โมบายล์แบงค์กิ้ง ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

พฤหัส ๒๒ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๖:๔๖
ถ้าพูดถึง Mobile Banking หรือ การทำธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟน นี่คือหนึ่งในนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ เราไม่ต้องต่อคิวโอนเงินหน้าตู้เอทีเอ็มหรือเข้าธนาคารเพื่อทำธุระเรื่องการเงินแบบเล็กๆ น้อยๆ อีกต่อไป เพราะทั้งหมดนี้สามารถทำได้ผ่านแอพพลิเคชั่นโมบายล์แบงค์กิ้งของแต่ละธนาคารเพียงแค่นิ้วสัมผัสบนสมาร์ทโฟน แต่ความสะดวกสบายและรวดเร็วนี้ ก็ต้องแลกมากับความเสี่ยงในการโดนขโมยข้อมูลหรือแม้กระทั่งการขโมยเงินในบัญชีได้จากการขาดความระมัดระวัง บทความนี้ ดร.ภูมิ ภูมิรัตน ที่ปรึกษาอาวุโส กลุ่มธุรกิจ G-Security ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยในโลกไซเบอร์จากกลุ่มบริษัท

จีเอเบิล ได้มาให้คำแนะนำสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ควรระวังสำหรับการใช้งานโมบายล์แบงค์กิ้งเพื่อปกป้องข้อมูลและเงินของเราให้ปลอดภัย

สิ่งที่ควรทำ

ในกรณีที่เข้าใช้งานด้วยชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ควรตั้งรหัสผ่านในการเข้าใช้งานที่มีอักขระพิเศษ (!, @ $, %) ผสมด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรือเล็กและตัวเลขที่มีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร หรือใช้รหัสผ่านที่มีความยาว 15 ตัวอักษรขึ้นไป เช่น การใช้คำหรือวลี มาประกอบขึ้นเป็นประโยคยาวๆ ไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนตัวมาเป็นส่วนหนึ่งของรหัสผ่านเช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขวันเดือนปีเกิด เป็นต้น

ไม่บอกรหัสผ่านให้ผู้อื่นทราบ

ไม่ละเมิดระบบความปลอดภัยของโทรศัพท์ เช่น การ Jailbreak หรือ Root เครื่อง

ไม่ตั้งรหัสผ่านของโมบายล์แบงค์กิ้งให้เหมือนกับรหัสผ่านของอีเมล์

เมื่อใช้งานเสร็จต้องทำการ Log out ออกจากโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นโมบายล์แบงค์กิ้งทุกครั้ง

ตั้งค่าการใช้งานให้ทำการแจ้งเตือนทุกครั้งที่เข้าใช้บริการโมบายล์แบงค์กิ้ง

ไม่คลิกลิงค์จาก E-mail หรือ SMS ที่ดูเหมือนว่าจะส่งมาจากธนาคารหรือแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

สิ่งที่ควรระวัง

ตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้ทำการติดตั้งโปรแกรม หรือแอพพลิเคชั่นโมบายล์แบงค์กิ้ง จากแหล่งที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ เช่น App Store หรือ Google Play หรือเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของธนาคารที่ใช้บริการ และควรตรวจสอบชื่อผู้พัฒนาโปรแกรมว่าเป็นของธนาคารด้วย

หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ WIFI สาธารณะ เมื่อจะใช้งานโมบายล์แบงค์กิ้ง

หลีกเลี่ยงการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่รู้แหล่งที่มาหรือไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมที่มีการทำงานแบบไม่พึงประสงค์ เช่น การดักจับสิ่งที่พิมพ์ (Keylogger) หรือ การขโมยข้อมูลบนเครื่องโทรศัพท์ เป็นต้น

ทำการปกป้องข้อมูลส่วนตัวด้วยการไม่เก็บชื่อ Username Password หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขบัญชีธนาคารไว้ในโทรศัพท์ หรือถ้าจำเป็นต้องเก็บให้ทำการป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลอื่นด้วยการใส่รหัสผ่านหรือทำการเข้ารหัสข้อมูล

เทคโนโลยีที่มาพร้อมกับความสะดวกสบายย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการใช้งาน โมบายล์แบงค์กิ้งควรใช้งานอย่างไม่ประมาทและทำตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest