อาการชามือที่คุณเป็นเกิดจากอะไร ?.... คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว มีคำตอบ

ศุกร์ ๒๐ ตุลาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๕๐
อาการชาบริเวณมือ เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยทางคลินิก แต่ในบางครั้งไม่สามารถทราบได้ว่าอาการชามือที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุจากอะไร เราสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของอาการชามือที่พบได้บ่อยในคนไข้แผนกกระดูกและทุยหนาเบื้องต้นได้ ดังนี้
อาการชามือที่คุณเป็นเกิดจากอะไร ?. คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว มีคำตอบ
  • โรคกระดูกต้นคอเสื่อมชนิดกดทับรากประสาท (Cervical spondylotic radiculopathy) เป็นโรคที่อาการชามือเกิดจากรากประสาทบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอถูกกระตุ้น บริเวณที่ชาจะไม่ได้อยู่แค่บริเวณนิ้วมือ แต่จะมีอาการปวด ชาบริเวณคอและแขนร่วมด้วย การตรวจ Eaten's test และ Cervical compression test จะให้ผลเป็นบวกร่วมกับมีอาการบริเวณคอและแขน บริเวณนิ้วที่ชาจะขึ้นกับบริเวณที่เส้นประสาทคอถูกกดทับ
  • โรคปลายประสาทอักเสบ (Polyneuritis) เป็นโรคที่จะมีอาการชามือทั้งสองข้างและบริเวณที่ชาจะไม่ได้อยู่แค่บริเวณที่เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) หล่อเลี้ยง ยังรวมทั้งบริเวณที่เส้นประสาทเรเดียล (Radial nerve) และเส้นประสาทอัลน่า (Ulnar nerve) หล่อเลี้ยงด้วย กล่าวคือจะมีอาการชาหลายนิ้วและชาทั้งสองข้าง
  • กลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome : CTS) เป็นกลุ่มอาการที่จะมีการชามือบริเวณนิ้วโป้ง ชี้ กลางและนางครึ่งนิ้ว ส่วนมากจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งโดยอาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อมีการงอข้อมือหรือทำให้โพรงข้อมือมีแรงดันมากขึ้น ในรายที่รุนแรงอาจพบกล้ามเนื้ออุ้งมือฝั่งนิ้วโป้งลีบ การตรวจ Tinel's test, Modified phalen's test และ Carpal compression test ให้ผลเป็นบวก
  • กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อศอก (Cubital tunnel syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการชาบริเวณนิ้วก้อยซึ่งอาการอาจไม่รบกวนผู้ป่วยมากเนื่องจากบริเวณที่มีอาการชามีขนาดเล็กผู้ป่วยอาจมีอาการปวดบริเวณด้านในของข้อศอก อาการอ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อลีบซึ่งสังเกตได้ชัดกว่า อาจจะเป็นอาการนำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ตำแหน่งที่สังเกตกล้ามเนื้อลีบได้ชัดเจนคือกล้ามเนื้ออุ้งมือฝั่งนิ้วก้อย การตรวจ elbow flexion test ให้ผลเป็นบวก

อาการชาตามร่างกายในมุมมองการแพทย์แผนจีน : มักเกิดจากสาเหตุการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น

  • ชี่และเลือดพร่อง (????)
  • ลมตับภายในกำเริบ (????)
  • เสมหะและความร้อนสะสม (????)
  • ลมและเสมหะอุดกลั้นเส้นลมปราณ (????)

จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และรักษาตามกลุ่มอาการของโรคเพื่อทราบกลุ่มอาการของโรคและสาเหตุของการเกิดโรค จากนั้นเลือกหลักการรักษาและวิธีการรักษาที่เหมาะสม ทั้ง การนวดทุยหนา การฝังเข็ม หรือการรับประทานยาสมุนไพรจีน เพื่อแก้ไขได้อย่างตรงจุด

อย่างไรก็ตาม อาการชามือที่แตกต่างกันย่อมเกิดจากสาเหตุและมีวิธีในการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อมีอาการชามือเกิดขึ้นควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

  • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
  • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
  • LINE OA: @huachiewtcm
  • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic

ที่มา: คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๘ กรุงศรี ฟินโนเวต นำกองทุนฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ เข้าลงทุนใน Doppio Tech หนุนการสร้างบุคลากรสายเทค เพื่อให้ประเทศไทยเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาค
๑๓:๐๐ บริษัท ยามาโตะ โฮลดิงส์ จำกัด เปิดตัวบริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศทางรถบรรทุกและรถไฟ เชื่อมโยงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับยุโรป เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม
๑๒:๒๕ เซ็นทารา แกรนด์ หัวหิน ฉลองครบรอบ 101 ปี มอบโปร สุขเกิน 100 จ่ายน้อยกว่า
๑๒:๔๑ ลุ้นงบโค้งแรก PIMO-ไพโม่
๑๒:๑๖ อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ประกาศความสำเร็จรีไฟแนนซ์วงเงิน 535 ล้านดอลลาร์ พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 4 โครงการในรัฐราชสถาน
๑๒:๕๘ งานสัมมนาออนไลน์ EHP Platform นวัตกรรมลดภาระงาน เพิ่มรายได้ให้คลินิก
๑๒:๓๗ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาฯ เร่งพัฒนาระบบน้ำประปา แก้ปัญหาให้ชาวเกาะสีชัง จ.ชลบุรี เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 72
๑๒:๕๘ ซีพีเอฟ นำนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ชีสวีแกน ทำจากปลายข้าวหัก คว้ารางวัลระดับโลก
๑๒:๕๖ อธก.ม.หอการค้าไทย เดินทางเชื่อมความสัมพันธ์ กับมหาวิทยาลัยที่จีน
๑๒:๔๕ JPARK ร่วมให้ข้อมูลธุรกิจ ในงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.นครสวรรค์