ความคืบหน้าเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3)

ศุกร์ ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๑๒
ในวันนี้ (14 กรกฎาคม ๒๕๕๘) เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์ พิเศษ วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

ตามที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 (United Nations Convention against Corruption : UNCAC) ทำให้มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในของประเทศไทย เพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาซึ่งเป็นมาตรฐานสากล การที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเรื่องความพยายามและความจริงจังในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตรวมถึงการแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีกลไกในการขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น

1. เรื่องอายุความ

ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 74/1 กำหนดให้ในการดำเนินคดีอาญาตามพรป. ป.ป.ช. ถ้าผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีไปในระหว่างถูกดำเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาของศาล อายุความจะสะดุดหยุดอยู่ และเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยแล้ว ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ จะไม่นำเรื่องอายุความมาใช้บังคับ

การแก้ไขนี้มิได้เป็นการขยายอายุความในคดีทุจริตแต่อย่างใด แต่เป็นการยกเว้นมิให้นับอายุความในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีเท่านั้น ซึ่งหลักการนี้ได้บัญญัติไว้ในพรป. ป.ป.ช. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554) อยู่แล้ว โดยกฎหมายใหม่ได้เพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมถึงการดำเนินคดีอาญาในทุกขั้นตอน ทั้งในกระบวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริง กระบวนการฟ้องคดี กระบวนการพิจารณาของศาล รวมถึงกระบวนการภายหลังศาลมีคำพิพากษาด้วย

2. การกำหนดฐานความผิดสำหรับนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่

ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/5 วรรค 2 กำหนดให้มีฐานความผิดเฉพาะสำหรับนิติบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนเจ้าหน้าที่ขึ้น เนื่องจากผลโยชน์ที่เกิดจากการให้สินบน เช่น การได้รับสัมปทาน หรือโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ แท้จริงแล้วผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการติดสินบนดังกล่าวก็คือนิติบุคคลนั้นเอง กฎหมายใหม่จึงกำหนดให้นิติบุคคลมีความผิดถ้าคนที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล เช่น ลูกจ้าง ตัวแทน ได้ให้สินบนเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ไทยหรือต่างประเทศ และทำไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลนั้น โดยนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน โดยมีการกำหนดโทษเป็นโทษปรับเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของนิติบุคคลที่ไม่อาจรับโทษจำคุกได้ โดยมีอัตราโทษปรับจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่นิติบุคคลนั้นได้รับ ซึ่งกรณีที่เป็นการให้สินบนในโครงการขนาดใหญ่อาจทำให้มีโทษปรับทางการเงินเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท โดยมาตรการลงโทษทางการเงินนี้จะทำให้รัฐได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อเอาประโยชน์ที่นิติบุคคลไม่ควรได้กลับคืน และเพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำความผิด

3. บทกำหนดโทษสำหรับความผิดกรณีเรียกรับสินบน

ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/2 กำหนดบทลงโทษกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐไทย เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เรียกรับสินบน โดยมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต ซึ่งโทษประหารชีวิตนั้นมีกำหนดอยู่แล้วตามฐานความผิดกรณีเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งตามกฎหมาย ที่แก้ไขใหม่นี้ได้กำหนดตัวผู้กระทำความผิดเพิ่มเติม คือ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ และยกบทกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้ มีการปรับเปลี่ยนแค่ในส่วนของอัตราโทษปรับที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความเหมาะสม

4. ฐานความผิดเจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศเรียกรับสินบน

ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/2 ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศหรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ มีความผิดหากมีการเรียกรับสินบน ซึ่งเป็นการกำหนดฐานความผิดเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญา UNCAC และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ ตามหลักความผิดอาญาสองรัฐ (Dual – Criminality)

๕. หลักการริบทรัพย์ตามมูลค่า (Value- Based Confiscation)

ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 123/6 – 123/8 กำหนดให้การริบทรัพย์ในคดีทุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินที่ได้มาแทนเนื่องจากมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแปลงสภาพทรัพย์ไป และในกรณีที่ไม่สามารติดตามทรัพย์คืนมาได้ หรือการติดตามเป็นไปได้โดยยาก ศาลสามารถกำหนดมูลค่าของทรัพย์สิน และให้มีการชำระเป็นเงินหรือริบทรัพย์อื่นที่มีมูลค่าเท่ากันได้ หลักการนี้จะเป็นการสกัดการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๕ เดอะมอลล์ กรุ๊ป จับมือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดตัว Cross-Border QR Payment
๑๕:๔๓ บางกอกแลนด์ เปิดตัว ล้งทุเรียน @ตลาดสดรวมใจ เมืองทองธานี ศูนย์จำหน่ายทุเรียนส่ง-ปลีกแห่งแรกในจ.นนทบุรี
๑๕:๑๓ ก้าวสู่ปีที่ 17 อาเวอรี่ แอนด์ โค สุดยอดเอเจนซี่หนึ่งในผู้บุกเบิกการสร้าง Branding ของเมืองไทย
๑๕:๔๓ แสนสิริ ครองเจ้าตลาดบ้านและทาวน์โฮมทำเลราชพฤกษ์ ครอบคลุมตลอดเส้น พร้อมเคาะราคาใหม่ยกโซน ลดสูงสุด 3 ลบ.*
๑๕:๔๓ Levi's(R) และ ERL กับคอลแลปคอลเลกชันครั้งที่ 2 วางจำหน่าย 9 พฤษภาคม นี้
๑๕:๑๗ ณัฐ ยนตรรักษ์ ศิลปินไทยคนแรกที่ได้รับมอบเหรียญอิสริยาภรณ์ Bene Merito จากสาธารณรัฐโปแลนด์
๑๕:๔๒ ศึกทัวร์นาเมนต์ ยู-16 และ ยู-18 'แอสเซทไวส์ สยามกีฬา คัพ 2024' เข้มข้นตอกย้ำกระแสความแรง
๑๕:๑๘ เคทีซีส่งมอบไฟล์หนังสือเรียน ภายใต้โครงการ พิมพ์ Prove เพื่อน้องผู้พิการทางสายตา
๑๕:๓๕ บัตรเครดิต กรุงศรี ชวนเที่ยว ช้อปรอบโลก ใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศ รับเครดิตเงินคืนรวมสูงสุด 43,000 บาท
๑๕:๐๔ CMC เร่ง เดอะ เคลฟ ริเวอร์ไลน์ เจ้าพระยา - วงศ์สว่าง รับรู้รายได้ 1,200 ล้านบาท ก.ค. นี้