เมดพาร์ค จัดสัมมนาวิชาการ Cardiac Arrhythmia Conference : Advances in Diagnosis and Management of Cardiac Arrhythmias

พุธ ๐๒ เมษายน ๒๕๖๘ ๑๕:๕๐
เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 โรงพยาบาลเมดพาร์ค ร่วมกับ Boston Scientific จัดกิจกรรมสัมมนาวิชาการ Cardiac Arrhythmia Conference ในหัวข้อ Advances in Diagnosis and Management of Cardiac Arrhythmias โดยมีอาจารย์แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปที่สนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ ห้องประชุม เดอะ ฟอรัม ชั้น M โดยมี ศ. นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้เกียรติเป็นตัวแทนของคณะผู้บริหาร กล่าวต้อนรับ
เมดพาร์ค จัดสัมมนาวิชาการ Cardiac Arrhythmia Conference : Advances in Diagnosis and Management of Cardiac Arrhythmias

สำหรับการสัมนาวิชาการในครั้งนี้ เป็นการพูดคุยและให้ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการวินิจฉัยและการจัดการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม อายุรแพทย์เฉพาะทาง ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเมดพาร์ค ศ. นพ.กฤษณ์ จงนรังสิน อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ จาก University of Michigan รศ. นพ.ธีธัช อนันต์วันฒนสุข อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ รศ.นพ.รณพิชัย โชคสุวัฒนสกุล อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ นพ.นฤพัฒน์ แสงพรสุข อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และ พญ.ศนิศรา จันทรจำนง อายุรแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ในส่วนของเนื้อหาของการบรรยาย ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับทั้งบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป ซึ่งการบรรยายสำหรับประชาชนทั่วไป จะเกี่ยวกับเทคนิคการสังเกตสัญญาณเตือนของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อให้สามารถรับมือและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที และเนื้อหาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จะเป็นแนวทางการตรวจวินิจฉัยและการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเทคโนโลยีล่าสุด รวมถึงแนวทางการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละกรณี

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเปิดโอกาสให้แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีความสนใจเข้าร่วมเวิร์กชอป ได้ทดลองใช้เทคโนโลยีล่าสุดในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Atrial Fibrillation (AF) ด้วย Pulsed Field Ablation (PFA) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยใช้ พลังงานสนามไฟฟ้า (Pulsed Electric Field) แทนการใช้พลังงานความร้อนหรือเย็น เช่น Radiofrequency (RF) หรือ Cryoablation ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิม โดยเทคโนโลยีนี้ มีความแม่นยำสูง สามารถทำลายเฉพาะเนื้อเยื่อเป้าหมาย โดยไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง เช่น หลอดเลือดและหลอดอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากไม่ใช้ความร้อนหรือความเย็นที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา Atrial Fibrillation (AF) ซึ่งสามารถกำจัดเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นต้นเหตุของภาวะ AF ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น

การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านไฟฟ้าหัวใจและเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มา: MedPark Hospital

เมดพาร์ค จัดสัมมนาวิชาการ Cardiac Arrhythmia Conference : Advances in Diagnosis and Management of Cardiac Arrhythmias

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

เม.ย. ๒๐๒๔ SAK จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.15 บาทต่อหุ้น
๑๕:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๕:๐๖ เคยไหม มีเสมหะ น้ำมูก เสลดเหนียวในคอแม้ไม่ได้เป็นหวัด? วันนี้แพทย์จีนหัวเฉียวมีคำตอบมาฝากทุกท่าน
๑๕:๒๗ สัมผัสเรื่องราวความอร่อยรอบจานจากเมนูดังประจำจังหวัดฟุกุอิ ณ ห้องอาหารญี่ปุ่น สึ
๑๕:๕๑ KTAM ร่วมส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปล่อย 3 กองทุน Thai ESGX IPO 2 - 8 พ.ค.นี้
๑๕:๕๘ DHOUSE แต่งตั้ง 4 บล. ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นกู้มีประกัน ครั้งที่ 2/68 ชูดอกเบี้ย 7.25% พร้อมขาย 6-8 พ.ค. นี้
๑๕:๕๐ ธ.ทิสโก้ จับมือ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย เสริมแกร่ง 'Holistic Advisory' ยกระดับคุณภาพคำแนะนำให้ได้มาตรฐานสากล
๑๕:๒๑ กลุ่มสมอทอง ยื่นไฟลิ่ง ขาย IPO 231.60 ล้านหุ้น เข้า SET ระดมทุน ยกระดับผู้นำอุตสาหกรรมผลิต น้ำมันปาล์มดิบ
๑๕:๓๖ คุรุสภาขับเคลื่อน Thailand Teacher Academy พัฒนาครูด้วยองค์ความรู้เฉพาะด้านอย่างมืออาชีพ
๑๕:๒๑ กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล