นศ.ครุ มรภ.สงขลา สวมวิญญาณครู “พี่สอนน้องให้อ่านเขียน” ช่วยเด็กสนุกกับการเรียนรู้ ลดการลาออกจาก รร.

พุธ ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๓๙
นักศึกษาครุศาสตร์ มรภ.สงขลา กลุ่มครูไทยใจเกินร้อย สนองนโยบายกระทรวงศึกษาฯ ผุดโครงการพี่สอนน้องให้อ่านเขียน เพิ่มความมั่นใจ ลดจำนวนเด็กทิ้งการเรียนหันไปประกอบอาชีพใช้แรงงาน

ดร.มนตรี เด่นดวง อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวัดผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพี่สอนน้องให้อ่านเขียน เปิดเผยว่า โครงการพี่สอนน้องฯ เป็นผลงานของนักศึกษากลุ่มครูไทยใจเกินร้อย ประกอบด้วย 1. น.ส.สุพัตรา โชติมณี 2.น..ส.ซูไวบะห์ สาแม 3. น.ส.ภัทราพันธุ์ พูลเอียด 4. นายฐิติวงศ์ แทบทับ และ5. นายประสิทธิ์ มุสิโก ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล โดยสงขลาฟอรั่ม มีที่มาจากการสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่สำรวจมาตรฐานการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั่วประเทศ พบว่ามีเด็กอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ จำนวน 26,000 คน กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศนโยบายให้ปี 2558 เป็นปีแห่งการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งจากการลงพื้นที่โรงเรียนวัดท่านางหอม พบปัญหาผู้เรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในทุกระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เกิดจากความไม่สนใจใฝ่รู้ของผู้เรียน อีกทั้งยังมีพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่าง นอกจากนี้ ยังพบว่าเทคนิคและวิธีการสอนของผู้สอนไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ มากมาย ส่งผลให้ผู้เรียนขาดทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่านและเขียน จึงไม่สามารถต่อยอดวิชาอื่นได้ เนื่องจากภาษาไทยเป็นวิชาพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกวิชา หากเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ไม่สามารถมีความเข้าใจในวิชาอื่นเช่นกัน จะติดต่อสื่อสารเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ยากลำบาก ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเด็กเหล่านี้ต้องถูกมองว่าเป็นเด็กไม่เก่ง ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ จนอาจทำให้เกิดการลาออกของผู้เรียน เพราะไม่สามารถมีความเข้าใจในการศึกษาวิชาต่างๆ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนท้ายที่สุด เด็กเหล่านี้ต้องลาออกจากการศึกษาเพื่อไปประกอบอาชีพที่ใช้แรงงาน

ด้าน น.ส.สุพัตรา โชติมณี นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา ตัวแทนกลุ่มครูไทยใจเกินร้อย กล่าวว่า ตนและเพื่อนๆ มีแนวคิดอยากแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการศึกษาไทย จึงดำเนินกิจกรรมเริ่มจากค้นหาผู้ร่วมอุดมการณ์ และร่วมกันสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่โรงเรียนวัดท่านางหอม จัดอบรมเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ที่ช่วยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ มีการทดลองสอนก่อนลงพื้นที่จริง เพื่อฝึกเทคนิควิธีการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น และลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหากลุ่มเป้าหมายที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ติดตามและสรุปผลโครงการ นำเสนองานในรูปแบบการจัดนิทรรศการการเรียนรู้เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม ผลจากการจัดโครงการนี้คือ เด็กที่มีปัญหาจะอ่านออกเขียนได้ สามารถเรียนร่วมกับเพื่อนในห้องได้อย่างไม่มีอุปสรรค ส่งผลให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของไทย ที่สำคัญ ยังเป็นการฝึกประสบการณ์นักศึกษาวิชาชีพครู ให้มีกระบวนการทำงานและเทคนิควิธีการสอน ซึ่งภายภาคหน้านักศึกษากลุ่มนี้จะสามารถเป็นแม่พิมพ์ที่ดีของชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา