่ 1) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน 2) เพื่อให้โครงสร้างอาคารยังคงอยู่ได้ 3) เพื่อให้อาคารยังคงใช้งานได้ และ 4) เพื่อให้โครงสร้างอาคารไม้ได้รับผลกระทบใดๆ เลย

ในทั้งสี่ระดับ การปรับปรุงอาคารที่มีการทำกันมากที่สุดคือ เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน ซึ่งหมายถึงการป้องกันความสูญเสียต่อชีวิต โดยหลักๆ คือการให้มั่นใจว่า อาคารจะไม่พังถล่มลงมาทับผู้อยู่ในอาคารหรือผู้ที่สัญจรผ่านไปมาในบริเวณใกล้เคียง โดยตัวอาคารจะยังคงสามารถตั้งอยู่ได้ให้ผู้ที่อยู่ในอาคารจะสามารถอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง อาคารเหล่านี้ อาจไม่สามารถปรับปรุงให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก และอาจต้องรื้อทิ้ง

การปรับปรุงอาคารในระดับต่อมาคือ การปรับปรุงให้โครงสร้างยังคงอยู่ได้ โดยหลักๆ คือการให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรง ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายจากแรงแผ่นดินไหว ตัวอาคารจะยังคงตั้งอยู่ได้และมีความปลอดภัยพอที่จะให้ผู้อยู่ในอาคารอพยพออกมาได้ และหลังจากนั้น อาจต้องมีการปรับปรุงซ่อมแซมใหญ่ก่อนที่จะสามารถกลับเข้าไปใช้ประโยชน์ได้

การปรับปรุงอาคารอีกระดับหนึ่ง คือการปรับปรุงให้อาคารแข็งแรงในระดับที่จะเกิดความเสียหายต่ออาคารน้อยที่สุดในกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว โดยอาคารจะยังคงสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งการปรับปรุงอาคารแบบนี้ เป็นการปรับปรุงระดับสูง โดยหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรง อาคารจะต้องการการซ่อมแซมเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

การปรับปรุงอาคารระดับสูงสุด คือการปรับปรุงให้แข็งแรงมากพอที่จะไม่ได้รับความเสียหายเลยจากแรงแผ่นดินไหว ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีการปรับปรุงอาคารที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรม

นายไมเคิลกล่าวว่า “เทคนิคการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับอาคารมีหลายหลายวิธี นังตั้งแต่การเสริมโครงสร้าง เทคนิคการให้อาคารสามารถเลื่อนไปมาบนฐานรากได้ตามแรงไหวของพื้นดิน (base isolator) ะบบการปรับสมดุลย์อาคารโดยอัตโนมัติ (active control system) การยึดจุดเชื่อมต่อต่างๆ ของโครงสร้างอาคารจากภายใน การรัดตัวอาคารจากภายนอก และอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบัน มีการปรับปรุงอาคารเก่าให้รับแรงแผ่นดินไหวได้มากขึ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งการปรับปรุงอาคารในลักษณะนี้ ไม่ได้เป็นข้อกำหนดตามกฎหมาย แต่มีแรงจูงใจหลักด้านส่วนค่าธรรมเนียมประกันภัยอาคาร กล่าวคือ หลังการปรับปรุงอาคาร เจ้าของอาคารจะจ่ายค่าประกันภัยอาคารถูกลง”

“แน่นอนว่า การปรับปรุงอาคารย่อมมีค่าใช้จ่าย ซึ่งเจ้าของอาคารจะลงทุนปรับปรุงอาคารหรือไม่มากน้อยเพียงใด คงขึ้นอยู่กับว่าต้องการสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยในระดับใด และมีความพร้อมในการลงทุนมากน้อยเพียงใด” นายไมเคิลกล่าวสรุป

โจนส์ แลง ลาซาลล์

โจนส์ แลง ลาซาลล์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค เป็นบริษัทบริการมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยให้บริการที่ครบวงจรโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกแก่ลูกค้าที่ต้องการคุณค่าสูงสุดจากการเป็นเจ้าของ ใช้ประโยชน์หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2553 โจนส์ แลง ลาซาลล์มีรายได้ทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 2.9 พันล้านดอลลาร์ จากการให้บริการแก่ลูกค้าใน 1,000 เมืองของ 60 ประเทศ ผ่านสำนักงาน 185 สาขา

ในส่วนของบริการด้านบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ โจนส์ แลง ลาซาลล์มีอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการทั่วโลกรวมมากกว่า 158 ล้านตารางเมตร

โจนส์ แลง ลาซาลล์ เป็นบริษัทผู้ให้บริการครบวงจรด้านอสังหาริมทรัพย์เพียงรายเดียวในประเทศไทยที่นำเสนอบริการบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง ออกแบบและตกแต่ง

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

วินัย ใจทน 02 624 6540 [email protected]

www.joneslanglasalle.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง