นักวิจัยเคมีไฟฟ้า จากจุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2561

พฤหัส ๐๒ สิงหาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๒๕
ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้คิดค้นเทคนิคการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้า

ด้วยวัสดุเพชรเจือโบรอนรายแรกของไทย คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2561 รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระบุภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) จำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ร่วมขับเคลื่อน

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2561 ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 36

โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมแสดงความยินดี พร้อมร่วมเสวนาพิเศษในหัวข้อ "บทบาทของนักวิทยาศาสตร์ไทยกับการขับเคลื่อนประเทศด้วยโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)" ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและอธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) กล่าวว่า การพัฒนาและขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศไทย จำเป็นต้องอาศัยนักวิจัยในการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีศักยภาพไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือการใช้งานด้านต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงภายใต้โมเดล "ประเทศไทย 4.0" ของรัฐบาล

"จากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ใน 137 ประเทศทั่วโลก (The Global Competitiveness Report 2017-2018) พบว่า ระดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 32 ระดับความสามารถด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไทยอยู่อันดับที่ 57 ความพร้อมด้านเทคโนโลยีอยู่ในอันดับที่ 61 และการสร้างนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 50 และหากเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ พบว่าการสร้างนวัตกรรมของไทยอยู่อันดับที่ 4 ในขณะที่คุณภาพของระบบการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 4 เช่นกัน"

ดังนั้น การที่จะยกระดับประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การพัฒนาแบบก้าวกระโดด และเปลี่ยนจากการเป็น

ผู้ซื้อเทคโนโลยีมาเป็นผู้สร้างนวัตกรรมเช่นเดียวกับประเทศชั้นนำในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การส่งเสริมความเป็นเลิศในสาขาวิจัยที่สร้างศักยภาพให้กับประเทศ การเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การสนับสนุนนักวิจัยและผู้นำกลุ่มนักวิจัย

ชั้นแนวหน้า และการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัย เพื่อเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร ฯลฯ

ที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการ และให้ทันต่อการพัฒนาโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ

ภาคตะวันออก (EECi) อันเป็นการพัฒนาประเทศชาติให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนอย่างแท้จริง

สำหรับในปีนี้ คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2561 ได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 400,000 บาท

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ เป็นผู้ริเริ่มการนำขั้วไฟฟ้าเพชรเจือโบรอน (Boron-doped diamond, BDD) มาใช้เป็นรายแรกของไทย ซึ่งขั้วไฟฟ้านี้ใช้เป็นเซ็นเซอร์สำหรับการตรวจวัดสารประกอบอินทรีย์และ

สารประกอบอนินทรีย์ สามารถประยุกต์ใช้ทางด้านสิ่งแวดล้อม ทางด้านอาหาร และทางด้านการแพทย์ อีกทั้งเป็นการช่วยลดการนำเข้าอุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์จากต่างประเทศ และเป็นการช่วยส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในการผลิตอุปกรณ์ตรวจวัดเพื่อใช้งานได้เองภายในประเทศ และด้วยผลงานที่มีคุณภาพจึงทำให้ ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ

ได้มีบทบาทหน้าที่สำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติด้านต่าง ๆ และมีผลงานวิจัยมากมายที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง รวมถึงได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับโลกมากมาย

สำหรับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2561 ได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมรากุมารี และเงินรางวัล 100,000 บาท ได้แก่

ดร.จุฬารัตน์ วัฒนกิจ สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

ผลงานวิจัย "ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน"

ผศ. ดร.เจ้าทรัพย์ บุญมาก สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นผลงานวิจัย "ผลึกวิทยาของวัสดุโคออร์ดิเนชันพอลิเมอร์และสารเชิงซ้อนชนิดใหม่"

นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดเสวนาพิเศษในหัวข้อ "บทบาทของนักวิทยาศาสตร์ไทยกับการขับเคลื่อนประเทศด้วยโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi)" นำโดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์, ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), ดร.พงษ์สุดา ผ่องธัญญา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี SCG Packaging, คุณหงษ์ศรี

เจริญวราวุฒิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการพัฒนา พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมเสวนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5