NIDA Poll เรื่อง การแก้กฎหมาย – เพิ่มโทษใบขับขี่

จันทร์ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๘ ๑๐:๐๐
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การแก้กฎหมาย – เพิ่มโทษใบขับขี่" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 – 28 สิงหาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแก้กฎหมายเพิ่มโทษความผิดเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถ โดยการแก้กฎหมายเพิ่มโทษมีดังนี้ กรณีไม่มีใบขับขี่/ใบขับขี่หมดอายุ (จำคุกไม่เกิน 3 เดือน/ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท) และกรณี ไม่พกใบขับขี่ (ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงสถานะของท่านในการใช้รถใช้ถนน การขับขี่และการโดยสาร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.09 ระบุว่า เป็นผู้ขับขี่อย่างเดียว รองลงมา ร้อยละ 36.85 ระบุว่า เป็นทั้งผู้ขับขี่และบางครั้งก็เป็นผู้โดยสาร และร้อยละ 22.06 ระบุว่า เป็นผู้โดยสารอย่างเดียว

ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่กรมการขนส่งทางบกจะแก้กฎหมาย "การเพิ่มโทษกรณีไม่มีใบขับขี่/ใบขับขี่หมดอายุ" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.54 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 28.30 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับ "การเพิ่มโทษกรณีไม่พกใบขับขี่" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.47 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 32.05 ระบุว่า เห็นด้วย และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

โดยผู้ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วย กับการที่กรมการขนส่งทางบกจะแก้กฎหมาย "การเพิ่มโทษไม่มี/ไม่พกใบขับขี่ - หมดอายุ" ได้ให้เหตุผลว่า บทลงโทษมีความรุนแรงเกินไป โทษค่าปรับสูงเกินไปไม่เหมาะสมกับฐานความผิด ควรพิจารณาเป็นรายกรณีไป ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุและไม่สามารถช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ส่วนผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วย กับการที่กรมการขนส่งทางบกจะแก้กฎหมาย "การเพิ่มโทษไม่มี/ไม่พกใบขับขี่ - หมดอายุ" ได้ให้เหตุผลว่า จะได้มีระเบียบวินัยในการใช้รถใช้ถนน เกิดความเกรงกลัวและเคารพกฎจราจรมากขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า สามารถช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับ " การเพิ่มโทษ กรณีไม่มีใบขับขี่/ ใบขับขี่หมดอายุ " จะช่วยให้ผู้ขับขี่เกรงกลัวต่อกฎหมายและปฏิบัติตามกฎจราจรมากขึ้นหรือไม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 16.47 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 50.76 ระบุว่า ช่วยได้บ้างระดับหนึ่ง ร้อยละ 31.89 ระบุว่า ไม่สามารถช่วยได้เลย และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับ "การเพิ่มโทษกรณีไม่พกใบขับขี่" พบว่า ร้อยละ 15.59 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 51.56 ระบุว่า ช่วยได้บ้างระดับหนึ่ง ร้อยละ 31.25 ระบุว่า ไม่สามารถช่วยได้เลย และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

โดยผู้ที่ระบุว่า ช่วยได้มาก ได้ให้เหตุผลว่า ทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อบทลงโทษที่สูงขึ้น และจะได้ใส่ใจเรื่องใบขับขี่มากขึ้น ผู้ที่ระบุว่า ช่วยได้บ้างระดับหนึ่ง ได้ให้เหตุผลว่า จะเป็นการสร้างวินัยในการใช้รถใช้ถนนให้อยู่ในความไม่ประมาทและปฏิบัติตามกฎจราจร ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่สามารถช่วยได้เลย ได้ให้เหตุผลว่า ขึ้นอยู่ที่จิตสำนึกของผู้ใช้รถใช้ถนน และการบังคับใช้กฎหมายยังไม่จริงจังและไม่เข้มงวดมากพอ

เมื่อถามถึง "การเพิ่มโทษกรณีไม่มี/ไม่พกใบขับขี่ - หมดอายุ" จะทำให้การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลงหรือไม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 5.28 ระบุว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 69.70 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ลดลง และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับ "การเพิ่มโทษกรณีไม่มี/ไม่พกใบขับขี่ - หมดอายุ" จะทำให้เกิดช่องทางทุจริต/รับสินบน มากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชน ร้อยละ 39.41 ระบุว่า เกิดช่องทางทุจริต/รับสินบนมากที่สุด ร้อยละ 38.69 ระบุว่า เกิดช่องทางทุจริต/รับสินบนมาก ร้อยละ 8.79 ระบุว่า เกิดช่องทางทุจริต/รับสินบนน้อย ร้อยละ 2.16 ระบุว่า เกิดช่องทางทุจริต/รับสินบนน้อยที่สุด ร้อยละ 3.60 ระบุว่า ไม่เกิดช่องทางทุจริต/รับสินบนเลย และร้อยละ 7.35 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความผิดวินัยจราจรข้อหาใดที่ควรไปเพิ่มโทษให้มากขึ้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.43 ระบุว่า ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น รองลงมา ร้อยละ 11.11 ระบุว่า ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ร้อยละ 10.23 ระบุว่า ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด ร้อยละ 3.12 ระบุว่า เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณ ร้อยละ 2.16 ระบุว่า ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ร้อยละ 1.28 ระบุว่า ขับรถบนทางเท้า และขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายมือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.64 ระบุว่า ใช้สัญญาณไฟวับวาบผิดเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ร้อยละ 0.56 ระบุว่า กลับรถในทางเดินรถกีดขวางการจราจร ร้อยละ 0.32 ระบุว่า จอดรถบนทางเท้า ร้อยละ 0.56 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มี/ไม่พกใบขับขี่ ไม่แสดง พ.ร.บ./พ.ร.บ. หมดอายุ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีขับขี่รถยนต์/รถจักยานยนต์ และร้อยละ 2.31 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.51 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.34 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.83 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.83 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.32 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.60 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.71 มีอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 15.35 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.86 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.97 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 18.39 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ ร้อยละ 0.72 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 93.92 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.68 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.88 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่างร้อยละ 21.66 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.14 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.60 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 31.89 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.54 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.23 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.94 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.56 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 11.59 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.79 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.94 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.63 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.67 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.22 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.40 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.71 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.34 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.50 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.52 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 9.19 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.79 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest