ปูพรมพื้นที่บุณฑริก สศท.11 ศึกษาข้อมูล เนื้อที่-ต้นทุน-รายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

อังคาร ๒๙ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๔๐
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 แจงผลศึกษาข้อมูลบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ระบุพื้นที่เหมาะสม-ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว เผยต้นทุนการผลิตและรายได้ของเกษตรกร แนะบริหารจัดการปรับปรุงบำรุงดิน และพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสู่การลดต้นทุน

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 จังหวัดอุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาข้อมูล "การศึกษาการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี" โดยวิเคราะห์ศักยภาพทางกายภาพและเศรษฐกิจ ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกข้าว ปี 2558 เพื่อเป็นฐานข้อมูลแนวทางในการวางนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน

ผลการศึกษา พบว่า อำเภอบุณฑริก มีเนื้อที่ความเหมาะสมของดินสำหรับปลูกข้าว รวมทั้งสิ้น 283,285 ไร่ โดยแยกเป็นดินสำหรับการปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมมาก (S1) จำนวน 1,588 ไร่ เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 30,209 ไร่ เหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 195,716 ไร่ ไม่เหมาะสม (N) จำนวน 55,772 ไร่

เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่เหมาะสมมากและปานกลาง รวม 3,200 บาท/ไร่ จำแนกเป็นต้นทุนผันแปร 2,196 บาท/ไร่ ต้นทุนคงที่ 1,004 บาท/ไร่ ปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 332 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย 12.2 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรมีรายได้หรือผลตอบแทนจากการผลิต 4,053 บาท/ไร่ ซึ่งเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วจะได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 852 บาท/ไร่

สำหรับพื้นที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวนาปี รวม 2,631 บาท/ไร่ จำแนกเป็นต้นทุนผันแปร 1,627 บาท/ไร่ และเป็นต้นทุนคงที่ 1,004 บาท/ไร่ มีปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย 289 กิโลกรัม/ไร่ ด้านราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ย 11.78 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้หรือผลตอบแทนจากการผลิต 3,409 บาท/ไร่ และเมื่อหักต้นทุนการผลิตแล้วได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 778 บาท/ไร่

ทั้งนี้ เขตอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง ที่ดอน การบริหารจัดการน้ำยังมีประสิทธิภาพไม่ทั่วถึง และพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ส่งผลให้ทำนาได้ 1 ครั้ง/ปี ซึ่งแนวทางพัฒนา คือ บริหารจัดการปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มสารอินทรีย์วัตถุใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดิน วิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน โดยวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่การปลูกพืช เช่น ยางพารา และมันสำปะหลัง อีกทั้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากเป็นอินทรีย์วัตถุที่ช่วยปรับโครงสร้างดิน ตลอดจนจัดถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ ลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ซึ่งท่านที่สนใจผลการศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สศท.11 โทร. 045 344 654 หรืออีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ หาดทิพย์ มอบรถรถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน ให้โรงพยาบาลท่าโรงช้าง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ประสบเหตุและประสบภัยด้านสุขภาพ
๑๗:๐๓ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เดินหน้าแผน Circular Economy ลุยโปรเจกต์ Urban Mining สู่การสร้างวัสดุทดแทนชิ้นส่วนรถยนต์ในขั้นตอนการผลิต
๑๗:๓๒ บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป เล่นใหญ่ เสิร์ฟพิซซ่า ร่วมเฉลิมฉลอง Bitcoin Pizza Day
๑๗:๑๑ GRAND - PF - SUMITOMO ผนึกกำลัง เปิด Grande Lounge ใจกลางเมืองห้างเอ็มโพเรียม ตอบรับกระแสนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ
๑๗:๒๓ FTI ล็อคเป้ารายได้ปีนี้ 930 ลบ. Q1/67 โกยแล้ว 195.91 ลบ. ชูกลยุทธ์ขยายสาขา-กำลังผลิต-ร่วมทุน ดันรายได้โต 3
๑๗:๔๔ เชฟชุมพล จับมือ ททท. ยกขบวน Soft Power อาหารไทยและการท่องเที่ยว ลุยโปรโมทในงาน สงกรานต์มินนิโซตา
๑๗:๐๕ ว.การบินและคมนาคม SPU เปิดประสบการณ์จริง! เรียนรู้แบบเจาะลึก การปฏิบัติงานภาคพื้น กับมืออาชีพสายการบิน
๑๗:๑๘ ยัวซ่า ร่วมสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนไทยแลนด์ ยูธ คัพ ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีกรมหมื่นสุทธนารีนาถ
๑๗:๑๖ เมสัน ร่วมปล่อยเต่าทะเล ในวันเต่าโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ตอกย้ำแนวคิด MASON BETTER TOGETHER - GIVING TOGETHER
๑๗:๓๔ EKH ส่งสัญญาณ Q2 โตแกร่ง ผู้ป่วย OPD - IPD-ศูนย์ IVF - รพ.คูนหนุนเต็มเหนี่ยว ปักหมุดลุยธุรกิจสุขภาพไม่ยั้ง มั่นใจปั๊มผลงานโตไม่ต่ำกว่า