สถาบันประสาทวิทยายุโรปเผยผู้ป่วยโควิด-19 ประสบปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรม

จันทร์ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๐๘:๑๕
ผลการศึกษาใหม่ที่นำเสนอในการประชุมสถาบันประสาทวิทยายุโรป ( European Academy of Neurology) ครั้งที่ 7 ระบุว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ประสบปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรมในช่วง 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล [1]

จากการติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ปัญหาด้านความจำ การรับรู้มิติสัมพันธ์ และการประมวลข้อมูล อาจเป็นผลพวงของไวรัส

การศึกษายังพบด้วยว่า ผู้ป่วย 1 ใน 5 มีภาวะ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง และ 16% มีภาวะซึมเศร้า

การศึกษาดังกล่าวจัดทำในประเทศอิตาลี โดยมีการทดสอบความสามารถในการรับรู้และตรวจสมองด้วย MRI ภายใน 2 เดือนหลังหายป่วยจากโควิด-19 ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้ป่วยกว่า 50% มีปัญหาด้านการรับรู้ ขณะที่ 16% มีปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง (การควบคุมความจำเพื่อใช้งาน การคิดอย่างยืดหยุ่น และการประมวลข้อมูล) นอกจากนี้ ผู้ป่วย 6% ยังประสบปัญหาการรับรู้มิติสัมพันธ์ (แยกความลึกและมิติได้ลำบาก) และ 6% มีปัญหาความจำบกพร่อง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วย 25% มีอาการทั้งหมดร่วมกัน

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และจิตใจมีอาการแย่กว่ามากในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า โดยผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 50 ปีส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง

จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า ความรุนแรงของอาการทางเดินหายใจในระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสมองที่อยู่ในระดับต่ำ 

นอกจากนี้ จากการสังเกตกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน ณ เวลา 10 เดือนหลังหายป่วยจากโควิด-19 พบว่าปัญหาด้านการรับรู้ลดลงจาก 53% เหลือ 36% แต่ภาวะ PTSD และภาวะซึมเศร้ายังคงอยู่

Prof. Massimo Filippi จาก Scientific Institute and University Vita-Salute San Raffaele ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า "การศึกษาของเรายืนยันว่าปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับโรคโควิด-19 และปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่หลายเดือนหลังหายจากโรคแล้ว"

"ผลลัพธ์ที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการจดจ่อ วางแผน คิดอย่างยืดหยุ่น และจดจำสิ่งต่าง ๆ โดยอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่อยู่ในวัยทำงานมากถึง 3 ใน 4"

ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างประสิทธิภาพการรับรู้กับปริมาตรสมอง 

"เราจำเป็นต้องศึกษาในกลุ่มใหญ่ขึ้นและติดตามผลยาวนานขึ้น ถึงกระนั้น การศึกษาครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า โควิด-19 มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านการรับรู้และจิตใจ" Dr. Canu จาก San Raffaele Hospital ในมิลาน ซึ่งเป็นผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าวสรุป "การติดตามอาการและการรักษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยที่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอในการบรรเทาอาการเหล่านี้"      

[1] ผลการศึกษาด้านการรับรู้และพฤติกรรมของกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 หลังจากหายป่วย ซึ่งนำเสนอในการประชุมสถาบันประสาทวิทยายุโรป ครั้งที่ 7 ประจำปี 2564



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง