ประชาชน 77.21% ยอมรับการขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆ ส่งผลกระทบให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 72.95 กังวลว่าการขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆจะทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ร้อยละ 81.05 แนะให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

พฤหัส ๐๕ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๒๒
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆกับการใช้จ่ายรายเดือน ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2560 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,198 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2560 นี้มีการทยอยประกาศปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้ไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าโดยสารเรือด่วน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประชาชนทั่วไปต้องมีรายข่ายมากขึ้น ถึงแม้หน่วยงานภาครัฐจะออกมายืนยันว่าการปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆจะไม่ส่งผลกระทบให้ราคาค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมีราคาสูงขึ้น แต่ผู้คนในสังคมยังคงแสดงความกังวลว่าจะมีการปรับขึ้นราคาค่าสินค้าอุปโภคบริโภคหลังจากการปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆและเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆกับการใช้จ่ายรายเดือน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อไปว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.67 เพศชายร้อยละ 49.33 อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถสรุปผลได้ดังนี้ สำหรับความรับรู้เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 นี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.05 ทราบว่าในเดือนกันยายนนี้มีการปรับขึ้นราคาค่าใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 21.95 ยอมรับว่าไม่ทราบ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.29 ทราบว่าในวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมามีการปรับขึ้นราคาค่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือน โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.71 ที่ไม่ทราบ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 87.73 ทราบว่าในวันที่ 1 ตุลาคมนี้จะมีการปรับขึ้นราคาค่าบริการรถไฟฟ้า BTS แต่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.27 ไม่ทราบ

ในด้านความคิดเห็นต่อการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะกับการใช้จ่ายรายเดือนนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.21 มีความคิดเห็นว่าการขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆจะส่งผลกระทบกับการใช้จ่ายรายเดือนของตนเองให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.01 คิดว่าการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆจะมีส่วนทำให้ตนเองตัดสินใจลดการซื้อสินค้า/บริการฟุ่มเฟือยลง

ในด้านความคิดเห็นต่อการขั้นราคาค่าบริการสาธารณะกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานบริการ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.2 ไม่เชื่อว่าหากมีการประกาศขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าบริการสาธารณูปโภค (ค่าไฟ ค่าน้ำ) ค่าบริการด้านพลังงาน (ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม) และค่าบริการด้านการขนส่งสาธารณะ (ค่าทางด่วน ค่ารถไฟฟ้า ค่าแท็กซี่ ค่ารถเมล์) เป็นต้น แล้ว ผู้ให้บริการเหล่านั้นจะยกระดับคุณภาพมาตรฐานบริการให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้นได้ โดยที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.46 เชื่อ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 6.34 ไม่แน่ใจ

ในด้านความคิดเห็นต่อการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะกับการใช้จ่ายอย่างประหยัด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.44 มีความคิดเห็นว่าการประกาศขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าบริการสาธารณูปโภค (ค่าไฟ ค่าน้ำ) ค่าบริการด้านพลังงาน (ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม) และค่าบริการด้านการขนส่งสาธารณะ (ค่าทางด่วน ค่ารถไฟฟ้า ค่าแท็กซี่ ค่ารถเมล์) เป็นต้น จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมตระหนักถึงการใช้จ่ายอย่างประหยัดในชีวิตประจำวันมากขึ้นได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสี่ในห้าหรือคิดเป็นร้อยละ 81.05 มีความคิดเห็นว่าการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะมีส่วนช่วยทำให้ผู้คนลดผลกระทบจากการขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆได้ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.95 กังวลว่าหากมีการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าบริการด้านพลังงาน และค่าบริการด้านการขนส่ง เป็นต้น จะทำให้ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมีราคาสูงขึ้น และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.54 ไม่เชื่อว่าหน่วยงานภาครัฐจะสามารถควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันไม่ให้มีการปรับขึ้นได้จริงหากมีการปรับขึ้นราคาค่าบริการสาธารณะต่างๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าบริการด้านพลังงาน และค่าบริการด้านการขนส่ง เป็นต้น

สำหรับความคิดเห็นต่อการชะลอปรับขึ้นค่าบริการสาธารณะต่างๆนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 40.57 มีความคิดเห็นว่าควรมีการชะลอขึ้นราคาค่าบริการสาธารณูปโภค/ค่าบริการด้านการขนส่งออกไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี รองลงมามีความคิดเห็นว่าควรชะลอออกไปอีกอย่างน้อยหกเดือนและอีกอย่างน้อยหนึ่งปีครึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.87 และร้อยละ 18.78 ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.69 มีความคิดเห็นว่าควรชะลอออกไปอีกอย่างน้อยหกเดือน โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5.09 มีความคิดเห็นว่าไม่จำเป็นต้องชะลอออกไป ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๗ MONEY EXPO 2024 BANGKOK โปรแรง กู้บ้าน 0% 3 เดือน สินเชื่อสีเขียว 1.11% เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2.88%
๑๖:๒๒ InnovestX บุกตลาดกองทุน คัดกองแกร่ง Core Portfolio เพื่อผลตอบแทนระยะยาว ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
๑๖:๔๗ กรมวิชาการเกษตรจัดงาน Thailand Best Coffee Beans ประกวดหาสุดยอดกาแฟไทย พร้อมยกระดับกาแฟไทยสู่เวทีโลก
๑๖:๑๑ บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดตัวกองทุน Senior Loan กองทุนแรกของไทย โอกาสลงทุนเสริมพอร์ตให้เติบโตกับ Private Credit ที่ซื้อ-ขายได้ทุกวัน(*) พร้อม IPO วันที่ 9 - 16 พ.ค.
๑๖:๕๑ ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ร่วมแสดงความยินดีเปิดตัว SPYxFAMILY POP UP STORE THAILAND ครั้งแรกในไทยกับป๊อปอัพ สโตร์แนวใหม่ ฟินกับครอบครัวสายลับสุดป่วน เข้าชมฟรี!! วันนี้-30
๑๖:๑๓ เฟสติวัลใหม่แกะกล่อง bondbond Music Mania เปิดไลน์อัปรวมศิลปินทั้ง International และ T-POP ไว้ในงานเดียว!
๑๖:๔๗ กลุ่มเซ็นทรัล ขับเคลื่อนโลกศิลปะ ส่งเสริมศิลปินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนดื่มด่ำงานศิลป์หลากแขนงจากทั่วโลกในงาน เวนิส เบียนนาเล่ 2024
๑๕:๑๖ DIPROMพร้อมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเป้าหมาย กิจกรรมพัฒนาผลิตภาพสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย (พืชเศรษฐกิจและผลไม้) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
๑๕:๒๐ SPU จับมือ สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย MOU มุ่งพัฒนาทักษะนักศึกษาสู่ เจ้าของธุรกิจออนไลน์
๑๕:๒๓ เคทีซีแกร่งรับมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิต (PCI DSS) เป็นสถาบันการเงินรายแรกในเอเชีย แปซิฟิก จากสถาบันมาตรฐานอังกฤษ