มิว สเปซ เผยผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ากลุ่มธุรกิจไอโอที

พฤหัส ๒๔ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๑:๓๖
มิว สเปซ ส่งอุปกรณ์ติดตามอัจฉริยะ (Smart tracker) เข้าสู่กลุ่มสินค้าไอโอที

ในการประชุมสภาการสื่อสารโทรคมนาคมแปซิฟิค (PTC) ประจำปี 2562 นายวรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งมิว สเปซ ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เราได้ออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วและกำลังพัฒนาระบบการทำงานของตัวผลิตภัณฑ์อยู่

"ไอโอที คือหนึ่งในธุรกิจที่มิว สเปซ ให้ความสำคัญ ซึ่งเราเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับทุกช่องทางโอกาสในธุรกิจที่กำลังเติบโตนี้" นายวรายุทธ กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติมจากซีอีโอ มิว สเปซ กำลังพัฒนาอุปกรณ์ติดตาม หรือสมาร์ท แทรกเกอร์ (Smart Tracker) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีขนาดเล็ก กะทัดรัด ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งสิ่งของ หรือทรัพย์สินแบบ เรียลไทม์ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น โดยนายวรายุทธ กล่าวว่า อุปกรณ์นี้สามารถใช้ติดตามตำแหน่งของบุคคล, ระบุสถานที่ที่สิ่งของหายไป หรือใช้ในทางอุตสาหกรรม เช่น ใช้ดูแลการขนย้ายสินค้าคาร์โก้

"สินค้าที่เราพัฒนานี้ ดูผิวเผินแล้ว คนทั่วไปอาจจะไม่ทราบว่าเป็นสมาร์ท แทรกเกอร์ เพราะเพียงนำไปติดไว้ที่กระเป๋าสตางค์, กระเป๋าสะพาย หรือยานพาหนะ คุณก็สามารถรู้ตำแหน่งของสิ่งเหล่านั้นได้ทันทีอย่างง่ายดาย โดยเปิดใช้แอปพลิเคชั่นสมาร์ท แทรกเกอร์บนมือถือ" นายวรายุทธ กล่าวเสริม

นอกจากส่วนของสมาร์ท แทรกเกอร์แล้ว นายวรายุทธได้เกริ่นถึงสินค้าอื่นที่ มิว สเปซ กำลังมีแผนที่จะพัฒนาในอนาคตด้วย "กลุ่มสินค้าของเราครอบคลุมถึงระบบเซนเซอร์อิสระ และอุปกรณ์ไอโอทีที่ใช้กับบ้านอัจฉริยะ (Smart Home), รถอัจฉริยะ (Smart Car) และฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ด้วย"

จากข้อมูลการวิจัยการตลาดไอโอทีล่าสุดของศูนย์ข้อมูลกลางระหว่างประเทศเผยว่า มูลค่าจากการใช้งานไอโอทีทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 646 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 เป็น 745 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ โดยงานวิจัยระบุว่า แนวโน้มจะมีมูลค่าการใช้งานถึง 108 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 ซึ่งถือเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใหญ่เป็นลำดับสองของโลก โดยผู้บริโภคจะใช้งานไอโอทีหลักๆ ในด้านสมาร์ท โฮม, สุขภาพ, และความบันเทิง

"อุปกรณ์จะมีการทำงานที่อัจริยะขึ้น และสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นได้อย่างขยายวงกว้างมากขึ้น ซึ่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค จะกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ใช้งานไอโอทีมากที่สุดในโลกเนื่องจากที่ผ่านมาไอโอทียังไม่เป็นที่นิยมมากนัก โดยผู้บริโภค และบริษัทต่างๆ ได้เริ่มใช้งานเทคโนโลยีไอโอทีแล้ว เพราะพวกเขาเข้าใจความสำคัญของระบบอัตโนมัติที่จะช่วยบริการจัดการสิ่งที่ซับซ้อนมีความง่ายขึ้น" นายวรายุทธ กล่าว

มิว สเปซ ก่อตั้งขึ้นในปี 2560 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ และดาวเทียมสื่อสารสำหรับขับเคลื่อนการใช้ ไอโอที (IoT) และ "เมืองอัจฉริยะ" (Smart Cities) ในปี 2561 บริษัทได้เริ่มพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มอัจฉริยะ (สมาร์ท แอพพาเรล) ที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ และสามารถจัดเก็บข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้สวมใส่ได้อัตโนมัติ

"ทุกอย่างกำลังเป็นไปตามแผนดำเนินงานของเรา และปัจจุบัน เรากำลังค้นคว้าวิจัยการออบแบบ และทดสอบสมาร์ท แอพพาเรล เพื่อที่จะแน่ใจว่าสมาร์ท แอพพาเรล จะมีความปลอดภัย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้ที่สุด" นายวรายุทธ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest