การเลือกวิธีการวางแผนที่เหมาะสำหรับธุรกิจการผลิตของคุณ

พุธ ๑๕ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๐๒
นาย จาค็อบ บียอร์กลุนด์ ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านวิจัยและพัฒนา บริษัท ไอเอฟเอส และ นายแมทส์ โจฮันสัน สถาปนิกด้านผลิตภัณฑ์ ซีพีไอเอ็ม ด้านวิจัยและพัฒนา บริษัท ไอเอฟเอส ได้สรุปภาพรวมของการวางแผนวิธีต่างๆ ที่มีอยู่ให้กับผู้ผลิตและเวลาที่พวกเขามองว่ามีประโยชน์มากที่สุด

ระบบวางแผนทรัพยากรขององค์กร (อีอาร์พี) สมัยใหม่ ที่สนับสนุนวิธีการวางแผนในวงกว้าง บางครั้งอาจจะเห็นไม่ชัดเจนว่า วิธีที่มีอยู่วิธีใดที่จะทำให้เกิดผลดีที่สุด เราจะอธิบายอย่างครอบคลุมถึงทางเลือกทั่วไปควบคู่ไปกับการให้คำแนะนำว่าควรจะนำไปปรับใช้เมื่อใด

วิธีการวางแผนข้อ 1. ตารางเวลาหลัก และการวางแผนวัสดุตามความต้องการ

ตารางเวลาหลัก (เอ็มเอส) วางแผนรายการโดยใช้การคาดการณ์และความต้องการที่แท้จริง คำนวณการคาดการณ์สินค้าคงคลัง และจัดทำข้อเสนอการจัดหาขึ้นมา ต้องมีการพิจารณาถึงนโยบายสำรองสินค้าอย่างปลอดภัย และข้อบังคับเกี่ยวกับปริมาณการสั่งซื้อด้วย ผลลัพธ์ที่ได้คือข้อเสนอการจัดหาตามช่วงเวลาที่เรียกว่า ตารางเวลาการผลิตหลัก (เอ็มพีเอส)

การวางแผนวัสดุตามความต้องการ (เอ็มอาร์พี) จะใช้เอ็มพีเอสมารวมเข้าไว้กับรายการวัสดุ (บีโอเอ็ม) เพื่อสร้างแผนการจัดหาตามระยะเวลาสำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และความต้องการส่วนประกอบ เงื่อนไขของการกำหนดขนาดการสั่งซื้อมีอยู่หลายอย่าง เช่น ระยะเวลา ต้นทุนต่อหน่วยขั้นต่ำ หรือการสั่งซื้อต่อครั้ง การคำนวนเอ็มอาร์พีสามารถทำได้กับส่วนที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน ข้ามหน่วยงาน หน่วยงานหลายแห่ง หรือโครงการ ซึ่งตามปกติแล้วมักจะมีการทำเอ็มอาร์พีวันละหนึ่งครั้ง

'เอ็มเอส' และ 'เอ็มอาร์พี' เกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 และทุกวันนี้ถือเป็นวิธีการวางแผนที่ใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิต ประโยชน์ที่ได้รับครอบคลุมถึงแผนการจัดหาที่เชื่อถือได้ ที่ทอดยาวตลอดช่วงการคาดการณ์ ข้อเสียสองสามอย่างที่เกี่ยวข้องกับเอ็มอาร์พี มีดังนี้

*การคาดการณ์: จำเป็นต้องมีความสามารถที่จะคาดการณ์ไปล่วงหน้าอย่างน้อยที่สุด จนถึงช่วงเวลาระหว่างการวางแผนงานกับการผลิต ซึ่งบางครั้งก็มีประโยชน์น้อยกว่าสำหรับการวางแผนการสั่ง ที่ไม่จำเป็นต้องมีการคาดการณ์ถึงระดับวัสดุ

*บีโอเอ็ม: จำเป็นต้องมีการกำหนดรายการวัสดุ ซึ่งเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งที่ต้องจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น หรือผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบไว้แล้ว

* แม่นยำเกินไป: เอ็มอาร์พีมีความเที่ยงตรง ซึ่งอาจกลายเป็นความตึงเครียด และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อความเป็นจำนวนมากในระดับล่าง

เอ็มเอส/เอ็มอาร์พี ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมของการผลิตเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลัง (เอ็มทีเอส) ที่ต้องมีการคาดการณ์และค่อนข้างเสถียร โดยเอ็มอาร์พียังถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการผลิตตามคำสั่ง ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องมีการผลิตสินค้าทันทีที่ได้รับคำสั่งเข้ามา

วิธีการวางแผนข้อ 2. วางแผนการผลิตตามคำสั่ง

การวางแผนผลิตตามคำสั่ง เป็นการวางแผนสำหรับสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งที่เข้ามา เป็นชุดที่มีความต้องการแตกต่างออกไป เมื่อเทียบกับการวางแผนที่ต้องอาศัยการคาดการณ์ ความสามารถในการเชื่อมโยงการจัดหาเข้ากับความต้องการผ่านโครงสร้างหลายระดับได้กลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โดยเหตุผลแรกๆ คือการรองรับและการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการจัดหาวัสดุให้กับแหล่งความต้องการที่เหมาะสมในทันทีที่ผลิตเสร็จ

การติดตามความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาตามคำสั่งซื้อ เรียกกันว่า ปักหมุด เมื่อเทียบกับแนวคิดเอ็มอาร์พีแล้ว การวางแผนเอ็มทีโอยังต้องการความยืดหยุ่นในระดับที่สูงกว่าเอ็มทีโอมักจะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไว้แล้วกับพลวัตบีโอเอ็ม โดยเกณฑ์การวางแผนเอฟทีเอสสำหรับเอ็มทีโอ ที่เรียกว่า การประมวลคำสั่งซื้อแบบพลวัต (ดีโอพี) ยังเป็นการเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการ

วิธีการวางแผนข้อ 3. การวางแผนจุดสั่งซื้อซ้ำหรือจุดสั่งซื้อสินค้าใหม่

การวางแผนจุดสั่งซื้อซ้ำ (อาร์โอพี) ซึ่งในรูปแบบที่ธรรมดาที่สุดนั้น หมายความว่า ในทันทีที่สินค้าคงคลังลดลงไปอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ จะต้องมีคำสั่งซื้อเพื่อเติมสินค้าให้เต็มมีแนวคิดที่ค่อนข้างก้าวหน้าจำนวนหนึ่งสำหรับการคำนวณอาร์โอพี ที่จะต้องบรรลุเป้าทั้งการสำรองสินค้าปลอดภัย และเพิ่มปริมาณสินค้าให้เต็มระดับที่กำหนดไว้ เช่น เป้าหมายระดับการบริการ นอกจากนี้ การวางแผนที่มีฐานอยู่บนอาร์โอบี ยังสามารถได้ประโยชน์จากการคาดการณ์ความต้องการ เพื่อเปิดทางให้จุดสั่งซื้อซ้ำมีระดับการขึ้นๆ ลงๆ สอดคล้องกับแนวโน้มและฤดูกาลต่างๆ

การวางแผนอาร์โอพี ยังแตกต่างกับเอ็มอาร์พีในแง่ของการทำงานอย่างอิสระในด้านอื่น ซึ่งเรื่องนี้อาจทำให้เกิดปัญหาทางระบบขึ้นมา หากความต้องการชิ้นส่วนหนึ่งเป็นผลโดยตรงจากความต้องการชิ้นส่วนอื่นๆ หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเป็นวิธีการวางแผนที่มีความแข็งแกร่งและเชื่อถือได้ที่สามารถใช้การได้ดีในการค้าอะไหล่สำรองและเครื่องอุปโภคบริโภค

วิธีการวางแผน ข้อ 4. คัมบัง

คัมบังเป็นระบบการดึงที่ต้องการให้มีการไหลเข้ามาจุดชนวนให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านการจัดหา โดยวงจรของระบบคัมบังถูกจำกัดด้วยการใช้ตู้สินค้าที่ได้มาตรฐานและบัตรที่แนบมาด้วยในทันทีที่ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าการบริโภคทำให้ตู้สินค้าว่างเปล่าแล้ว ระบบก็จะถอยย้อนกลับแหล่งจัดหา เพื่อดำเนินการเติมสินค้า ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว การใช้หลักการดึงแบบนี้จะช่วยลดดับเบิลยูไอพี และการมีสินค้าคงคลังที่มากเกินไป

การไหลเข้ามาของวัสดุที่ไม่ซ้ำกัน (จุดการจัดหา หมายเลขชิ้นส่วน และจุดการบริโภค) ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการระบุเป็นรายชิ้นไป ซึ่งคัมบังทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ต้องทำงานซ้ำๆ อย่างเช่นในสถานที่ทำงานที่มีสินค้าป้อนเข้ามาทดแทนกันอย่างต่อเนื่อง

ควรใช้วิธีการใด

สำหรับผู้บริหารในระดับสูงนั้น การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการวางแผนที่จะใช้ ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับว่า เป็นการผลิตรูปแบบใด (ผลิตตามคำสั่ง ผลิตเพื่อเป็นสินค้าคงคลัง ฯลฯ) เช่นเดียวกับธรรมชาติของกระบวนการจัดหา

ด้านล่างจากนี้ เรามีการระบุ และอธิบายถึงกระบวนการจัดหาที่แตกต่างกัน 6 แบบ

โครงการ: ตามปกติมักจะเป็นการผลิตที่ซับซ้อนของการผลิตครั้งเดียว ที่มักใช้ผลิตตามการออกแบบวิศวกรรม (อีทีโอ) เหมา: การผลิตในรูปแบบการทำงานที่มุ่งเน้นในปริมาณขนาดเล็ก มักจะผลิตตามการเจาะจงของลูกค้า กลุ่ม: การผลิตชิ้นส่วนมาตรฐานเป็นล็อต ซ้ำ: การผลิตสินค้ามาตรฐานตามอัตรา การค้า: กระจายผลิตภัณฑ์ผ่านทางเครือข่ายการจัดหาด้วยปริมาณที่ไล่ตั้งแต่ระดับสูงมากจนถึงต่ำ ชิ้นส่วนสำรอง (อะไหล่): กระจายชิ้นส่วนที่ปกติมักมีความต้องการต่ำและคาดเดาความต้องการไม่ได้

คำแนะนำขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ตารางข้างล่างคือคำแนะนำของเรา สำหรับกลยุทธ์การวางแผนที่มีอยู่ เพื่อให้พิจารณาตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

จุดที่ควรพิจารณา

เอ็มอาร์พีของไอเอฟเอส สามารถดำเนินการได้จากส่วนเดียว เพื่อสร้างการจัดหาสำหรับคำสั่งซื้อใหม่ โดยพิจารณาจากสถานที่และเครือข่ายการวางแผน ซึ่งรวมถึงสถานที่หลายแห่ง เครือข่ายการวางแผนทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเกิดความร่วมมือวางแผนระหว่างกัน อาทิ สถานที่หนึ่งส่งชิ้นส่วนเข้าไปยังโรงงานประกอบ ขณะที่เอ็มอาร์พีก็ทำงานในด้านการผลิตตามคำสั่งซื้อและทำซ้ำ โดยยิ่งดีโอพีและคัมบังมีกระบวนการที่เจาะจงมากเท่าใด ก็จะยิ่งให้ผลที่ดีขึ้นเท่านั้น

การวางแผนโดยมีพื้นฐานอยู่บนอาร์โอพี ยังมักถูกนำไปใช้สร้างตัวรองรับในสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับความต้องการเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งอาจเพื่อลดระยะเวลารอคอยสินค้าสำหรับวัสดุที่จำเป็นหรือรองรับความต้องการที่หลากหลาย ซึ่งการกระจายสินค้าที่มีจำนวนจำกัดในปริมาณสูงจะได้รับประโยชน์จากเอ็มเอส

นอกจากนี้ การใช้จุดสั่งซ้ำยังจะช่วยให้วางแผนสำหรับการไหลของสินค้าที่มีความต้องการหลากหลายสูงและมีชิ้นส่วนจำนวนมากได้ดีขึ้นด้วย

ควรพิจารณาถึงการนำวิธีต่างๆ มารวมกันไว้หรือไม่

บริษัทส่วนใหญ่จะมองหาการรวมวิธีเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งที่ไอเอฟเอส เราเรียกว่าเป็นการวางแผนแบบผสมผสาน และเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบด้วยกัน

1. ผลิตภัณฑ์บางอย่างผลิตขึ้นมาเพื่อเก็บสำรองไว้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นการผลิตตามคำสั่ง

2. ตำแหน่งของจุดตัดความสัมพันธ์: ในการที่จะลดระยะเวลารอคอยสินค้าและการชะลอการผลิตตามรายละเอียดในขั้นตอนสุดท้ายนั้น เป็นเรื่องปกติที่จะใช้จุดตัดความสัมพันธ์โดยจุดนี้ถือเป็นกันชนสินค้าคงคลังแบบปกติ โดยเมื่อกระบวนการปฏิบัติตามคำสั่งเริ่มต้น และทันทีที่มีคำสั่งเข้ามา กลยุทธ์การวางแผนที่แตกต่างออกจะถูกประยุกต์ใช้เข้ากับทั้งต้นน้ำและปลายน้ำจากจุดตัดความสัมพันธ์

บริษัทด้านการผลิตจำนวนมากจะได้รับประโยชน์จากการนำแผนการต่างๆ มาใช้แบบผสมผสาน รวมถึงการที่จะนำวิธีการวางแผนต่างๆ มาผสมผสานกันได้อย่างไรนั้นจะมีข้อมูลเพิ่มเติมในบทความต่อๆ ไป หวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากการสรุปภาพรวมของวิธีการวางแผนต่างๆ (และเวลาที่ควรนำไปพิจารณาประกอบร่วมด้วย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5