สถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศของไทย ยกระดับขีดความสามารถของกองทัพไทยด้วยระบบดิจิทัลจาก Thales

พฤหัส ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๖:๑๔
- สถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ (สทป.) เตรียมรับรถยานเกราะ (APC) ที่ได้รับการอัพเกรดด้วยระบบ C5I ของ Thales (การทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสั่งการ การควบคุม การสื่อสาร และข้อมูลการรบ)

- ระบบรองรับความต้องการในส่วนงานดิจิทัลของกองทัพบกที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในสนามรบ โดยการอัพเกรดกองพลที่มีอยู่ด้วยระบบการสื่อสารที่ทันสมัยที่สุด

- นับเป็นโครงการแรกที่ส่งมอบให้กับ สทป. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกข้อตกลง (MoA) ที่ลงนามระหว่าง สทป. บริษัทดาต้าเกท และ Thales ในปี 2561

จากการที่กองทัพไทยยังคงอานุภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสื่อสารในสนามรบ Thales มีความยินดีที่จะประกาศว่าภายในปลายปี 2562 นี้ สทป. จะได้รับมอบยานเกราะลำเลียงพลทหารราบรุ่น BTR 3C S ชุดแรก ที่ได้รับการอัพเกรดด้วยการติดตั้งระบบ C5I ที่ทันสมัย (การทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสั่งการ การควบคุม การสื่อสาร และข้อมูลการรบ) จาก Thales

การสื่อสารทางวิทยุผ่านระบบดิจิทัลที่แม่นยำและมีปลอดภัยสูง ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพที่ปฏิบัติภารกิจในสนามรบ เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ช่วยในการตัดสินใจที่รวดเร็ว ต่อต้านภัยคุกคามในอนาคต และสร้างความได้เปรียบในสนามรบ Thales เพิ่มสมรรถนะให้กับยานเกราะคันแรกนี้ด้วยการติดตั้งระบบสื่อสารทางวิทยุแบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ รวมทั้งระบบการบริหารขีดความสามารถของยานเกราะและอำนวยการรบ ตลอดจนวิทยุ VHF สำหรับการรบเบ็ดเสร็จ ระบบอำนวยการรบ (Battle Management System - BMS) สำหรับการควบคุมและบัญชาการตามยุทธวิธี

ระบบ C5I ช่วยให้รถยานเกราะสามารถทำงานด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (vetronics) แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ รวมถึงศักยภาพในการบูรณาการระบบใหม่ที่ใช้ในยานเกราะได้แก่ ระบบเซ็นเซอร์ ระบบเตือนภัย ระบบป้องกันตนเอง และระบบวินิจฉัยตัวยานเกราะเอง ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะยกระดับการปฏิบัติการในสนามรบด้วยระบบดิจิทัลของกองทัพบกขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ทำให้สามารถวางแผนรายละเอียดการบัญชาการ การกระจายข้อมูลทางยุทธวิธี และการสื่อสารด้วยภาพและเสียงผ่านระบบที่บูรณาการเพียงระบบเดียว

การทำงานอย่างใกล้ชิดกับ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศไทยในการถ่ายโอนองค์ความรู้และศักยภาพถือเป็นขั้นตอนแรกของความร่วมมือที่ได้ตกลงกันไว้ภายใต้บันทึกข้อตกลง (MOA) ที่ลงนามระหว่างสามฝ่าย (สทป. ดาต้าเกท และ Thales) ในปี 2561 โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการสนับสนุนการอัพเกรดระบบการสื่อสารและสารสนเทศสำหรับกองพลยานเกราะของกองทัพบกไทย และการพัฒนาความเชี่ยวชาญให้แก่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยผ่านการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี

"Thales สนับสนุนความมุ่งมั่นระยะยาวของรัฐบาลไทยในการพัฒนาขีดความสามารถด้านโดเมนดิจิทัล รวมถึงการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพไทยในสนามรบด้วยการติดตั้งระบบการสื่อสารระดับสูงที่จำเป็นต่อการสร้างความได้เปรียบ เราจะยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อช่วยเพิ่มพูนทักษะและความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของประเทศไทยด้วยระบบดิจิทัลผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง" กล่าวโดย Massimo MARINZI ผู้อำนวยการประจำประเทศ บริษัท Thales กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง