นอนกรน...ภัยร้ายใกล้ตัว

จันทร์ ๑๙ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๑:๐๒
ให้ความรู้โดย : แพทย์หญิง พรรณทิพา สมุทรสาคร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก และโรคนอนกรน โรงพยาบาลธนบุรี2

การนอนกรน เกิดจากกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับจนทำให้ช่องคอแคบลง ซึ่งส่งผลให้ต้องหายใจเข้าออกแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทางเดินหายใจแคบลงจนถึงจุดหนึ่ง ความแรงของลมหายใจที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจนเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีเสียงกรนตามมา นอกจากนี้การกรนยังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดการปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อภายในระบบทางเดินหายใจ เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เพดานอ่อน คอ หรืออาจเกิดจากสารหล่อลื่นในระบบทางเดินหายใจลดลง ทำให้เกิดอาการแห้ง และบวม ทางเดินหายใจจึงแคบลง เมื่อหายใจจึงเกิดเป็นเสียงกรน

พญ.พรรณทิพา สมุทรสาคร กล่าวว่า นอกจากการนอนกรนแล้ว ยังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) อาจมีการหยุดหายใจร่วมด้วย เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง เพื่อปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ ในวงรอบของการนอน อาจมีการกรนและภาวะหยุดหายใจหลายครั้ง เป็นผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่

อาการที่บ่งบอกว่ามี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และควรปรึกษาแพทย์

อาการตอนกลางคืน

- สะดุ้งเฮือก หรือหายใจแรงเหมือนขาดอากาศ

- หายใจขัด หรือคล้ายสำลักน้ำลาย

- นอนหลับไม่ต่อเนื่องกระสับกระส่าย

- ผู้ป่วยเด็กอาจเปลี่ยนท่านอนบ่อย ชอบนอนตะแคง นอนคว่ำมากกว่า นอนหงาย หรือมีปัสสาวะรดที่นอนได้

อาการตอนกลางวัน

- ง่วงนอนตอนกลางวันจนรบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

- ตื่นนอนไม่สดชื่นแม้จะนอนพอ นอนหลับไม่เต็มอิ่ม

- ปวดศีรษะตอนตื่นนอน

- ประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนลดลง หรือขาดสมาธิและความจำแย่ลง

- ผู้ป่วยเด็กอาจมีอาการซนผิดปกติสมาธิสั้นในเวลากลางวัน หรืออาจมีผลการเรียนแย่ลง

แนวทางในการตรวจวินิจฉัย

1.การซักประวัติ โดยเฉพาะจากคู่นอนหรือบุคคลที่สังเกตอาการผู้ป่วยได้

2.การตรวจทั่วไปและการตรวจทางหู คอ จมูกอย่างละเอียด เพื่อประเมินหาตำแหน่งของการอุดกั้นของทางเดินหายใจ อาจมีการส่องกล้องภายในทางเดินหายใจส่วนต้น

3.การตรวจเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพ รังสี (X-ray) บริเวณกะโหลกศีรษะ เพื่อประเมินขนาดของต่อมอดีนอยด์ (ในผู้ป่วยเด็ก) และเพื่อประเมินโครงสร้างกระดูกใบหน้า ขากรรไกร และเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยผู้ใหญ่

4.การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) ใช้เวลาตรวจช่วงกลางคืนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาของการนอนหลับในคนทั่วไป ถือเป็นการตรวจที่ มีความสำคัญในการวินิจฉัยแยกภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จาการนอนกรนธรรมดา บอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และวินิจฉัยความผิดปกติอื่นๆที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการวางแผนการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกได้

การรักษา

ปัจจุบันทางเลือกในการรักษา OSA มีอยู่ค่อนข้างมาก แนวทางในการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น ความรุนแรงของโรค สาเหตุที่ตรวจพบหรือสงสัย ความต้องการของผู้ป่วย ตลอดจนข้อดี ข้อเสียและข้อจำกัดของการรักษาแต่ละแบบ การรักษาในปัจจุบันแบ่งเป็น

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

- การลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

- การหลีกเลี่ยงการนอนหงาย อาจนอนตะแคงหรือนอนศีรษะสูง

- การหลีกเลี่ยงยาหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดสมองส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้ชนิดแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง และแอลกอฮอล์

- การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณช่องปากและคอหอย

2. การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด

- การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือเรียกว่า Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) เป็นเครื่องที่สามารถส่งลมที่มีแรงดันบวกออกมา ผ่านหน้ากาก และลมจะช่วยค้ำยันกล้ามเนื้อช่องคอให้ไม่หย่อนตัวลง

- การใส่เครื่องมือในช่องปาก (Oral appliance) เพื่อเลื่อนขากรรไกรล่าง (หรือลิ้น) ออกมาด้านหน้า ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด

มีหลักการเพื่อเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจให้กว้างขึ้นหรือทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหอยมีการตึงตัวเพิ่มขึ้น โดยมีข้อบ่งชี้ คือ

- ตรวจพบตำแหน่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนชัดเจน

-อาการจากการนอนกรนและ/หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับฯรบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด

- ผู้ป่วยปฎิเสธหรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของ CPAP หรือการรักษาในรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วิธีผ่าตัด

- อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อช่วยเสริมให้ผลการรักษาในแบบอื่น ๆ เช่น CPAP หรือ Oral appliance ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

อาการนอนกรนเพียงอย่างเดียว พบได้บ่อยและไม่ใช่โรค แต่ถ้ามีอาการสงสัยโรคหยุดหายใจขณะหลับฯร่วมด้วยหรืออาการนอนกรนนั้นรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วย คู่นอน รวมทั้งบุคคลในครอบครัว ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญและควรได้รับการตรวจวินิจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหกรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5