ผลการศึกษาใหม่เผยผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท

จันทร์ ๒๗ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๐๘:๑๐
ผลการศึกษาใหม่ที่นำเสนอในการประชุมสถาบันประสาทวิทยายุโรป (European Academy of Neurology หรือ EAN) ครั้งที่ 8 ระบุว่า ผู้ป่วยนอกที่มีผลโควิด-19 เป็นบวก มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Disorders) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีผลตรวจเป็นลบ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ประวัติสุขภาพของประชากรชาวเดนมาร์กมากกว่าครึ่งหนึ่ง และพบว่าผู้ที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคหลอดเลือดสมองตีบ

จากผู้ป่วยจำนวน 919,731 คนที่เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยพบว่า 43,375 คนที่มีผลตรวจเป็นบวก มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 3.5 เท่า, โรคพาร์กินสัน 2.6 เท่า, โรคหลอดเลือดสมองตีบ 2.7 เท่า และโรคเลือดออกในสมอง 4.8 เท่า ทั้งนี้ การอักเสบของระบบประสาทอาจนำไปสู่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของโรคความเสื่อมของระบบประสาท และผู้เขียนได้เน้นย้ำนัยสำคัญทางวิทยาศาสตร์ของผลที่ตามมาในระยะยาวหลังติดเชื้อโควิด-19

การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกชาวเดนมาร์กระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 รวมถึงผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ช่วงก่อนเกิดโรคระบาด โดยนักวิจัยได้ใช้เทคนิคทางสถิติในการคำนวณความเสี่ยงสัมพัทธ์ และผลลัพธ์ถูกจำแนกตามสถานะการรักษาในโรงพยาบาล อายุ เพศ และโรคที่เกิดร่วม

ดร. พาร์ดิส ซาริฟการ์ (Dr. Pardis Zarifkar) หัวหน้าทีมวิจัยจากแผนกประสาทวิทยา โรงพยาบาลริกส์ฮอสพิทาเล็ต (Rigshospitalet) ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก อธิบายว่า "แม้ว่าจะเกิดการระบาดของโควิด-19 มานานกว่าสองปีแล้ว แต่ลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการของผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อโรคทางระบบประสาทกลับยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน การศึกษาหลายครั้งก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการทางระบบประสาท แต่จนถึงตอนนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าโควิด-19 มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคทางระบบประสาทที่เฉพาะเจาะจงหรือไม่ และแตกต่างจากโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ หรือไม่"

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคทางระบบประสาทส่วนใหญ่ในผู้ป่วยที่ผลโควิด-19 เป็นบวก ไม่ได้มีมากกว่าผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ แต่ผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่และปอดบวมจากแบคทีเรีย ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 80 ปี

อัตราการเกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาทอื่น ๆ เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคระบบประสาทกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre Syndrome) และโรคลมหลับ (Narcolepsy) ไม่เพิ่มขึ้นหลังจากเป็นโรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ หรือปอดบวม

ดร. พาร์ดิส ซาริฟการ์ กล่าวเสริมว่า "ผลการค้นพบเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจถึงผลกระทบระยะยาวของโควิด-19 ที่มีต่อร่างกาย รวมถึงผลของการติดเชื้อที่มีต่อโรคความเสื่อมของระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมอง"



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง