สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเผยโฉมนวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืน

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๓๐
ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 คณะนักวิจัยภายใต้ชื่อ NATS ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ได้เปิดตัวนวัตกรรมการบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล ซึ่งประกอบด้วย รถดูดส้วมอัจฉริยะที่แยกกากของแข็งออกจากของเหลว ส้วมไซโคลนที่อาศัยแรงโน้มถ่วงในการแยกสิ่งปฏิกูล การปรับบ่อเกรอะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดสิ่งปฏิกูลก่อนระบายน้ำออกสู่ธรรมชาติ และ ส้วมที่ใช้ระบบพลังงานความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัด ซึ่งนวัตกรรมที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากการทำงานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์

ในการแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญของคณะนักวิจัย รศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ กล่าวว่า "นวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยยกระดับการจัดการด้านสุขาภิบาล ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้จะได้มีการนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไปเผยแพร่ในประเทศกลุ่มเอเชียและทวีปแอฟริกา โดยขณะนี้ได้มีการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทั้งในประเทศไทยและในประเทศเวียดนาม และกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับประเทศอินเดียเพื่อใช้รณรงค์ในโครงการคลีนอินเดีย ซึ่งมีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ"

นอกจากนี้ ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า วัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ คือการกำจัดของเสีย ณ แหล่งกำเนิด เพื่อลดภาระในการขนส่งสิ่งปฏิกูลไปยังสถานบำบัดน้ำเสีย "แนวคิดในการบำบัดสิ่งปฏิกูล ณ แหล่งกำเนิด เป็นการกระจายการบำบัดสิ่งปฏิกูล ออกจากศูนย์กลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการขนส่งสิ่งปฏิกูลในระยะไกล"

ดร.ดูไล โคเน่ (Dr.Doulay Kone) รองผู้อำนวยการของ Water, Sanitation and Hygiene (WASH) มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ กล่าวว่า "สถาบันเอไอทีเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิฯ เมื่อปี พ.ศ. 2554" "ทันทีที่เทคโนโลยีเหล่านี้มีความพร้อม เราจะนำไปใช้ในทั้งทวีปเอเชียและแอฟริกา" ดร.โคเน่ กล่าว

นวัตกรรมทั้งสี่ประเภทดังกล่าว ได้แก่ Zyclone cube ซึ่งเป็นส้วมที่ใช้หลักแรงโน้มถ่วงและหลักการของพายุหมุนในการแยกสิ่งปฏิกูลที่เป็นของเหลวและของแข็งออกจากกัน รวมทั้งมีการฆ่าเชื้อโรคโดยการใช้ความร้อน ซึ่งผลพลอยได้ คือกากสิ่งปฏิกูลที่ฆ่าเชื้อแล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยที่ปลอดเชื้อโรคได้

รถดูดส้วมอัจฉริยะ เป็นนวัตกรรมรถบรรทุกที่ประกอบด้วยระบบคัดแยกของแข็งและของเหลวจากสิ่งปฏิกูลรวมไปถึงระบบกำจัดเชื้อโรค ซึ่งช่วยลดค่าขนส่งและบำบัดของเสีย ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการกากสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้จากการนำกากของเสียกลับไปใช้ใหม่ต่อไป

ระบบ " Cess to Fit System" เป็นเทคโนโลยีที่นำไปติดตั้งในบ่อเกรอะเดิมที่มีอยู่ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่บ่อเกรอะเดิม ซึ่งจะทำการเก็บกักและบำบัดกากปฏิกูลก่อนที่จะปล่อยสู่ธรรมชาติถังบำบัดสิ่งปฏิกูลพลังแสงอาทิตย์ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในถังบำบัด ซึ่งจะความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพของสารอินทรีย์ ทำให้ของเสียที่อยู่ในบ่อบำบัดมีคุณภาพดีขึ้น รวมทั้งสามารถฆ่าเชื้อโรค และลดกากปฏิกูลที่สะสมจะลดลง 50% เมื่อเทียบกับบ่อบำบัดแบบดั้งเดิม

ดร. ธรรมรัตน์ กล่าวในงานแถลงข่าวว่า นวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่ผู้นำในด้านเทคโนโลยีสำหรับระบบสุขาภิบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น "เราได้เริ่มขั้นตอนสำหรับการผลิตนวัตกรรมเหล่านี้เพื่อใช้ในประเทศเวียดนาม และเรากำลังเจรจากับทางอินเดียเพื่อใช้รณรงค์ในโครงการคลีนอินเดีย"

ดร.ธรรมรัตน์ยังเสริมอีกว่าแม้ประเทศไทยจะมีตัวเลขการเข้าถึงบริการด้านสุขาภิบาล แต่ตัวเลขของการบำบัดสิ่งปฏิกูลยังเป็นที่น่าวิตก ในประเทศไทยมีการปล่อยของเสียสิ่งปฏิกูลจำนวน 60,000 ตันต่อวัน แต่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธีเพียง 4,500 ตันต่อวันเท่านั้น (คิดเป็นจำนวนน้อยกว่า 10%) "นวัตกรรมทั้งหมดนี้มีเป้าหมายที่จะแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว โดยเน้นการบำบัดของเสีย ณ แหล่งกำเนิด" ดร.ธรรมรัตน์ กล่าวต่อ

"โครงการนี้เริ่มอย่างเป็นทางการในงานเปิดตัว ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อ "การจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืนแบบกระจายออกจากศูนย์กลาง" โดยมีภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการของ สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนาของสถาบันเอไอทีเป็นผู้ดำเนินโครงการงานวิจัยภาคสนาม ซึ่งมีระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2560 มีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญกว่า 50 คนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ยุโรป แอฟริกาและอเมริกาใต้ มีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าว

รายละเอียดเกี่ยวกับ Naturally Acceptable and Technological Sustainable (NATS) Toilet สามารถดูได้ที่ลิงค์ http://natstoilet.com/

สนใจรายละเอียด โปรดติดต่อ ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ Email: [email protected] โทร. 02-524-6188

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง