สสส. ผนึกภาคีเครือข่ายจัดเวทีวิชาการเตรียมรับมือภัยพิบัติในความเสี่ยงใหม่

จันทร์ ๐๗ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๓๖
ภัยพิบัติจากน้ำท่วมหรืออุทกภัยที่เริ่มมีความรุนแรงและรวดเร็วมากขึ้น นับเป็นความเสี่ยงใหม่ที่สร้างความสูญเสียในด้านต่างๆ อย่างมาก และนำมาซึ่งความเดือดร้อนของประชาชน นอกจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคอีสานช่วงนี้แล้ว เหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ช่วงเดือนธันวาคม 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560 ได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างและรุนแรงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก โดยมีถึง 12 จังหวัดที่ประสบภัยจากน้ำท่วม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ที่มีแผนการจัดการภัยพิบัติเพื่อพัฒนาและจัดการความรู้ สร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นภาคประชาคมและถอดบทเรียนการจัดการภัยพิบัติ จึงได้สนับสนุนให้มีการถอดบทเรียนและประเมินสภาพความเสียหายของการเกิดอุทกภัยในภาคใต้ จัดการประชุมทางวิชาการ "น้ำท่วมใต้ : ภัยพิบัติในความเสี่ยงใหม่" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วานนี้ (1 ส.ค.) เพื่อรายงานผลการวิเคราะห์สภาพการเกิดภัยหลังเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ทั้งความเสียหายและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ ตลอดจนแนวทางการฟื้นฟูและการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติจากอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต รวมถึงการรวบรวมข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับพื้นที่และในภาพรวม

นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการบริหารกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า "ภาคีเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ให้ความร่วมมือในการรวบรวมและศึกษาข้อมูลจากการเกิดอุทกภัยในภาคใต้ ซึ่งเป็นอุทกภัยที่แตกต่างจากครั้งก่อนๆ เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ สภาพพื้นที่ ระบบ การรับมือหรือลดความเสี่ยง และการจัดการภัยพิบัติ บทเรียนที่ได้รับจากการทำงานนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการสร้างความเข้าใจต่อสังคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่หรือภูมิภาค การปรับแนวทางการทำงานของภาคีเครือข่ายในการจัดการภัยพิบัติ เพื่อนำไปพัฒนาสู่การเตรียมความพร้อมที่จะรับมือ และการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนต่อไป"

การประชุมวิชาการในครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำท่วมภาคใต้ 2560 : ความเสียหาย ผลผลกระทบและข้อเสนอจากชุมชน ท้องถิ่น, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการรับมือภัยพิบัติโดยมีชุมชนเป็นฐาน, และ การตั้งรับปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น โดยได้สรุปผลวิเคราะห์เกี่ยวกับเงื่อนไข, ปัจจัยการเกิดน้ำท่วม และผลกระทบที่เกิดขึ้น อาทิ สภาวะธรรมชาติผันผวน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้ชาวบ้านไม่อาจตระหนักรู้ได้ว่าจะเกิดน้ำท่วม, การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการใช้ที่ดินและสายน้ำ ถูกบุกเบิกเป็นพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยว ที่มีขีดความสามารถต่ำในการดูดซับน้ำและชะลอความแรงของน้ำ หลายพื้นที่ถูกถางเตียนโล่ง ยิ่งทำให้น้ำไหลอย่างรวดเร็ว, การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและพื้นที่สวนไร่นาไม่เหมาะสมกับสภาวะน้ำท่วม ทำให้เกิดโอกาสที่จะถูกน้ำท่วมได้ง่าย, การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และเมืองขัดขวางทางน้ำ ถนนหนทาง สะพาน ทางรถไฟ หรือพื้นที่เขตเมืองกลายเป็นอุปสรรคในการขัดขวางทางน้ำ ทำให้น้ำท่วมขัง แม้จะมีการออกแบบใส่ท่อระบายน้ำ แต่ก็ไม่ตรงกับสภาพพื้นที่ และไม่ได้ออกแบบเมื่อเผชิญกับเศษซากกิ่งไม้ที่ลอยมาอุดท่อ จนทำให้น้ำท่วมถนน สะพานขาด ฯลฯ, ชุมชนขาดการเตรียมพร้อมในภาวะน้ำท่วม ชาวบ้านไม่มีอุปกรณ์ยังชีพและเครื่องมือสื่อสาร เมื่อประสบปัญหาจึงเกิดความเดือดร้อนหนัก, ชุมชนขาดเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ แม้จะมีการส่งข่าวแจ้งเตือนจากคนในพื้นที่ที่ติดตามสถานการณ์ข้อมูลข่าวสาร หรือแม้แต่หน่วยเทศบาลแจ้งเตือนเอง แต่ชาวบ้านไม่มีเครือข่ายสื่อสารกันอย่างเป็นระบบ ทำให้ประเมินสถานการณ์ปัญหาต่ำกว่าความเป็นจริง

นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ยังมีประเด็นที่เกิดจาก การพยากรณ์ฝนตกผิดพลาด และหน่วยราชการขาดประสิทธิภาพในการเตือนภัย ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นเพียงการคาดการณ์อย่างกว้างๆ ไม่ได้บ่งชี้ถึงระดับความเสี่ยงภัย และเป็นข้อมูลภาพรวมในพื้นที่กว้าง เช่น ระดับภาค ระดับจังหวัด แต่ไม่ได้เจาะลึกในระดับลุ่มน้ำย่อย ทำให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้น้อย ขณะเดียวกันหน่วยราชการในท้องถิ่นก็ไม่มีการติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์ได้อย่างเท่าทัน ทำได้เพียงแค่เข้าไปช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ และ ขาดระบบการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าไปสำรวจความเสียหายเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้ไม่ทราบระดับผลกระทบตามสภาพความเป็นจริง อีกทั้งการจัดสรรทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือก็ขาดระบบ ไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดความเร่งด่วน เหมาะสมในการช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยที่เผชิญปัญหาแตกต่างกันไป

พร้อมกันนี้ ยังได้มีการประมวลข้อเสนอในเชิงภาพรวมที่สอดคล้องไปในทิศทางของ "กรอบเซนได" ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติระดับสากลในการดำเนินงานด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558-2573 ร่วมกันของ 168 ประเทศ ที่มีเป้าหมายคือป้องกันความเสี่ยงใหม่ และลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิม ด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ โครงสร้าง กฎหมาย สุขภาพ วัฒนธรรม การศึกษา สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และการเมือง ที่บูรณาการกัน เพื่อลดความล่อแหลม เปราะบาง และเพิ่มศักยภาพการเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุ และการฟื้นฟูให้กลับคืนมาได้อย่างรวดเร็วและดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีแนวปฏิบัติที่มุ่งเน้นในการเสริมสร้างโครงสร้างการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เน้นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการสร้างความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ใน 4 ด้าน คือ สร้างความเข้าใจความเสี่ยงจากภัยพิบัติ, เสริมสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ, ลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อให้พร้อมในการรับมือและฟื้นคืนกลับได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ พัฒนาศักยภาพการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการฟื้นสภาพและซ่อมสร้างที่ดีความเดิมในช่วงของการบูรณะฟื้นฟูภายหลังเกิดภัยพิบัติ

ทั้งนี้ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อเตรียมความพร้อมและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยให้คนในพื้นที่บริหารจัดการกันเองตามความต้องการที่แท้จริง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5