ปภ.แนะวิธีการใช้ก๊าซหุงต้มอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยในที่อยู่อาศัย

พฤหัส ๑๕ พฤศจิกายน ๒๐๐๗ ๑๑:๓๕
กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--ปภ.
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะนำประชาชนที่ใช้ก๊าซหุงต้มประกอบอาหารให้ติดตั้งถังก๊าซในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก ปิดวาล์วที่หัวถังก๊าซทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว พร้อมหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ถังก๊าซให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีอยู่เสมอ กรณีที่ก๊าซรั่วให้รีบปิดวาล์วที่ถังก๊าซและเปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายก๊าซออกสู่ภายนอก
นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันทุกครัวเรือน มักนิยมใช้เตาก๊าซในการประกอบอาหาร เนื่องจากความสะดวกสบาย แต่หากใช้อย่างไม่ถูกวิธี ก๊าซเกิดการรั่วไหล อาจทำให้เกิดการระเบิดและเพลิงไหม้ลุกลามอย่างรวดเร็วได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้ก๊าซหุงต้ม
ควรติดตั้งเตาก๊าซห่างจากถังก๊าซหุงต้มประมาณ 1.5 — 2 เมตร ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรตั้งถังก๊าซในห้องใต้ดินหรือพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนจากเตาทำลายท่อส่งก๊าซจนเกิดการรั่วไหล ห้ามตั้งถังก๊าซใกล้แหล่งที่มีความร้อนสูงและบริเวณที่มีประกายไฟหรือเปลวไฟเด็ดขาด ไม่ตั้งถังก๊าซหุงต้มในที่
ที่เปียกชื้น เพราะจะทำให้เกิดสนิมผุกร่อนได้ ท่อส่งก๊าซควรใช้สายยางชนิดหนาที่ใช้สำหรับก๊าซเท่านั้น สำหรับการใช้ก๊าซหุงต้มควรเปิดวาล์วที่ถังก๊าซหุงต้ม หากเป็นวาล์วแบบหมุนที่หัวเตา ควรหมุนไม่เกิน 2 รอบ แต่หากเป็นเตาแบบหัวจุดระบบอัตโนมัติ ให้จุดไฟที่เตาก่อนและจึงเปิดวาล์วที่หัวเตา แต่หากเปิดไฟไม่ติดอย่าเปิดซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะอาจเกิดการสะสมของก๊าซจำนวนมาก จะทำให้ไฟพุ่งใส่ร่างกายจนได้รับบาดเจ็บหรือลุกลามไปติดเศษวัสดุอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้ หากเกิดไฟลุกไหม้ถังก๊าซหุงต้ม ควรตั้งสติและปิดวาล์วก๊าซหุงต้ม
หากปิดไม่ได้ควรใช้น้ำสาดเข้าไปตรงจุดที่ติดไฟแรงๆ ให้ไฟดับหรือใช้เครื่องดับเพลิงฉีดเข้าไปตรงจุดที่เพลิงลุกไหม้แล้วปิดวาล์วก๊าซหุงต้มทันที หลังจากใช้งานเสร็จแล้ว ให้ปิดวาล์วที่ถังก๊าซก่อน เมื่อไฟดับสนิทแล้วจึงปิดวาล์วที่ หัวเตา หากได้กลิ่นก๊าซรั่วให้ปิดถังก๊าซทันที แล้วรีบเปิดหน้าต่างเพื่อให้ก๊าซระบายออกภายนอกโดยใช้พัด ผ้า กระดาษ พัดลม พัดไล่จนหมดกลิ่นก๊าซ แล้วให้ช่างผู้ชำนาญมาทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนถังใหม่ สำหรับวิธีการตรวจสอบรอยรั่วบนถังก๊าซให้ใช้น้ำสบู่ลูบไล้ตามจุดต่างๆ ได้แก่ บริเวณวาล์วก๊าซ แกนลูกบิด สำหรับเปิด-ปิดเตาก๊าซ และที่สายท่อก๊าซ หากมีฟองสบู่ผุดขึ้นมาแสดงว่าก๊าซรั่ว ที่สำคัญ ควรหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ประจำถังก๊าซให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างดีสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่อาจสร้าง ความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๘ กรุงศรี ฟินโนเวต นำกองทุนฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ เข้าลงทุนใน Doppio Tech หนุนการสร้างบุคลากรสายเทค เพื่อให้ประเทศไทยเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาค
๑๓:๐๐ บริษัท ยามาโตะ โฮลดิงส์ จำกัด เปิดตัวบริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศทางรถบรรทุกและรถไฟ เชื่อมโยงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับยุโรป เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม
๑๒:๒๕ เซ็นทารา แกรนด์ หัวหิน ฉลองครบรอบ 101 ปี มอบโปร สุขเกิน 100 จ่ายน้อยกว่า
๑๒:๔๑ ลุ้นงบโค้งแรก PIMO-ไพโม่
๑๒:๑๖ อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ประกาศความสำเร็จรีไฟแนนซ์วงเงิน 535 ล้านดอลลาร์ พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 4 โครงการในรัฐราชสถาน
๑๒:๕๘ งานสัมมนาออนไลน์ EHP Platform นวัตกรรมลดภาระงาน เพิ่มรายได้ให้คลินิก
๑๒:๓๗ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาฯ เร่งพัฒนาระบบน้ำประปา แก้ปัญหาให้ชาวเกาะสีชัง จ.ชลบุรี เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 72
๑๒:๕๘ ซีพีเอฟ นำนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ ชีสวีแกน ทำจากปลายข้าวหัก คว้ารางวัลระดับโลก
๑๒:๕๖ อธก.ม.หอการค้าไทย เดินทางเชื่อมความสัมพันธ์ กับมหาวิทยาลัยที่จีน
๑๒:๔๕ JPARK ร่วมให้ข้อมูลธุรกิจ ในงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.นครสวรรค์