สถาบันโกลบอลเวลเนส (GWI) ประกาศความร่วมมือกับบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก เป็นปีที่สอง

จันทร์ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๗ ๑๕:๑๙
ชี้ให้ประเทศไทยเป็น "ภูมิศาสตร์เวลเนส" ด้วยข้อมูลเศรษฐกิจด้านสุขภาพที่เติบโตขึ้นของประเทศ
สถาบันโกลบอลเวลเนส (GWI) ประกาศความร่วมมือกับบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก เป็นปีที่สอง

สถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute หรือ GWI) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและข้อมูลทางการศึกษาด้านสุขภาพเชิงป้องกันและอุตสาหกรรมเวลเนสทั่วโลก ได้ประกาศสานต่อความร่วมมือกับ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก เป็นปีที่สอง และเผยถึงผลการวิจัยเวลเนสของประเทศไทยและโอกาสในเศรษฐกิจด้านสุขภาพที่มีมูลค่าถึง 5.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ตามรายงาน Wellness Economy Monitor ล่าสุดของ GWI แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจด้านสุขภาพของประเทศไทยมีมูลค่าถึง 34.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอยู่ในอันดับที่ 24 ของโลก (จาก 218 ประเทศทั่วโลก) และอันดับที่ 9 ในระดับภูมิภาค (จาก 45 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก) ผู้อ่านสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศไทย และ 11 สาขาเศรษฐกิจเวลเนสทั่วโลกได้ที่หน้าภูมิศาสตร์เวลเนสของประเทศไทย

"เศรษฐกิจเวลเนสทั่วโลกได้เติบโตขึ้น และมีความก้าวหน้าไปด้วยธุรกิจและบริการด้านสุขภาพแบบนวัตกรรมใหม่ที่มีจำนวนนับไม่ถ้วนและมีเพิ่มขึ้นในทุกๆวัน" Susie Ellis ประธานและซีอีโอของ GWI กล่าวว่า "ภูมิศาสตร์เวลเนสของ GWI เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ เช่น BDMS ให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เข้าใจมากขึ้นว่า ประเทศของตนอยู่ในตำแหน่งใดในเศรษฐกิจเวลเนส และโอกาสเติบโตมากมายทางเศรษฐกิจเวลเนสที่สามารถเป็นไปได้"

"การร่วมมือกับ GWI สอดคล้องกับความมุ่งมั่งของบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก ในการส่งเสริมศักยภาพให้กับชุมชน ด้วยองค์ความรู้ และส่งเสริมให้ผู้นำทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐนำเวลเนสมาเป็นส่วนในหนึ่งของธุรกิจขององค์กร" นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ (ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก และ บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กล่าว

บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก เป็นศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ Bangkok Dusit Medical Services (BDMS) เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก ดำเนินงานโดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า 'สุขภาพที่ดีเริ่มที่การป้องกัน' โดยคลินิกจะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจประเมินสุขภาพและป้องกันโรค ในขณะเดียวกันก็มีการดูแลเรื่องสุขภาพจิตและร่างกายของผู้รับบริการด้วย ทั้งนี้ ผลการวิจัยของ GWI ชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มโรคอ้วนได้เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย โดยสูงถึง 47.8% ของประชากร ทางบีดีเอ็มเอส เวลเนส ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาและการนำเทคนิคด้านสุขภาพใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งผสมผสานไปด้วยการตรวจพันธุกรรม ฮอร์โมน และอัตราการเผาผลาญ เพื่อส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักให้ดีต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ บริษัทยังภูมิใจที่จะนำเสนอบริการด้านสุขภาพที่ครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างโรงแรมเพื่อสุขภาพ พื้นที่การค้า ที่พักอาศัย และคลินิก "เราจะใช้ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจากข้อมูลของ GWI รวมถึงใช้เครือข่ายที่กว้างขวางทั่วโลกของ GWI เพื่อเป็นแนวทางในการนำวิสัยทัศน์ของเราไปสู่ความสำเร็จ" นายแพทย์ตนุพล กล่าวต่อ

เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วเอเชีย เศรษฐกิจด้านสุขภาพของประเทศไทยได้หดตัวลงอย่างมากในปี พ.ศ. 2563 อยู่ที่ 31.6% เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดที่มีต่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจได้มีการฟื้นตัวดีขึ้นในปี พ.ศ. 2564 และ 2565 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 8.5% ต่อปี นำโดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเติบโตขึ้นเป็น 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี พ.ศ. 2565 โดยมีอัตราการเติบโตที่ 36% ต่อปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 ตามมาด้วยธุรกิจสปาและบ่อน้ำพุร้อน ซึ่งเป็นภาคที่มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 21% และ 18% จาก พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2565 ตามลำดับ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย

ประเทศไทยมีศักยภาพที่แข็งแกร่งทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ โดยจัดอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก และอันดับที่ 4 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของภาคการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพในปี พ.ศ. 2565 ทาง GWI คาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ 16.6 ต่อปีทั่วโลก ไปจนถึงปี พ.ศ. 2570 นอกจากนี้ ยังเผยให้เห็นว่านักท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพได้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดยเฉลี่ยแล้วจะมีการใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2,501 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อการเดินทางในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจาก 1,978 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อการเดินทางในปี พ.ศ. 2563 บ่งชี้ให้เห็นว่าผู้คนให้ความสำคัญกับประสบการณ์การเดินทางเพื่อสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งให้ความคุ้มค่าเงินมากขึ้นและต้องมีการลงทุนมากขึ้น

ประเทศไทยได้เจริญเติบโตขึ้นในฐานะจุดหมายปลายทางด้านสุขภาพชั้นนำ โดยเป็นประเทศที่ผสมผสานทั้งวัฒนธรรมและความงดงาม ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนา มวยไทย อาหารไทยที่มีประโยชน์ ไปจนถึงกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างหลากหลายที่มีให้เลือก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังขึ้นชื่อในด้านสถานที่แห่งการบำบัดและบริการด้านสุขภาพทางการแพทย์ ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพและผ่อนคลายในราคาที่ไม่แพง เช่น การนวดแผนไทย การตรวจสุขภาพ และการบำบัดเฉพาะทางที่เน้นด้านสุขภาพตั้งแต่ระดับหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงระดับพันธุกรรม ด้วยคุณภาพด้านการบริการที่ดีเยี่ยมในราคาที่จับต้องได้ ประเทศไทยจึงเปรียบเหมือนสวรรค์ของผู้รักสุขภาพและต้องการมีความเป็นอยู่ที่ดีจากทั่วโลก

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่รายงาน Global Wellness Economy: Thailand

ที่มา: สปอตไลท์ เอเชีย

สถาบันโกลบอลเวลเนส (GWI) ประกาศความร่วมมือกับบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก เป็นปีที่สอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud