จาก “นาเคมี” สู่ “นาอินทรีย์” เพิ่มมูลค่า 'ข้าวสังข์หยด’ สร้างรายได้ช่วยเกษตร

พุธ ๑๙ เมษายน ๒๐๑๗ ๐๙:๐๘
"เราต้องการอนุรักษ์ความเป็นพื้นถิ่น สร้างมูลค่าด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ และสร้างรายได้ให้เกษตรกรในท้องถิ่น" นี่คือเสียงความตั้งใจแรกเริ่มของ ดร.อนิศรา เพ็ญสุข ติ๊บแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ที่สร้างมูลค่าให้กับข้าวสังข์หยด ส่งเสริมให้เกษตรหันมาทำนาในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งดีต่อตัวเกษตร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมพื้นที่นาข้างสังข์หยดเกือบ 3,500 ไร่ ที่มีกำลังผลิตข้าว 1,200 ตัน/ปี โดยฝีมือเกษตรกรรายย่อย 400 ราย ที่เปลี่ยนการทำนาจากเดิมที่ใช้สารเคมี หรือที่เรียกกันว่า "นาเคมี" มาเป็น "การทำนาอินทรีย์"

ดร.อนิศรา เล่าว่า จากการทำงานเรื่องการกำกับและควบคุมมาตรฐานการผลิตข้าวร่วมกับเกษตรกรของคณะทำงานเป็นระยะเวลา 6 ปี มีข้อสังเกตสำคัญคือ เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนการทำนาจากนาเคมีเป็นนาอินทรีย์ เนื่องจากไม่มีความแตกต่างทางด้านราคาที่โดเด่นพอที่จะเป็นแรงจูงใจได้ ทางโครงการวิจัยจึงนำเรื่องราคามาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการและชูจุดเด่นข้าวสังข์หยดอินทรีย์

"ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ เป็นข้าวเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ เป็นข้าวที่มีปริมาณอะมิโลสต่ำ รสชาติคล้ายข้าวเหนียวและมีคุณค่าทางอาหารสูง ปลูกได้ในพื้นที่ที่เป็นนาลุ่ม มีฤดูการเพราะปลูก-เก็บเกี่ยว เพียงแค่ช่วงเดียวในฤดูฝน ระหว่างเดือนกันยายนถึงมีนาคม ซึ่งข้างสังข์หยดที่เป็นอินทรีย์ มีข้อดีอยู่ 3 เรื่องหลักคือ ดีต่อผู้บริโภคทำให้ได้ทานข้าวที่ไม่มีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้างในผลิตภัณฑ์ ดีต่อตัวเกษตรกรที่ไม่ต้องสัมผัสกับสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งก่อนนี้เกษตรกรบางคนที่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วมีอาการเป็นผื่นแพ้และคันตามขาแข้ง พอเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์ก็หายเป็นปกติ หลายคนเห็นถึงความปลอดภัยในเรื่องนี้จึงหันมาสนใจความเป็นอินทรีย์มากยิ่งขึ้น และยังช่วยเพิ่มราคาทำให้สามารถขายได้ในราคาสูงขึ้นได้ ตรงตามเทรนด์สุขภาพ และดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะใช้ธรรมชาติมาเกื้อกูลธรรมชาติด้วยกัน ทำให้ดินดี สิ่งแวดล้อมดี ทำให้ระบบนิเวศดี ไม่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ"

"การนำกลไกราคามาขับเคลื่อนโครงการ นอกจากเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำนาอินทรีย์มากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ราคาต้นทางจากผู้ผลิตโดยตรงและราคาปลายทางผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผล กล่าวคือ ชาวนาทำนามีความสุขเลี้ยงปากท้องตนเองและครอบครัวได้ ขณะที่ผู้บริโภคก็มีกำลังที่จะซื้อได้ เพราะก่อนนี้พบช่องว่างราคาข้าวสังข์หยดในตลาดมีราคาแพง แต่ทำไมชาวนาถึงบ่นว่าขายแล้วขาดทุนหรือไม่ก็พอดีทุน" ดร.อนิศราอธิบาย

โดยโครงการได้ตกลงซื้อข้าวสังข์หยดอินทรีย์จากเกษตรสมาชิกในปริมาณบางส่วน หลังจากเกษตรกรเก็บไว้บริโภคในครัวเรือนแล้ว ด้วยราคาประมาณ 15,000 - 17,000 บาท ตามคุณภาพและการเจือปน อาจจะดูเหมือนราคาสูง แต่เนื่องจากข้าวสังข์หยดมีผลผลิตต่ำ ประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่ ชาวนาต้องทำนา 3 ไร่ ถึงจะได้ข้าว 1 ตัน อีกทั้งข้าวสังข์หยดมีฤดูเพราะปลูกและเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียวในระยะเวลา 6 เดือน ส่วนความรู้ที่เรานำไปเสริมให้เกษตรกรในโครงการทั้ง 400 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 18 กลุ่มย่อย ด้วยการให้ความรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์ให้ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) โดยใช้ปุ๋ยหมัก มูลสัตว์และน้ำหมักชีวภาพ ทดแทนสารเคมีต่าง ๆ แม้จะมีแมลงหรือศัตรูพืชในนาข้าวบ้างเพียงเล็กน้อยตามธรรมชาติ โดยลงพื้นที่สอนเกษตรกรและควบคุมการผลิตด้วยตนเอง และยังเพิ่มเทคนิคการแปรรูปข้าวสังข์หยดให้เป็นผลิตภัณฑ์ เช่น บราวนี่ข้าวสังข์หยดและโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปจากปลายข้าว

ดร.อนิศรา เล่าต่อไปว่า โครงการนี้นอกจากจะรักษาความเป็นพื้นถิ่นของจังหวัดแล้ว ยังเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างให้กับนักศึกษาได้ดีอีกด้วย และทำให้เกษตรกรในโครงการก่อเกิดเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง บางกลุ่มมีความสามารถมากพอที่จะเป็นวิทยากรให้กับอีกกลุ่ม เพื่อส่งต่อความรู้ให้กับเกษตรกรด้วยตนเอง บางกลุ่มมีพื้นที่พร้อมที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ป้อนให้กับกลุ่มอื่นต่อได้

สิ่งสำคัญในโครงการ นั่นคือการบูรณาการร่วมกันหลายภาคส่วน ทั้งเกษตรกรในพื้นที่ กรมการข้าว กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงจังหวัดพัทลุงเอง ตลอดจนโรงสีข้าว และได้เข้าร่วมโครงการ Start Up ราชมงคลธัญบุรี โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในการที่เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง

ด้าน นายโกศล เดชสง ผู้จัดการ หจก.โกศลธัญญกิจ เจ้าของโรงสีข้าวขนาดกลางที่ร่วมในโครงการ สะท้อนให้ฟังแทนเกษตรกรให้ฟังว่า การทำนาข้าวอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาปรับปรุงดินในนาข้าว 2-3 ปีก่อนปลูก มีการตรวจสอบคุณภาพดินอย่างต่อเนื่อง เมื่อปลูกแล้วต้องติดตามและตรวจสอบเพื่อควบคุมมาตรฐานการผลิตข้าวร่วมกับคณะทำงานในโครงการ ขณะเดียวกันโรงสีข้าวต้องได้มาตรฐาน มีการนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาเสริมและได้รับการรับรอง

ข้าวสังข์หยดในโครงการได้จุดกำเนิดสู่แบรนด์ MANORA (มโหราห์) ซึ่งได้คัดสรรเมล็ดพันธุ์และใช้วิธีการขัดสีแบบซ้อมมือ ซึ่งจะเอาเปลือกหุ้มออกเพียงแค่ 30 % ทำให้หุงง่ายและที่สำคัญไม่แข็งกระด้าง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีธาตุเหล็ก แคลเซียมและวิตามินบี3 สูง เหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและโรคทางระบบประสาท และเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์คุณค่าจากธรรมชาติ ผู้สนใจหรือต้องการช่วยสนับสนุนเกษตรกรสามารถสอบถามเพิ่มเติมโดยตรง โทร.084 1232268 หรือwww.facebook.com/ManoraRice

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ พ.ค. เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๒๑ พ.ค. HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส