กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำทิน จังหวัดเพชรบูรณ์

อังคาร ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๔:๓๘
กรมชลประทาน เดินหน้าจัดหาแหล่งน้ำช่วยชาวเมืองเพชรบูรณ์ เร่งผลักดันโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำทิน หวังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้ชาวบ้านมีน้ำใช้อุปโภค บริโภคตลอดทั้งปี
กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำทิน จังหวัดเพชรบูรณ์

นางภัทราภรณ์ เมฆพฤกษาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผน) กรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำน้ำทิน (EIA) จังหวัดเพชรบูรณ์ สืบเนื่องจากราษฎรในพื้นที่ตำบลตะเบาะและตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ประสานหน่วยงานราชการเพื่อขอความเหลือราษฎรได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยได้ทำหนังสือถึงกรมชลประทาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 ขอให้สำรวจและจัดทำโครงการอ่างเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมชลประทานจึงได้พิจารณาศึกษารายละเอียดของโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำทิน และได้จัดทำรายงานวางโครงการเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. 2540 และต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ.2556 กรมชลประทานได้จัดทำรายงานวางโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำทิน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

แต่เนื่องจากพื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำน้ำทิน จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ในเขตพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 จึงเป็นโครงการที่เข้าข่ายประเภทและขนาดโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อนำเข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อรายงาน และประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้างตามขั้นตอนต่อไป กรมชลประทาน จึงมอบหมายให้บริษัท ดีไว พลัส คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานโครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำน้ำทิน (EIA) จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยแนวทางศึกษาโครงการ ประกอบด้วย (1) การศึกษาความเหมาะสมโครงการ (2) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ (3) การมีส่วนร่วมของประชาชน

เพื่อให้การดำเนินงานโครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำน้ำทิน บรรลุเป้าหมาย และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด กรมชลประทาน จึงขอเรียนเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางเลือกและรูปแบบการพัฒนาโครงการเบื้องต้น รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการศึกษาและพัฒนาโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 08.30-12.00 น. ณ หอประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลตะเบาะ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. โทรสาร 0 2941 9925 หรือสายด่วน 06 4630 5477

สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำทิน มีที่ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านเขาขาด ตำบลตะเบาะ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะของตัวเขื่อนเป็นเขื่อนดินถมแบบแบ่งโซน ความสูง 34.50 เมตร ความยาวสันเขื่อน 446.0 เมตรความกว้าง 9.00 เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถเก็บกักน้ำได้ 15.68 ล้านลูกบาศก์เมตร จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลตะเบาะและตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมพื้นที่รับประโยชน์จากระบบชลประทานโครงการดังกล่าว ประมาณ 10,500 ไร่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๒ สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๔:๑๐ ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๓:๔๗ บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๓:๑๔ ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๓:๐๑ ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๓:๔๖ หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๓:๕๔ DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๓:๓๑ PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๓:๓๙ บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๓:๓๘ บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5