ลึกแต่ไม่ลับ...ยกระดับ "ส้วม" ไทย

จันทร์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๑๓ ๑๑:๒๐
“ส้วม” ห้องเล็กๆ สถานที่เล็กๆที่มีอยู่ทั้งในบ้าน นอกบ้าน ในที่สาธารณะ กำลังเป็นประเด็นใหญ่ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทยระยะที่ 3 (พ.ศ.2556—2559) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาส้วมครัวเรือนให้เหมาะสมในการรองรับต่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุ เพื่อให้ประเทศไทยมีส้วมสาธารณะได้มาตรฐาน สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีพฤติกรรมใช้ส้วมสาธารณะที่ถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่าง ถูกหลักสุขาภิบาล

สาระสำคัญของแผนแม่บทฉบับนี้ ก็คือการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนไทยใช้ส้วมแบบ “ส้วมนั่งราบ” ให้ได้ถึง 90% ภายในปี 2559 โดยเริ่มต้นที่การกำหนดให้สถานบริการสาธารณะ 12 ประเภท ประกอบด้วย สถานที่ราชการ โรงพยาบาล โรงเรียน ศาสนสถาน ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า/ ศูนย์การค้า สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีขนส่งทางบก/ทางอากาศ แหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ ส้วมสาธารณะริมทาง มีบริการ “ส้วมนั่งราบ” อย่างน้อย 1 ที่ ครบ 100% ของกลุ่มเป้าหมายภายในปี 2559

ไม่ได้ต้องการยกเลิกการใช้“ส้วมนั่งยอง”...ทั้งประเทศอย่างที่มีการเข้าใจผิดกัน...

เป้าหมายสูงสุดของแผนแม่บทฉบับนี้คือ การทำให้คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะถูกสุขลักษณะอย่างน้อย 90% ของประเทศ, ให้ประเทศไทยมีส้วมสาธารณะที่สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย 90% และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล อย่างน้อย 50% โดยทั้งหมดนี้ต้องเกิดขึ้นภายในปี2559

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข ในฐานะกำกับดูแลกรมอนามัย ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์หลักของ แผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย พ.ศ.2556—2559 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยเห็นความสำคัญของการใช้ส้วมนั่งราบในสถานที่ บริการสาธารณะและในครัวเรือน เพื่อความปลอดภัย ลดการเกิดข้อเข่าเสื่อม หากใช้ส้วมนั่งยองเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ คนอ้วน หญิงตั้งครรภ์ ที่มีประมาณ 600,000-800,000 คนต่อปีด้วย

ขณะ ที่ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยผลสำรวจในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาว่า ส้วมที่ใช้อยู่ในครัวเรือน 86% เป็นส้วมซึม ในจำนวนนี้เป็นส้วมนั่งราบเพียงแค่ 10% เท่านั้น มี 3% ที่มีการใช้ส้วมทั้ง 2 แบบ คือ ส้วมนั่งราบ และส้วมนั่งยองในบ้าน

“ประเด็นปัญหาที่เราพบ ก็คือ การขับถ่ายโดยใช้ส้วมนั่งยองติดต่อกันเป็นเวลานาน มีผลต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากการนั่งยองๆ ขณะขับถ่าย ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ย 5 นาทีต่อคน ทำให้ผิวข้อเข่าเสียดสีกันมาก เส้นเลือดที่เลี้ยงขาถูกกดทับ เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้ขาชา หรืออ่อนแรง อาจหน้ามืด หรือล้มศีรษะฟาดพื้นในห้องส้วมได้” อธิบดีกรมอนามัยบอก พร้อมกับยืนยันว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม และรวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในห้องส้วมโดยเฉพาะผู้สูงอายุมีสถิติที่ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

อธิบดีกรมอนามัยยังบอกอีกว่า นอกจากเรื่องของลักษณะโถส้วมแล้ว ยังมีการรณรงค์ในเรื่องความสะอาด ปลอดภัยของส้วม โดยเฉพาะในเรื่องของการป้องกันการแพร่เชื้อโรคต่างๆ มีการสำรวจพบว่าจุดที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคในส้วมมีถึง 8 จุด คือ 1. ที่จับสายฉีดน้ำชำระ 2. ที่รองนั่งส้วมแบบนั่งราบ 3. ที่กดชักโครกของส้วม 4. ที่กดโถปัสสาวะ 5. ราวจับ 6. กลอนประตูหรือลูกบิด 7.ก๊อกน้ำที่อ่างล้างมือ และ 8. พื้นห้องส้วม ซึ่งต้องเน้นให้มีการทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคโดยเฉพาะ อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ และอหิวาตกโรคมากที่สุด

ด้าน นพ.ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ส้วมนั่งราบ และชักโครกไม่ถึง 20% โดยเฉพาะในต่างจังหวัดส่วนใหญ่มักจะเป็นส้วมนั่งยอง ซึ่งการเสนอแผนแม่บทของกรมอนามัยเป็นเพียงการเสนอแนะ รณรงค์ สื่อสารสาธารณะให้มีการใช้ส้วมนั่งราบหรือชักโครก โดยเฉพาะในกรณีที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน แต่ไม่ได้ออกกฎหมายบังคับว่าทุกบ้านต้องเปลี่ยนเป็นส้วมนั่งราบทั้งหมด

ที่ ผ่านมา มีการออกกฎหมายบังคับให้ปั๊มน้ำมันและสถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีส้วมนั่ง ราบอย่างน้อย 1 ห้อง ไม่ใช่ให้มีทุกห้อง ส่วนกฎหมายใหม่เพิ่มสถานที่สาธารณะอีก 12 แห่งเข้าไป แต่ก็ให้มีอย่างน้อย 1 ห้อง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกห้องเช่นเดียวกัน แต่ถ้าที่ใดเห็นว่าควรมีมากกว่า 1 ห้องก็เป็นเรื่องที่ดี โดยตั้งเป้าให้เป็นไปตามแผนฯ ภายในปี 2559

ทั้งนี้ จากการสำรวจของกรมอนามัยปี 2555 พบว่าประชาชน 67.1% ต้องการให้ส้วมสาธารณะมีโถส้วมแบบนั่งราบ โดยส้วมสาธารณะที่ประชาชนเลือกใช้บริการมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ปั๊มน้ำมัน 46% แหล่งท่องเที่ยว 39.4% และสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ 36.5%ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้ส้วมสาธารณะ 80.8% เลือกที่ความสะอาดของส้วม...ส่วนสิ่งที่ประชาชนต้องการให้มีการปรับปรุงมากที่สุด 76.7% คือ เรื่องกลิ่นเหม็นและความสกปรก.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๒ นศ.มทร.ธัญบุรี คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมด้านแบตเตอรี่
๑๓:๓๖ PIMO-ไพโม่ ปักธง!! ผลิตม่านอากาศ-ม่านตัดอากาศ
๑๓:๕๙ Kind Jugend ASEAN 2024 มหกรรมสินค้าแม่และเด็กแห่งอาเซียน งานแรกและงานเดียวรวมนวัตกรรมสุดล้ำจากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลกกว่า 300
๑๓:๐๙ บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด ฉลองครบรอบ 30 ปี ของการดำเนินธุรกิจสินเชื่อรายย่อยในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด ขับเคลื่อนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า Ride for
๑๓:๓๑ เปิดตัว TITAN MINIMAL ART 2024 COLLECTION กับแบรนด์ Silhouette สุดยอดนวัตรกรรมจากประเทศออสเตรีย
๑๓:๔๗ JT Express Thailand แชร์เรื่องราวสุดประทับใจ 'บอย' ศุภโชค เมฆกิจ ชายผู้เป็นเบื้องหลังส่วนหนึ่งความสำเร็จ JT Behind Your
๑๓:๔๗ C.M.S. Korea Trade จัดงาน Chungbuk Food Exhibition Trade Fair 2024 ในวันที่ 4 - 5 มิถุนายน 2567 @ Swissotel Bangkok
๑๓:๓๑ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต
๑๓:๕๗ FTI เปิดเกมลุย! ดันผลงานโตไม่หยุด
๑๓:๕๓ โฮมโปร x เมกาโฮม ทุ่ม 300 ล้านบาท เปิดตัวโมเดลไฮบริด 'ครบ จบ เรื่องบ้าน x งานช่าง' จ. อุดรธานี เพิ่มความหลากหลายรองรับตลาดอีสานเหนือโตต่อเนื่อง