รุกเมืองเกษตรสีเขียว สศข.3 เดินหน้าฉลากคาร์บอนสินค้าข้าวจังหวัดหนองคาย

จันทร์ ๐๖ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๐๘
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 เร่งเครื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร ภายใต้โครงการเมืองเกษตรสีเขียว ชู ปี 57 ขับเคลื่อนโครงการและออกสลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดหนองคาย เผย เกษตรกรยังต้องการให้มีการส่งเสริมการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในสินค้าข้าวเช่นเดิมในทุกสายพันธ์ในของปี 58

นายฉัตรชัย เต้าทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 อุดรธานี (สศข.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่ สศข.3 ได้ดำเนินงานโครงการเมืองเกษตรสีเขียว(Green Agriculture City) พื้นที่จังหวัดหนองคาย นั้น สศข.3 ได้เห็นว่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นประเด็นการค้าสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศอาจจะต้องมีฉลากแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปริมาณใช้น้ำ ประกอบกับทิศทางการพัฒนาประเทศที่จะมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ จึงจัดทำโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์สินค้าเกษตร โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ของสินค้าเกษตรที่สำคัญ และส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสนใจและมีศักยภาพในการจัดทำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์จดทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์กับองค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจกด้วย

ในเรื่องดังกล่าว สศข.3 ได้ดำเนินการจัดสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งหมด 3 ครั้ง และทำการศึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร ชนิดข้าวขาวดอกมะลิ 105 อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย เพื่อดำเนินการออกฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และสร้างความตระหนักรู้แก่เกษตรกร ซึ่งนับว่าได้ผลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้อง และเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลวัฎจักรคาร์บอนของสินค้าข้าวของจังหวัดหนองคายอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ผลการประเมินการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร ภายใต้โครงการเมืองเกษตรสีเขียว เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ณ โรงแรมแกรนด์ พาราไดซ์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่า เกษตรกร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย มีความคิดเห็นว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์เกษตร ภายใต้โครงการเมืองเกษตรสีเขียวมีประโยชน์ต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจของไทย และยังต้องการให้มีการส่งเสริมการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของปีถัดไปในสินค้าข้าวเช่นเดิม (ทุกสายพันธ์) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71 รองลงมา คือ ข้าวโพดหวาน ร้อยละ 10 ส่วนพืชอื่นได้แก่ อ้อย ยางพารา และสับปะรด ร้อยละ 19 ซึ่งนับว่าเกษตรกรนั้นให้ความสำคัญ และตื่นตัวต่อสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้บริโภคมีสุขอนามัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งจะเป็นสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าและตลาดต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคตต่อไป นายฉัตรชัย กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหกรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5