เงินอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว: คนไทยใช้เงินสดน้อยลงและสนใจทำธุรกรรมการเงินผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น – วีซ่าเผย

พุธ ๐๒ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๐๑
ผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2558 ของวีซ่า เผยการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ยังไปได้ดี เพราะแรงขับเคลื่อนของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ไบโอเมตริกซ์ (Biometric)[1]

ในปัจจุบันคนไทยพกเงินสดน้อยลงกว่าห้าปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการใช้จ่ายผ่านบัตรสูงขึ้น และการจับจ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างต่อเนื่องก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญด้วยที่ทำให้การยอมรับและเปิดใจในการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้ด้วยดี นี่เป็นผลจากการสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2558[2] ของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study 2015)

ผลสำรวจฉบับนี้ได้ศึกษาทัศนคติ และพฤติกรรมการชำระเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเทรนด์สำคัญของผู้บริโภคจากหกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย[3]

โดยรวมแล้ว การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตเพราะมากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามนิยมใช้บัตรในการชำระเงินมากกว่าเงินสด (52 เปอร์เซ็นต์) และตั้งใจที่จะหันมาเลือกใช้การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดในอนาคต (55 เปอร์เซ็นต์) อาทิ บัตรเครดิตผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่ามากกว่าหนึ่งในสี่ (26 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามพกเงินสดน้อยลงจากห้าปีก่อน

หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคพกเงินสดน้อยลง มาจากเรื่องของความเสี่ยง ด้วยคนไทยจำนวนมากถึงหกในสิบ เชื่อว่าการพกเงินสดไม่ปลอดภัย (57 เปอร์เซ็นต์) โดยคนไทยถือเงินสดเฉลี่ย 2,094 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเงินที่พกติดตัวในปี พ.ศ. 2557[4] เฉลี่ย 2,426 บาท แสดงให้เห็นว่า มีจำนวนลดลงถึง 332 บาท ขณะที่จำนวนบัตร (ยกเว้นบัตรเอทีเอ็ม) ที่พกพาต่อคนยังคงเท่าเดิมที่ 2 ใบต่อคน

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า "เราได้เห็นโอกาสอันดีจากผลสำรวจนี้ในการลดการใช้เงินสดและการเพิ่มการรับบัตรในการใช้จ่ายออนไลน์ ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่คนพกเงินสดลดลงในแต่ละวันเป็นเพราะมีร้านค้าที่เปิดรับบัตรมากขึ้นโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งในปีนี้เองวีซ่าได้ร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรในการเพิ่มจุดรับบัตรมากกว่า 1,000 จุดแค่เฉพาะในภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมีการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นผ่านทางคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ซึ่งมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด"

ศักยภาพของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยอยู่ในระดับสูงและเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เติบโตขึ้น ประเทศไทยนั้นมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 29 เปอร์เซ็นต์[5] แต่ยังมีการเข้าถึงอีคอมเมิร์ซในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ใกล้เคียงกัน แม้ว่าสัดส่วนของผู้ถือบัตรที่ใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ยอดการทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือและแท็บเล็ตกลับมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยสมาร์ทโฟนกลายเป็นเครื่องมือสำหรับชำระเงินอันดับแรกของหลายคน

"ถึงแม้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับ บัตรชมภาพยนตร์ และการชำระค่าสินค้า บริการ และสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี่เป็นตัวแปรสำคัญในการเติบโตของตลาดออนไลน์เพราะมีส่วนแบ่งการชำระเงินต่ำ แต่มียอดการใช้จ่ายถี่ โดยสัดส่วนที่สูงขึ้นของการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทำให้เราเห็นโอกาสเติบโตอันดีในอนาคต" นายสุริพงษ์ กล่าวเสริม

อัตราของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยที่ระบุว่าตนซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้งเพิ่มขึ้นจาก 64 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมาเป็น 66 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยมีระยะเวลาในการช้อปปิ้งออนไลน์ต่อครั้งนานประมาณ 46 นาที ซึ่งเหตุผลหลักๆที่พวกเขาเลือกซื้อสินค้าออนไลน์เป็นเพราะว่า มีการจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าโดยตรง (40 เปอร์เซ็นต์) ความสะดวกสบาย (37 เปอร์เซ็นต์) มีราคาที่ดีกว่า (15 เปอร์เซ็นต์) และมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย (8 เปอร์เซ็นต์)

ในขณะที่การชำระเงินที่ร้านค้าและช่องทางดิจิตอลอยู่ในช่วงที่กำลังบรรจบกัน คนไทยที่ตอบแบบสอบถามได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจในเทคโนโลยีการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ โดยหนึ่งในแปดของผู้ตอบแบบสอบถามสนใจการชำระเงินแบบไร้สัมผัส[6] (contactless payment) จำพวกอุปกรณ์สวมใส่ไฮเทค หรือ wearable (83 เปอร์เซ็นต์) และชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนเมื่อซื้อสินค้าที่ร้านค้า (81 เปอร์เซ็นต์)

"เมื่อประติดประต่อปัจจัยต่างๆเข้าด้วยกัน เทคโนโลยีเหล่านี้ที่จริงแล้วมีการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถชำระเงินในร้านค้าภัตตาคารต่างๆได้ด้วยแอพพลิเคชันส์ eWallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในสมาร์ทโฟน คุณสามารถชำระเงินแบบไร้สัมผัสด้วยผลิตภัณฑ์อย่าง วีซ่า เพย์เวฟ ที่สามารถใช้ได้ในร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ รวมไปถึงระบบรับรองตัวตนไบโอเมตริกซ์ก็ใช้กันอยู่แล้วเช่นการล็อกอินด้วยรอยนิ้วมือก็สามารถทำได้แล้วในสมาร์ทโฟนหลายๆรุ่น ขณะนี้เรามีทุกอย่างพร้อมแล้วเพื่อรองรับการเจริญเติบโตก้าวต่อไปของการชำระเงินระบบอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีพร้อม ผู้บริโภคพร้อม อยู่ที่ว่าเมื่อไหร่แค่นั้นเอง" นายสุริพงษ์ กล่าวปิดท้าย

[1] ไบโอเมตริกซ์ (Biometric) ในการชำระเงินคือการพิสูจน์ตัวตนโดยใช้ลักษณะทางกายภาพ เช่น ลายนิ้วมือ นอกเหนือหรือพร้อมลายเซ็นต์

[2] การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของวีซ่า จัดทำโดยบริษัท Acorn ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฏาคม 2558 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 3,000 คน จากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม โดยผู้ที่ร่วมทำแบบสอบถามเป็นชายและหญิงอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปที่มีบัตรชำระเงินอย่างน้อยหนึ่งใบและมีการใช้จ่ายผ่านบัตรอย่างสม่ำเสมอ

[3] ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม

[4] ผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2557[4] ของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study 2014) จัดทำโดยบริษํท BlackBox Research ในเดือนกรกฏาคม 2557 ในนามของวีซ่า โดยมีจำนวนผู้ทำแบบสอบถามในหกประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เท่ากับการสำรวจในปีนี้

[5] Internet Live Stats (www.InternetLiveStats.com) ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2014 โดยประมาณการ

[6] ผู้บริโภคสามารถชำระเงินในรูปแบบไร้สัมผัสได้ด้วยการวางอุปกรณ์ที่ใช้บนเครื่องรับการชำระเงิน ในปัจจุบันมีให้บริการอยู่สองรูปแบบในประเทศไทยได้แก่บัตรวีซ่า เพย์เวฟ และสติกเกอร์ แต่ยังมีรูปแบบการชำระเงินในรูปแบบแอพพลิเคชันส์ อย่าง แอปเปิล เพย์ (Apple Pay) และแอนดรอยด์เพย์ (Android Pay) ที่สามารถใช้ชำระค่าใช้จ่ายได้ที่เครื่องชำระเงิน ณ จุดขายที่มีเครื่องหมายวีซ่า เพย์เวฟ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหกรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5